Skip to content
พระคุ้มครอง

วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง คาถา สิ่งศักดิ์สิทธิ์

  • Home
  • ทำบุญ
  • ธรรมะ
  • คาถา
  • นิทาน
  • นำโชค
  • เรื่องผี
  • ตำนาน
  • หนังสือ
  • เรียกจิต
  • ประเพณี
  • ภาษาวัด
  • ทายนิสัย
  • พระเครื่อง
  • เครื่องราง
  • นานาสาระ
  • ยาสมุนไพร
  • พระสายกรรมฐาน
พระคุ้มครอง

วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง คาถา สิ่งศักดิ์สิทธิ์

วันออกพรรษา มหาปวารณาต่อสงฆ์ องค์พระศาสดาทรงเปิดโลก

พระคุ้มครอง, 22 สิงหาคม 202122 สิงหาคม 2021
เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....

พระพุทธเจ้า ทรงแสดงนิทาน หรือต้นเรื่องต่าง ๆ
พระพุทธเจ้า ทรงแสดงนิทาน หรือต้นเรื่องต่าง ๆ

วันออกพรรษา

เป็นวันที่สิ้นสุดระยะเวลาการอยู่จำพรรษาเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งนับตั้งแต่วันเข้าพรรษา คือแรมหนึ่งค่ำ เดือน 8 เป็นต้นมา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เรียกอีกอย่างว่า “วันมหาปวารณา” หรือบางทีก็เรียกคู่กันไปว่า “วันปวารณาออกพรรษา” เรามาดูความหมายของคำกัน “ปวารณา” แปลว่า “อนุญาต” หรือ “ยอมให้, ยินยอม” ซึ่งในวันออกพรรษานี้พระสงฆ์ในวัดจะประชุมกันร่วมพิธีสังฆกรรม เรียกว่า มหาปวารณา ซึ่งพิธีดัังกล่าวเป็นการเปิดโอกาสให้พระภิกษุที่อยู่จำพรรษาด้วยกัน ได้มีโอกาสหรือยินยอมให้ว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกันได้ เนื่องจากว่าในระหว่างจำพรรษาด้วยกันหลายรูปเป็นหมู่คณะนั้น อาจจะมีพระสงฆ์บางรูปมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไขปรับปรุงอยู่ การที่เปิดโอกาสหรือยินยอมให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนตนได้นั้น ทำให้ตนเองได้รับรู้ข้อบกพร่องของตน นอกจากนั้นแล้วยังเป็นการเปิดโอกาสให้รูปอื่น ๆ ได้ซักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันด้วย นี่เป็นประเพณีทางพระวินัย เป็นอริยประเพณีที่ปฏิบัติกันมาเกือบสามพันปีแล้ว

วันเทโวโรหณะ

เป็นวันที่พระบรมศาสดสสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 จึงมีประเพณีตักบาตรในวันดังกล่าว แต่ก็มีในบางแห่งจัดงานตักบาตรเทโวโรหณะในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 การตักบาตรเทโวโรหณะมีลักษณะพิเศษคือจะมีการอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนล้อเลื่อนที่บุษบก ซึ่งจะมีบาตรวางตั้งอยู่ด้านหน้าองค์พระพุทธรูป และจะมีคนลากล้อเลื่อนไปข้างหน้าช้า ๆ ซึ่งจะมีพระสงฆ์เดินเรียงตามหลังเป็นแถว พุทธศาสนิกชนอุบาสกอุบาสิกาก็จะนั่งเรียงเป็นแถวยาวเหยียดเพื่อทำการตักบาตร นี่เป็นการจำลองเหตุการณ์เหมือนประหนึ่งว่าพระพุทธเจ้าเสด็จจากสวรรค์ดาวดึงส์ ซึ่งบางวัดที่มีบันไดลงยากภูเขา จะทำให้เป็นภาพที่สวยงามน่าศรัทธายิ่งนัก

