พระพุทธชินราช อินโดจีน 2485
พระพุทธชินราชอินโดจีน เป็นพระดีพิธีใหญ่ เป็นพระหลักยอดนิยมมาตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบันนี้ เนื่องด้วยเหตุปัจจัยหลายประการที่ทำให้พระพุทธชินราช อินโดจีน 2485 รุ่นนี้ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นนักนิยมพระเครื่องรุ่นเก่าหรือใหม่ต่างก็เสาะแสวงหามาสะสมบูชาประจำกาย เนื่องเพราะเหตุว่า พระเครื่องรุ่นนี้
- เจตนาในการจัดสร้างดี เพื่อต้องการนำไปแจกจ่ายให้กับทหารตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ช่วงสงครามอินโดจีน และให้ประชาชนได้มีพระเครื่องไว้บูชาติดตัวเพื่อป้องกันภัย เป็นการสร้างขวัญกำลังใจในยามเกิดศึกสงคราม
- เป็นการจำลองรูปแบบ “พระพุทธชินราช” ซึ่งพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวเมืองพิษณุโลก ที่มีองค์พระที่มีความงดงามที่สุด ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด เป็นพระพุทธรูปที่มีความสำคัญต่อพุทธศาสนิกชน มาเป็นต้นแบบในการสร้างพระเครื่องรุ่นนี้
- พิธีกรรมที่ถือว่ายิ่งใหญ่อลังการเป็นอย่างมากที่สุดในสมัยนั้น โดยได้นิมนต์พระเกจิคณาจารย์ชื่อดังร่วมสมัยจำนวนมากเพื่อเข้าร่วมพิธีปลุกเสกอธิษฐานจิตอย่างยิ่งใหญ่ที่สุด
- พุทธคุณและพุทธานุภาพอันโดเด่นเป็นที่ประจักษ์และกล่าวขานกันอย่างต่อเนื่องมาจวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้
- พระพุทธรูป พระพุทธชินราช เป็นมงคลนามอย่าวงยิ่ง ชนะทุกทิศ ชนะทุกอย่าง
การจัดสร้างพระพุทธชินราชอินโดจีน ปี 2485 นั้น ทางคณะกรรมการ “พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย” เป็นผู้ริเริ่ม โดยจำลองรูปแบบจาก พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก พระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่ได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุดในโลก โดยมี ท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นแม่งานผู้ดำเนินการ โดยจัดสร้างเป็น 2 แบบ คือ แบบพระบูชา และ แบบพระเครื่อง
“แบบพระบูชา” ลักษณะเป็นพระพุทธรูปขัดเงา จำลององค์พระพุทธชินราช ขนาดพระบูชา สำหรับสักการบูชาในเคหสถาน จัดสร้างตามจำนวนการสั่งจอง ด้วยการแสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมส่งเงินไปยังคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ในพระบรมมหาราชวัง
“แบบพระเครื่อง” มีการสร้างเป็น 2 ประเภท คือ วิธีหล่อ ที่เรียก “รูปหล่อพระพุทธชินราชอินโดจีน” และ วิธีการปั๊ม หรือ “เหรียญพระพุทธชินราชอินโดจีน”
“รูปหล่อพระพุทธชินราชอินโดจีน” เป็นพระหล่อเนื้อโลหะผสม โดยมีทองเหลืองเป็นหลัก จัดสร้างจำนวนมาก แต่คัดสภาพสมบูรณ์เหลือเพียง 84,000 องค์ ลักษณะจะคล้ายพระยอดธง ด้านหน้า จำลององค์พระพุทธชินราช มีซุ้มเรือนแก้ว เหนืออาสนะบัว 2 ชั้น ใต้ฐานตอกโค้ดอกเลาบานประตูพระวิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ และโค้ดธรรมจักร
ส่วน “เหรียญพระพุทธชินราชอินโดจีน” สร้างเป็นเนื้อทองแดงรมดำ จำนวน 3,000 เหรียญ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊ม รูปทรงเสมา ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระพุทธชินราช มีซุ้มเรือนแก้ว เหนืออาสนะบัว 2 ชั้น ด้านหลัง เป็นรูปอกเลาบานประตูพระวิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ และอักษรไทยว่า “อกเลาวิหารพระ พุทธชินราช”
โดยได้ประกอบพิธีเททองหล่อตามตำราการสร้างพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ของวัดสุทัศน์อย่างสมบูรณ์ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก ในวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 3 ตรงกับ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2485 จากนั้นประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม ในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2485 โดยมี ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) เป็นองค์ประธาน เจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นแม่งาน ทั้งได้รับเมตตาจากพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังผู้ทรงวิทยาคมในยุคนั้นรวมแล้ว 108 รูป ร่วมมอบแผ่นยันต์ และเดินทางเข้าร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก
พระเกจิอาจารย์ชื่อดังร่วมนั่งปรกปลุกเสก ๑๐๘ องค์ ดังมีรายนามดังต่อไปนี้
๑. สมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์
๒. ท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์
๓. หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา
๔. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
๕. หลวงปู่นาค วัดระฆัง
