Menu
พระคุ้มครอง
  • Home
  • ทำบุญ
  • ธรรมะ
  • คาถา
  • นิทาน
  • นำโชค
  • เรื่องผี
  • ตำนาน
  • หนังสือ
  • เรียกจิต
  • ประเพณี
  • ภาษาวัด
  • ทายนิสัย
  • พระเครื่อง
  • เครื่องราง
  • นานาสาระ
  • ยาสมุนไพร
  • พระสายกรรมฐาน
พระคุ้มครอง

ถวายธง อานิสงส์ส่งให้ได้รับชัยชนะเหนือคนอื่น

Posted on 4 กรกฎาคม 20194 กรกฎาคม 2019 by พระเครื่อง พระคุ้มครอง

ธงที่ใช้ในพระพุทธศาสนาในยุคปัจจุบันมีอยู่ 2 ประเภท อันได้แก่

  • ธงพระพุทธศาสนาสากล เป็นที่รับรู้กันทั่วโลกที่นับถือพระพุทธศาสนา เรียกว่า ธงฉัพพรรณรังสี ซึ่งเริ่มปรากฏการใช้ตั้งแต่ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 หรือปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเริ่มที่ประเทศศรีลังกาก่อน ต่อมาองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก หรือ World Fellowship of Buddhists (WFB) ได้ประกาศให้ธงนี้เป็นธงพุทธศาสนาสากลเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ณ กรุงโคลอมโบ ประเทศศรีลังกา
  • ธงพระพุทธศาสนาที่ใช้ในประเทศไทยเป็นหลัก เรียกว่า ธงธรรมจักร ซึ่งคณะสงฆ์ไทยได้ประกาศให้ใช้ธงธรรมจักรอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2501 เป็นต้นมา
ธงฉัพพรรณรังสี
ธงฉัพพรรณรังสี

เราควรถวายธงในโอกาสใด

  • ถวายธงได้ในทุกโอกาส
  • ถวายธงในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา เป็นต้น
  • ถวายธงเป็นบริวารกฐิน ผ้า
  • ถวายธงแก่วัดที่เริ่มสร้างใหม่
  • ถวายธงเมื่อวัดมีกิจกรรมทางคณะสงฆ์หรือทางพระพุทธศาสนา
  • ถวายธงเมื่อเอาฤกษ์ชัยเมื่อเราต้องเดินทางไกลไปทำงานต่างประเทศหรือไปเรียนต่อต่างประเทศ เพื่อให้ได้ประสบความสำเร็จ
  • ถวายธงเพื่อทำบุญ แก้ดวงตก สะเดาะเคราะห์ แก้ปีชง แก้เคราะห์กรรมที่ไม่ดี ให้ได้รับชัยชนะเหนือดวงชะตา

คำถวายธงเพื่อบูชา

มยํ อิมินา, ธชปฏาเกน, รตนตฺตยํ, อภิปูเชม, อยํ ธชปฏาเกน, รตนตฺตยปูชา, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย, สํวตฺตตุ.
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชา ซึ่งพระรัตนตรัย ด้วยธงแผ่นผ้านี้ กิริยาที่บูชาพระรัตนตรัย ด้วยธงแผ่นผ้านี้ ขอจงเป็นไป เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ

คำถวายธงเป็นสังฆทาน

อิมานิ มะยัง ภันเต ธะชะปะฏาเกหิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต ภิกขุ สังโฆ อิมานิ ธะชะปะฏาเกหิ สะปะริวารนิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวาย ซึ่งธงกับของที่เป็นบริวารทั้งหลายเหล่านี้แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับซึ่งธงกับของที่เป็นบริวารทั้งหลายเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ

ธงธรรมจัก
ธงธรรมจัก

อานิสงส์ของการถวายธง

  • มีชื่อเสียงขจรไปไกล
  • เป็นที่รักของคนทั้งหลาย
  • ประสบความสำเร็จในชีวิต ในหน้าที่การงาน การศึกษา
  • ถ้าแข่งขันอะไร กับใครก็มักได้ชัยชนะเหนือคนอื่น
  • มีความร่มเย็นเป็นสุข
  • มีคนนับหน้าถือตา
  • เป็นที่เกรงขามของคนทั่วไป
  • ได้รับความเบิกบานใจ แช่มชื่นใจ
เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....

