Skip to content
พระคุ้มครอง

วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง คาถา สิ่งศักดิ์สิทธิ์

  • Home
  • ทำบุญ
  • ธรรมะ
  • คาถา
  • นิทาน
  • นำโชค
  • เรื่องผี
  • ตำนาน
  • หนังสือ
  • เรียกจิต
  • ประเพณี
  • ภาษาวัด
  • ทายนิสัย
  • พระเครื่อง
  • เครื่องราง
  • นานาสาระ
  • ยาสมุนไพร
  • พระสายกรรมฐาน
พระคุ้มครอง

วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง คาถา สิ่งศักดิ์สิทธิ์

การเตรียมตัวถวายสังฆทาน ระเบียบนิยมปฏิบัติในการถวายทาน

พระคุ้มครอง, 27 พฤษภาคม 202127 พฤษภาคม 2021
เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....

ขอเวลา 5 จัดชุดสังฆทานอย่างไร พระได้ใช้ คนถวายได้บุญ
ขอเวลา 5 จัดชุดสังฆทานอย่างไร พระได้ใช้ คนถวายได้บุญ

การเตรียมงานเบื้องต้น

1. นิยมจัดตั้งที่บูชาพระรัตนตรัย และจัดปูลาดอาสน์สงฆ์สำหรับเป็นที่นั่งของพระภิกษุสงฆ์ (นิยมอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 5 รูป) โดยนิยมจัดอาสน์สงฆ์ไว้ด้านช้ายที่บูชาพระรัตนตรัย

2. นิยมจัดเตรียมสิ่งของที่จะถวายทานไว้ให้พรักพร้อม คึอ ถ้าจะถวายสังฆทานแก่พระภิกษุสงฆ์หลายรูป นิยมจัดแยกสิ่งของที่จะถวายนั้นเป็นส่วน ๆ ละรูป เพื่อสะดวกแก่การยกถวาย โดยไม่สับสนกัน ถ้าการถวายสังฆทานนั้น ใช้ปิ่นโตใส่อาหารคาวเถา 1 ใส่อาหารหวานเถา 1 โดยใช้ปิ่นโตมีขนาดและชนิดเดียวกัน นิยมใช้ผ้าริบบิ้น หรึอเชือกผูกทำเครื่องหมายไว้เป็นที่ให้สังเกตรู้ได้ว่าต่างกัน และนิยมยกสิ่งของที่จะถวายสังฆทานนั้น ไปตั้งไว้ข้างหน้าพระภิกษุสงฆ์แต่ละรูป ถ้าจะถวายสิ่งของที่นำเคลื่อนทีไม่ได้ เช่น ถวายถาวรวัตถุสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น นิยมใช้ด้ายสายสิญจน์ โยงจากถาวรวัตถุสิ่งก่อสร้างนั้น มาวางใส่พานไว้ข้างหน้าพระเถระผู้เป็นประธานสงฆ์
3. นิยมจัดเตรียมเครื่องสำหรับใช้ในงานถวายทาน คึอ รูป เทียน ดอกไม้ ไม้ขีดไฟ เทียนชนวน ภาชนะสำหรับกรวดน้ำ พร้อมทั้งใส่นํ้าให้มีเพียบพร้อมทุกประการ

บทความแนะนำ…ขอเวลา 5 จัดชุดสังฆทานอย่างไร พระได้ใช้ คนถวายได้บุญ

ปิ่นโต ถวายภัตตาหาร
ปิ่นโต ถวายภัตตาหาร

ระเบียบนิยมปฏิบัติในการถวายทาน

1. ผู้เป็นประธานงาน หรือผู้เป็นเจ้าภาพงาน นิยมเริ่มประกอบพิธีถวายทาน ด้วยการจุดธูปเทียน ที่โต๊ะหมู่บูชา (โดยจุดธูป 3 ดอก เทียน 2 เล่ม) แล้วนั่งคุกเข่าประณมมือ ตั้งใจกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยจบแล้ว กราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้ง แล้วกลับมานั่งที่เดิม

2. ผู้เป็นพิธีกร หรือผู้เป็นประธานงาน หรือผู้เป็นเจ้าภาพงาน นิยมนั่งคุกเข่าหันหน้าไปทางพระเถระผู้เป็นประธานสงฆ์ ประณมมือตั้งใจกล่าวคำอาราธนาศีล 5 (หรือศีล 8) ด้วยการเปล่งเสียงด้งฟังชัดเจน อันเป็นการแสดงออกถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อพระสงฆ์เป็นอย่างดี

