พระอุปคุตเขมรนั้นเป็นพระที่มีการสร้างมาหลายร้อยปี ลักษณะขององค์พระเป็นศิลปะแบบเขมร พระอุปคุตเขมรนั้นในยุคต้น ๆ จะเป็นเนื้อสัมฤทธิ์แก่เงิน ผิวพระออกเทาอมดำ ยุคต่อมาจึงสร้างด้วยสัมฤทธิ์ทอง สัมฤทธิ์ลงหิน พระอุปคุตนี้ไม่ว่าจะสร้างขึ้นในสมัยใดก็ตาม ทุกองค์จะไม่เหมือนกันแม้แต่องค์เดียวเลย เพราะการสร้างพระอุปคุตนั้นใช้วิธีปั้นหุ้นทีละองค์ ไม่ได้เทหล่อในแม่พิมพ์เดียวกัน พุทธคุณของพระอุปคุตเน้นหนักทางอิทธิปาฏิหาริย์และอยู่ยงคงกระพันชาตรี เพราะพระอุปคุตเป็นผู้มีฤทธิ์มากองค์หนึ่ง
“พระอุปคุต” หรือ “พระบัวเข็ม” ก็เรียก เดิมทีเป็นพระที่ชาวมอญ ชาวเขมร ชาวไทยทางเหนือ และอีสาน นิยมสร้างบูชากัน เป็นที่รู้จักแพร่หลายในช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งพระชาวรามัญได้นำมาถวายพระวชิรญาณภิกขุ (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4) โดยมีความเชื่อในด้านพุทธคุณว่าเป็นพระที่ศักดิ์สิทธิ์ นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดลาภผล ความมั่งคั่ง ขจัดภยันตรายต่าง ๆ รวมถึงยังสามารถดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลอีกด้วย
ประวัติพระอุปคุตโดยย่อ
มีความเชื่อกันว่า พระอุปคุตนั้นมีอิทธิฤทธิ์ในด้านปราบพระยามาร ซึ่งมีเรื่องเล่ากันมาว่า เมื่อประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 2 หลังจากพุทธปรินิพพาน ในนครปาตลีบุตราชธานี พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ทรงสร้างพระสถูปไว้มากมาย กล่าวกันว่า 84,000 องค์ เมื่อพระองค์จะฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์ทั้วหมดอย่างยิ่งใหญ่ ตลอด 7 ปี 7 เดือน 7 วัน แต่เกรงว่าจะถูกพระยามารมาทำลายงานราชพิธี พระองค์ท่านจึงได้ทำการปรึกษาคณะสงฆ์ ทางคณะสงฆ์ทั้งหมดมีมติให้นิมนต์พระอุปคุตจากสะดือทะเลมาในพิธีเพื่อปราบพระยามาร และท่านทำได้สำเร็จ เนื่องจากพระอุปคุตท่านจำพรรษาอยู่ที่ท้องทะเลเป็นปกติ จึงเรียกท่านอีกนามหนึ่งตามภาษาท้องถิ่นเราว่า “พระบัวเข็ม”
ปัจจุบันนี้ยังมีความเชื่อในหมู่ชาวไทยวนว่า “พระบัวเข็ม” หรือ”พระอุปคุต” ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งในทุกวันขึ้น 15 ค่ำที่ตรงกับวันพุธ ชาวไทยวนจะเรียกว่าเป็น “วันเป็งปุ๊ด” พระอุปคุตจะออกมาบิณฑบาตในร่างสามเณรน้อย ซึ่งจะออกมาเวลาเที่ยงคืน ด้วยเหตุนี้จึงเกิดประเพณีตักบาตรกลางคืนขึ้นมา
วิธีบูชาพระอุปคุต
การตั้งบูชาพระอุปคุตนั้น นิยมการตั้งบูชาบนฐานรองรับ อยู่กลางภาชนะใส่น้ำ เป็นการจำลองสถานที่คล้ายกับว่าท่านได้จำพรรษาอยู่ในมหาสมุทร แล้วจึงใช้ดอกมะลิลอยในน้ำเพื่อบูชา ให้ตั้งต่ำกว่าพระพุทธรูป เพราะว่าท่านเป็นพระสงฆ์ อรหันตสาวกของพระพุทธเจ้า