บทความที่เกี่ยวข้อง

ถวายพรมเช็ดเท้า บอกเล่าอานิสงส์ ตรงไปที่ไหนก็มีแต่คนต้อนรับถวายพรมเช็ดเท้า อานิสงส์ ส่งให้ขจัดขับไล่เคราะห์กรรมออกไป พิซซ่าCOVID-19 ก็ระบาด จะขาดทำบุญได้อย่างไร ทำยังไงถึงจะได้ทำบุญ การเลือกประคดเอว บริขารคู่กาย ถวายพระภิกษุสงฆ์การเลือกประคดเอว บริขารคู่กาย ถวายพระภิกษุสงฆ์ ผ้าเช็ดตัวถวายผ้าเช็ดตัวพระในหน้าฝน อานิสงส์ส่งให้ผิวพรรณดี มีเคราะห์กรรมเบาบางลง
  • คำถวาย
  • คำถวายทาน
  • ถวายทาน
  • ทาน
  • ทำบุญ
  • พระสงฆ์
  • สังฆทาน
  • อานิสงส์
  • สวัสดียามเช้า พระคุ้มครอง

    • คลิป VIDEO
    • คอมพิวเตอร์
    • คาถา
    • ดาวน์โหลด
    • ตำนาน
    • ธรรมะคุ้มครอง
    • นานาสาระ
    • นิทาน
    • นิสัยใจคอ
    • บ้านและสวน
    • ประเพณี
    • พระสายกรรมฐาน
    • พระเครื่อง
    • ภาษาวัด ภาษาไทย
    • ยาสมุนไพรโบราณ
    • วัดธรรมยุตในต่างประเทศ
    • ส่งคำอวยพร
    • สังฆทาน
    • สิ่งนำโชค
    • สุขภาพ
    • อาชีพและครอบครัว
    • เครื่องราง
    • เรียกจิต
    • เรื่องผี
    • แนะนำหนังสือ
    • แบ่งปัน
    • ไม้ประดับ ไม้มงคล

    บทความนิยมสุด

    บทความแนะนำ

    • ปล่อยปลาหน้าเขียง
    • พระคาถา หัวใจ ๑๐๘
    • 10 อันดับพระปิดตายอดนิยม
    • ที่สุดของพระเครื่อง เรื่องต้องรู้
    • เกี่ยวกับเรา

    รวมคาถาแนะนำ

    • รวมวิธีเรียกจิต
    • รวมคาถาเสกสีผึ้ง
    • รวมคาถาบูชาขุนแผน
    • รวมคาถาบูชาปลัดขิก
    • รวมบทความทั้งหมด 5,000 กว่าบท

    เว็บไซต์แนะนำ

    • สื่อการสอน
    • ยามอุบากอง
    • ปฏิทินวันพระ
    • ส่งภาพสวัสดียามเช้า
    • ดาวน์โหลดแบบเอกสาร
    เนื้อหาที่ปรากฏบนเว็บไซต์นี้ เป็นความเชื่อที่สืบทอดกัน เป็นความเชื่อเฉพาะกลุ่ม หรือเฉพาะบุคคล : นักเขียนหรือทางเว็บไซต์เป็นแค่ผู้เสนอความรู้เหล่านั้นมาเผยแพร่ต่อ นักเขียนหรือทางเว็บไซต์จะไม่รับผิดชอบหากท่านนำไปใช้แล้ว ไม่เป็นไปตามความประสงค์ โปรดใช้วิจารณญาณ ภาพวัตถุมงคลที่นำมาประกอบบทความนี้ เป็นแต่เพียงภาพประกอบบทความเท่านั้น ยังไม่สามารถยืนยันความแท้หรือไม่แท้ของวัตถุมงคลนั้น ๆ ได้ เว็บไซต์นี้ไม่ได้ขายพระเครื่อง หากท่านสนใจบูชาพระเครื่องชมได้ที่เว็บไซต์ prakumkrong.99wat.com สงวนลิขสิทธิ์ Copyright www.prakumkrong.com