๖. หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู
๗. หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว
๘. หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง
๙. หลวงพ่อแช่ม วัดตากล้อง
๑๐. หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว
๑๑. หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด
๑๒. หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ
๑๓. หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง
๑๔. หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
๑๕. หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา
๑๖. หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ
๑๗. หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก
๑๘. พระพุทธโฆษาจารย์ เจริญ วัดเทพศิรินทร์
๑๙. หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่
๒๐. หลวงพ่อติสโส อ้วน วัดบรมนิวาส
๒๑. สมเด็จพระสังฆราช ชื่น วัดบวรนิเวศ
๒๒. พระพุฒาจารย์นวม วัดอนงค์
๒๓. หลวงพ่อเส็ง วัดกัลยา
๒๔. หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้
๒๕. หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ
๒๖. หลวงพ่อเล็ก วัดบางนมโค
๒๗. หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ
๒๘. หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้
๒๙. หลวงพ่ออาจ วัดดอนไก่ดี
๓๐. หลวงพ่อกลิ่น วัดสะพานสูง
๓๑. สมเด็จพระสังฆราช อยู่ วัดสระเกศ
๓๒. หลวงพ่อเชย วัดเจษฎาราม
๓๓. หลวงพ่อปาน วัดเทพธิดาราม
๓๔. หลวงพ่อเซ็ก วัดทองธรรมชาติ
๓๕. หลวงพ่อเจีย วัดพระเชตุพน
๓๖. หลวงพ่อเผื่อน วัดพระเชตุพน
๓๗. หลวงพ่อหลิม วัดทุ่งบางมด
๓๘. หลวงพ่อแพ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
๓๙. หลวงพ่อสอน วัดพลับ
๔๐. หลวงพ่อเฟื่อง วัดสัมพันธวงศ์
๔๑. หลวงพ่อบัว วัดอรุณ
๔๒. หลวงพ่อนาค วัดอรุณ
๔๓. หลวงพ่อปลั่ง วัดคูยาง
๔๔. หลวงพ่อชุ่ม วัดพระประโทน
๔๕. หลวงพ่อสนิท วัดราษฎร์บูรณะ
๔๖. หลวงพ่อเจิม วัดราษฎร์บูรณะ
๔๗. หลวงพ่อสุข วัดราษฎร์บูรณะ
๔๘. หลวงพ่ออาคม สุนทรมา วัดราษฎร์บูรณะ
๔๙. หลวงพ่อดี วัดเทวสังฆาราม
๕๐. หลวงพ่อประหยัด วัดสุทัศน์
๕๑. หลวงพ่อปลอด วัดหลวงสุวรรณ
๕๒. หลวงพ่ออิ่ม วัดชัยพฤกษ์มาลา
๕๓. หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก
๕๔. หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน
๕๕. หลวงพ่อครุฑ วัดท่อฬ่อ
๕๖. หลวงพ่อกลีบ วัดตลิ่งชัน
๕๗. หลวงพ่อทรัพย์ วัดสังฆราชาวาส
๕๘. หลวงพ่อแม้น วัดเสาธงทอง
๕๙. หลวงปู่รอด วัดวังน้ำว
๖๐. หลวงพ่อสาย วัดพยัคฆาราม
๖๑. หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตาคาม
๖๒. หลวงพ่อพิศ วัดฆะมัง
๖๓. หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก
๖๔. หลวงพ่อหมา วัดน้ำคือ
๖๕. หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง
๖๖. หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
๖๗. หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
๖๘. หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง
๖๙. หลวงพ่อปลื้ม วัดปากคลองมะขามเฒ่า
๗๐. หลวงพ่อแนบ วัดระฆัง
๗๑. หลวงพ่อเลียบ วัดเลา
๗๒. หลวงพ่อพักตร์ วัดบึงทองหลาง
๗๓. หลวงพ่อสอน วัดลาดหญ้า
๗๔. หลวงปู่เผือก วัดโมรี
๗๕. หลวงพ่อผิน วัดบวรนิเวศ
๗๖. หลวงพ่อเจียง วัดเจริญธรรมาราม
๗๗. หลวงพ่อทองอยู่ วัดประชาโฆษิตาราม
๗๘. หลวงพ่อไวย์ วัดดาวดึงส์
๗๙. หลวงพ่อกลึง วัดสวนแก้ว
๘๐. หลวงพ่ออ่ำ วัดวงฆ้อง
๘๑. หลวงปู่จันทร์ วัดคลองระนง
๘๒. หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร
๘๓. หลวงพ่อศรี วัดพลับ
๘๔. พระอาจารย์เชื้อ วัดพลับ
๘๕. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก
๘๖. หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ
๘๗. หลวงพ่อพริ้ง วัดราชนัดดา
๘๘. หลวงพ่อขำ วัดตรีทศเทพ
๘๙. หลวงพ่อหนู วัดปทุมวนาราม
๙๐. หลวงพ่อทองคำ วัดปทุมคงคา
๙๑. หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุธาราม
๙๒. หลวงพ่อกรอง วัดสว่างอารมณ์
๙๓. หลวงพ่อเนียม วัดเสาธงทอง
๙๔. หลวงพ่อบุญ วัดอินทราราม
๙๕. หลวงพ่อเปลี่ยน วัดบึง
๙๖. หลวงพ่อฉ่ำ วัดท้องคุ้ง
๙๗. หลวงพ่อพรหมสรรอด วัดบ้านไพร
๙๘. หลวงปู่จันทร์ วัดโสมนัสวิหาร
๙๙. หลวงพ่อโสม วัดราษฎร์บูรณะ
๑๐๐. หลวงพ่อบุตร วัดบางปลากด
๑๐๑. หลวงพ่อโต วัดบ้านกล้วย
๑๐๒. หลวงพ่อทองอยู่ วัดบางหัวเสือ
๑๐๓. หลวงพ่อวงศ์ วัดสระเกศ
๑๐๔. พระอาจารย์พงษ์ วัดกำแพง
๑๐๕. พระอธิการชัย วัดเปรมประชา
๑๐๖. หลวงปู่รอด วัดเกริ่น
๑๐๗. หลวงพ่อเที่ยง วัดบางหัวเสือ
๑๐๘. หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
(ตัวท่านไม่ได้มาร่วมปลุกเสก แต่จารแผ่นทองเหลืองทองแดงมาร่วมพิธี)