3. เมึ่อพระเถระผู้เป็นประธานสงฆ์ตั้งพัดให้ศีล ทุกคนที่มาร่วมพิธี นิยมตั้งใจกล่าวคำสมาทานศีลโดยพร้อมเพรียงกัน ด้วยการเปล่งเสียงดังฟังชัดถ้อยชัดคำตลอดไปจนจบการสมาทานศีล

4. ผู้เป็นพิธีกร หรีอผู้เป็นประธานงาน หรีอผู้เป็นเจ้าภาพงาน นิยมกล่าวเชิญชวนผู้มาร่วมพิธีทุกคนให้ตั้งใจกล่าวคำถวายทานพร้อม ๆ กัน โดยกล่าวนำเป็นระยะ ๆ ไป เริ่มด้วยการตั้งนะโม 3 จบแล้ว กล่าวนำคำถวายทานเป็นวรรค ๆ ไป ด้วยการเปล่งเสียงดังฟังได้ชัดเจนโดยทั่วก้น แต่ไม่ควรกล่าวนำคำถวายเป็นวรรคยาว ๆ จะทำให้ผู้กล่าวตามจำไม่ได้ และนิยมกล่าวนำคำถวายทานนั้นทั้งภาคภาษาบาลี และภาคภาษาไทย ซึ่งจะทำให้ทุกคนผู้ร่วมพิธีถวายนั้นรู้เริ่อง และจะเป็นเหตุทำให้เกิดปีติโสมนัสในบุญกุศลทานนั้นสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

5. เมึ่อกล่าวคำถวายทานจบแล้ว พระภิกษุสงฆ์ทั้งนั้นนิยมประณมมือกล่าวคำรับถวายว่า “สาธุ” แปลว่า “ดีแล้ว ชอบแล้ว จงสำเรจตามปรารถนาเถิด” จบแล้ว

6. ผู้เป็นประธานงาน หรือผู้เป็นเจ้าภาพงานและผู้มาร่วมพิธี นิยมช่วยก้นยกสิ่งของ (เฉพาะสิ่งของที่เป็นกัปปิยะ คือสิ่งของที่พระภิกษุสงฆ์ใชัสอยได้ ไม่ผิดพระวินัย) ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์แต่ละรูป ส่วนสิ่งของที่เป็นอกัปปิยะคึอ สิงของที่ไม่สมควรแก่พระภิกษุสงฆ์ใช้สอย เช่น เงิน ทอง เป็นต้น ไม่นิยมยกถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ แต่นิยมมอบไว้ให้แก่ไวยาวัจกร (คึอศิษย์ของพระภิกษุสงฆ์) เป็นผู้แทนรับไว้เท่านั้น ถ้าจะถวายถาวรวัตถุสิ่งก่อสร้างที่นำเคลึ่อนที่ไม่ได้ นิยมใช้ด้ายสายสิญจน์โยงมาแล้วคลี่ม้วนด้ายสายสิญจน์ให้ทุกคนที่มาร่วมพิธีได้ถือไว้ก่อนจะกล่าวคำถวายทาน และเมึ่อกล่าวคำถวายทานจบแล้ว ผู้เป็นประธานงานหรือผู้เป็นเจ้าภาพงานนิยมกล่าวเชิญชวนให้ทุกคนตั้งใจถวายพร้อม ๆ กัน โดยให้ทุกคนยกด้ายสายสิญจน์นั้นขึ้นจบอธิษฐาน แล้วยกพานใส่ด้ายสายสิญจน์ถวายแก่พระเถระผู้เป็นประธานสงฆ์ เมึ่อถวายเสร็จแล้วจึงม้วนเก็บด้ายสายสิญจน์นั้น

7. เมื่อพระเถระผู้เป็นประธานสงฆ์เริ่มตั้งพัดอนุโมทนา โดยกล่าวคำว่า “ยะถา วาริวะหา” ผู้เป็นประธานงาน หรือผู้เป็นเจ้าภาพงาน นิยมเริ่มกรวดนั้าอุทิศส่วนกุศล โดยเทนั้าให้ไหลลงเป็นสาย (สายน้ำนี้ประดุจว่าสายใจ) พร้อมกับกล่าวคำกรวดนํ้า และกล่าวคำอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษของตนผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นต้น
โดยเพียงแต่นึกในใจเท่านั้น ไม่นิยมกล่าวให้มีเสียงด้ง หรือการทำปากขมุบขมิบพึมพำ และทุกคนที่มาร่วมพิธีก็นิยมตั้งใจอุทิศส่วนกุศลที่เกิดจากการถวายทานนั้น ให้แก่บรรพบุรุษของตน ๆ เช่นเดียวกัน