กิจกรรมที่พึงปฏิบัติในเทศกาลออกพรรษา

  • ร่วมทำบุญตักบาตรแด่พระสงฆ์ในวัดที่ใกล้ที่สุด
  • ทำการสมาทานศีล และรักษาศีล
  • ร่วมฟังธรรมเทศนาในวัดที่อยู่ใกล้ที่สุด
  • ทำการสวดมนต์ แผ่เมตตา กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติ ผู้ล่วงลับ และสรรพสัตว์
ตักบาตร ถวายภัตตาหาร
ตักบาตร ถวายภัตตาหาร

วันออกพรรษาในปีต่าง ๆ

วันออกพรรษาปี 2563 ตรงกับวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2563
วันออกพรรษาปี 2564 ตรงกับวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2564
วันออกพรรษาปี 2565 ตรงกับวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2565
วันออกพรรษาปี 2566 ตรงกับวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2566
วันออกพรรษาปี 2567 ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2567
วันออกพรรษาปี 2568 ตรงกับวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2568
วันออกพรรษาปี 2569 ตรงกับวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2569
วันออกพรรษาปี 2570 ตรงกับวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2570
วันออกพรรษาปี 2571 ตรงกับวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2571
วันออกพรรษาปี 2572 ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2572
วันออกพรรษาปี 2573 ตรงกับวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2573
วันออกพรรษาปี 2574 ตรงกับวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2574


เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....

บทความที่เกี่ยวข้อง

วันสำคัญทางประเพณีไทยวันสำคัญทางประเพณีไทย ประเพณีจีน ในปี 2563 ที่ไม่ใช่วันหยุด ร่วมกันอธิษฐานบุญให้แก่บรรพชนในวันสารทจีนวันสารทจีน ร่วมกันอธิษฐานบุญ อุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพชน การตั้งชื่อเด็ก ทารกประเพณี ความเชื่อ โบราณ ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการเกิด บุญข้าวจี่ ประเพณีอีสาน ทำบุญให้ทาน ตำนานพุทธกาลกล่าวไว้บุญข้าวจี่ ประเพณีอีสาน ทำบุญให้ทาน ตำนานพุทธกาลกล่าวไว้
ประเพณี วันสำคัญ

แนะแนวเรื่อง

Previous post
Next post

สวัสดียามเช้า พระคุ้มครอง

  • คลิป VIDEO
  • คอมพิวเตอร์
  • คาถา
  • ดาวน์โหลด
  • ตำนาน
  • ธรรมะคุ้มครอง
  • นานาสาระ
  • นิทาน
  • นิสัยใจคอ
  • บ้านและสวน
  • ประเพณี
  • พระสายกรรมฐาน
  • พระเครื่อง
  • ภาษาวัด ภาษาไทย
  • ยาสมุนไพรโบราณ
  • วัดธรรมยุตในต่างประเทศ
  • ส่งคำอวยพร
  • สังฆทาน
  • สิ่งนำโชค
  • สุขภาพ
  • อาชีพและครอบครัว
  • เครื่องราง
  • เรียกจิต
  • เรื่องผี
  • แนะนำหนังสือ
  • แบ่งปัน
  • ไม้ประดับ ไม้มงคล

เว็บไซต์แห่งนี้ นำเสนอบทความเกี่ยวกับ วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง มนต์คาถา พิธีกรรมต่าง ๆ
ซึ่งทั้งหมด เป็นที่พึ่งทางจิตใจ เป็นความรู้ เป็นความเชื่อที่สืบทอดต่อกันมา
ทางเราไม่อาจจะพิสูจน์ได้ว่า ความเชื่อเหล่านั้นเป็นจริงหรือไม่
ผู้เขียนบทความ ไม่อาจจะรับรองความเชื่อนั้นว่าจะได้ผลจริง หากท่านนำไปปฏิบัติตาม
หน้านโยบายความเป็นส่วนตัว

บทความต่าง ๆ บนเว็บไซต์นี้ แม้ทางเรานำเสนอโดยการศึกษาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ จึงมาเขียน ฉะนั้น ไม่อนุญาตให้คัดลอกบทความโดยพยัญชนะ