วิธีสวดขอลาภจากพระอุปคุต
ให้จุดธูปเทียนบูชา พร้อมด้วยดอกไม้หอม เครื่องหอม น้ำหอมต่าง ๆ ก็บูชาได้ โดยเทหยดใส่ในขันน้ำมนต์ ณ ที่บูชาพระในร้านค้าขาย หรืออาคารสถานที่ สำนักงาน แล้วทำการอธิษฐาน ขอให้กลิ่นควันธูปเทียน ลมพัดไปทางไหน ขอให้ดลใจผู้คนเข้ามาอุดหนุนเรา ขอให้กิจการดำเนินไปด้วยความราบรื่น มีความสำเร็จดังที่ได้ปรารถนาไว้ทุกประการ เมื่ออธิษฐานจุดธูปเทียนบูชาแล้ว จึงสวด นะโม 3 จบ แล้วสวดคำบูชาขอลาภพระอุปคุต 1 จบ แล้วทำน้ำมนต์สวดด้วยคาถาบูชาขอลาภพระมหาอุปคุต อีก 1 จบ จากนั้น เอาน้ำมนต์ประพรมไปทั่วร้านค้า และสินค้าต่าง ๆ ในร้านค้า หรือทำธุรกิจอะไรก็ตาม ก็ให้เอาน้ำมนต์ประพรมภายในสำนักงานและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำธุรกิจนั้น ๆ ให้ทั่วทั้งหมด
คาถาพระมหาอุปคุตผูกมาร
ตั้งนโม 3 จบ
มะหาอุปคุตโต มะหาอุปคุตตัง กายะพันทะนัง อมยิสะ พุทธังทะเถโร ธัมมังทะเถโร สังฆังทะเถโร ปะอัยยะสุตัง อุปัจสะอิ อิมังกายะพันทะนัง อะธิษฐามิ ฯ
(คาถาพระมหาอุปคุตผูกมาร มีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์มาก เสกด้วยสายสิญจน์ทำเป็นมงคลสวมคอ หากปลุกเสกครบ 108 ครั้งสามารถป้องกันภูตผีปีศาจทั้งปวง และป้องกันอุปัทวอันตรายต่างๆ ถ้าเสก 3-7 คาบ ผูกคอหรือคล้องคอคนถูกผีเจ้าเข้าสิง จะเจ็บปวดร้องครวญครางโหยหวยอย่างน่าเวทนา ถ้าจะให้ผีที่สิงอยู่ออกไป ให้ถอดหรือแก้ด้ายผูกคอออก แล้วเอาด้ายนี้ตีปัดตามตัวคนที่ถูกผีสิงอยู่ ผีจะอยู่ไม่ได้จะเผ่นออก และไม่กล้ากลับมารบกวนคนในบ้านอีก และยังมีการปลุกเสกในทางพิชิตโรคาพาธได้วิเศษนัก)
คำบูชาพระบัวเข็ม
ตั้งนโม ๓ จบ
กิจจะมาคะอุปคุตโต อะมะหาเถโร สัมพุทเธวิยาคะโต มาระรัญจะ โสอิทานิ จะมะหาเถโร นะมัดปะสิทตะวาปะ ถิติโกอหัง วันทามิ พาเนวะอุปคุตตัง จะมะ หาเถรัง ยังยังอุปัทธะวังชาติ วิทังเสนติ อะเสสะโต นโมพุทธายะ
พระบัวเข็มจะมะหาเถโร สัพพะลาภังภะวันตุเม อิติปิโสภะคะวา พุทโธชัยโย ธัมโมชัยโย สังโฆชัยโย เมตตา ฉิมพาลีจะมะหา เถโร สัพพะลาภัง ตะวันตุเม ฯ
ชัยยะตัง ปัตถะพีตับภัง สามินโท โสราชาปูเชมิ ฯ
ข้อมูลนี้ รวมรวมจากอินเตอร์เน็ต
บทความแนะนำ…
พิธีอัญเชิญพระอุปคุต มาปกปักรักษาในงานทำบุญผะเหวด-เทศน์มหาชาติ
คาถา พระมหาอุปคุต (ผูกผี) คาถาในตำนานที่ผมทราบมาแต่เด็ก
คาถาบูชาพระมหาอุปคุต ของ หลวงปู่สุภา วัดสีลสุภาราม จ.ภูเก็ต
คาถาหัวใจเถรอุปคุต คาถาเสกข้าวสาร เสกทรายไล่ผี
พระอุปคุต หลวงพ่อผาง จิตตคุตโต 1 ในพิธีภูธร มหาพุทธาภิเษก ปี 2519