8. เมึ่อพระภิกษุสงฆ์รูปที่ 2 กล่าวคำรับว่า ‘สัพพีติโย” ผู้เป็นประธานงานหรือผู้เป็นเจ้าภาพงาน นิยมเทน้ำกรวดให้หมดภาชนะ แล้วประณมมึอตั้งใจรับพร จากพระภิกษุสงฆ์ต่อไปจนจบ

9. เมึ่อพระภิกษุสงฆ์ให้พรจบแล้ว ทุกคนในพิธีถวายทานนั้น นิยมนั่งคุกเข่า ประณมมือ กราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้ง (ถ้านั่งเก้าอี้ นิยมน้อมตัวลงยกมึอไหว้) เป็นเสร็จพิธีการถวายทาน

จากหนังสือ…สากลทาน เรียบเรียงโดย พระธรรมวโรดม (บุญมา คุณปนโน ป.ธ.๙) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

บทความแนะนำ…

ศัพท์ คำถวายสังฆทานเป็นภาษาบาลีพร้อมคำแปล และวิธีใช้

คำถวายสังฆทาน ก่อนเที่ยง และ คำถวายสังฆทาน หลังเที่ยง


เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำบุญควรอธิษฐานไหม ใส่ใจสักคิด อย่างคิดแต่ตนเองถูกเสมอทำบุญควรอธิษฐานไหม ใส่ใจสักนิด อย่างคิดแต่ตนเองถูกเสมอ ถวายขาบาตร อานิสงส์ตั้งมั่น ครอบครัวมั่นคง ไม่คลอนแคลนถวายขาบาตร อานิสงส์ตั้งมั่น ครอบครัวมั่นคง ไม่คลอนแคลน การสักอนิจจา หรือ ชักบังสุกุล เป็นการทำบุญอุทิศให้แก่คนไทย ในช่วงวันออกพรรษาการสักอนิจจา หรือ ชักบังสุกุล เป็นการทำบุญอุทิศให้แก่คนตาย ถวายกระติกน้ำเย็น กาใส่น้ำเย็น อานิสงส์ชุ่มเย็นอุราถวายกระติกน้ำเย็น กาใส่น้ำเย็น อานิสงส์ชุ่มเย็นอุรา
สังฆทาน คำถวายคำถวายทานถวายของถวายทานทานทำบุญน้ำดื่มน้ำปานะปานะพระสงฆ์สังฆทานอานิสงส์

แนะแนวเรื่อง

Previous post
Next post

สวัสดียามเช้า พระคุ้มครอง

  • คลิป VIDEO
  • คอมพิวเตอร์
  • คาถา
  • ดาวน์โหลด
  • ตำนาน
  • ธรรมะคุ้มครอง
  • นานาสาระ
  • นิทาน
  • นิสัยใจคอ
  • บ้านและสวน
  • ประเพณี
  • พระสายกรรมฐาน
  • พระเครื่อง
  • ภาษาวัด ภาษาไทย
  • ยาสมุนไพรโบราณ
  • วัดธรรมยุตในต่างประเทศ
  • ส่งคำอวยพร
  • สังฆทาน
  • สิ่งนำโชค
  • สุขภาพ
  • อาชีพและครอบครัว
  • เครื่องราง
  • เรียกจิต
  • เรื่องผี
  • แนะนำหนังสือ
  • แบ่งปัน
  • ไม้ประดับ ไม้มงคล

เว็บไซต์แห่งนี้ นำเสนอบทความเกี่ยวกับ วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง มนต์คาถา พิธีกรรมต่าง ๆ
ซึ่งทั้งหมด เป็นที่พึ่งทางจิตใจ เป็นความรู้ เป็นความเชื่อที่สืบทอดต่อกันมา
ทางเราไม่อาจจะพิสูจน์ได้ว่า ความเชื่อเหล่านั้นเป็นจริงหรือไม่
ผู้เขียนบทความ ไม่อาจจะรับรองความเชื่อนั้นว่าจะได้ผลจริง หากท่านนำไปปฏิบัติตาม
หน้านโยบายความเป็นส่วนตัว

บทความต่าง ๆ บนเว็บไซต์นี้ แม้ทางเรานำเสนอโดยการศึกษาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ จึงมาเขียน ฉะนั้น ไม่อนุญาตให้คัดลอกบทความโดยพยัญชนะ