
การเตรียมงานเบื้องต้น
1. นิยมจัดตั้งที่บูชาพระรัตนตรัย และจัดปูลาดอาสน์สงฆ์สำหรับเป็นที่นั่งของพระภิกษุสงฆ์ (นิยมอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 5 รูป) โดยนิยมจัดอาสน์สงฆ์ไว้ด้านช้ายที่บูชาพระรัตนตรัย
2. นิยมจัดเตรียมสิ่งของที่จะถวายทานไว้ให้พรักพร้อม คึอ ถ้าจะถวายสังฆทานแก่พระภิกษุสงฆ์หลายรูป นิยมจัดแยกสิ่งของที่จะถวายนั้นเป็นส่วน ๆ ละรูป เพื่อสะดวกแก่การยกถวาย โดยไม่สับสนกัน ถ้าการถวายสังฆทานนั้น ใช้ปิ่นโตใส่อาหารคาวเถา 1 ใส่อาหารหวานเถา 1 โดยใช้ปิ่นโตมีขนาดและชนิดเดียวกัน นิยมใช้ผ้าริบบิ้น หรึอเชือกผูกทำเครื่องหมายไว้เป็นที่ให้สังเกตรู้ได้ว่าต่างกัน และนิยมยกสิ่งของที่จะถวายสังฆทานนั้น ไปตั้งไว้ข้างหน้าพระภิกษุสงฆ์แต่ละรูป ถ้าจะถวายสิ่งของที่นำเคลื่อนทีไม่ได้ เช่น ถวายถาวรวัตถุสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น นิยมใช้ด้ายสายสิญจน์ โยงจากถาวรวัตถุสิ่งก่อสร้างนั้น มาวางใส่พานไว้ข้างหน้าพระเถระผู้เป็นประธานสงฆ์
3. นิยมจัดเตรียมเครื่องสำหรับใช้ในงานถวายทาน คึอ รูป เทียน ดอกไม้ ไม้ขีดไฟ เทียนชนวน ภาชนะสำหรับกรวดน้ำ พร้อมทั้งใส่นํ้าให้มีเพียบพร้อมทุกประการ
บทความแนะนำ…ขอเวลา 5 จัดชุดสังฆทานอย่างไร พระได้ใช้ คนถวายได้บุญ
ระเบียบนิยมปฏิบัติในการถวายทาน
1. ผู้เป็นประธานงาน หรือผู้เป็นเจ้าภาพงาน นิยมเริ่มประกอบพิธีถวายทาน ด้วยการจุดธูปเทียน ที่โต๊ะหมู่บูชา (โดยจุดธูป 3 ดอก เทียน 2 เล่ม) แล้วนั่งคุกเข่าประณมมือ ตั้งใจกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยจบแล้ว กราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้ง แล้วกลับมานั่งที่เดิม
2. ผู้เป็นพิธีกร หรือผู้เป็นประธานงาน หรือผู้เป็นเจ้าภาพงาน นิยมนั่งคุกเข่าหันหน้าไปทางพระเถระผู้เป็นประธานสงฆ์ ประณมมือตั้งใจกล่าวคำอาราธนาศีล 5 (หรือศีล 8) ด้วยการเปล่งเสียงด้งฟังชัดเจน อันเป็นการแสดงออกถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อพระสงฆ์เป็นอย่างดี
3. เมึ่อพระเถระผู้เป็นประธานสงฆ์ตั้งพัดให้ศีล ทุกคนที่มาร่วมพิธี นิยมตั้งใจกล่าวคำสมาทานศีลโดยพร้อมเพรียงกัน ด้วยการเปล่งเสียงดังฟังชัดถ้อยชัดคำตลอดไปจนจบการสมาทานศีล
4. ผู้เป็นพิธีกร หรีอผู้เป็นประธานงาน หรีอผู้เป็นเจ้าภาพงาน นิยมกล่าวเชิญชวนผู้มาร่วมพิธีทุกคนให้ตั้งใจกล่าวคำถวายทานพร้อม ๆ กัน โดยกล่าวนำเป็นระยะ ๆ ไป เริ่มด้วยการตั้งนะโม 3 จบแล้ว กล่าวนำคำถวายทานเป็นวรรค ๆ ไป ด้วยการเปล่งเสียงดังฟังได้ชัดเจนโดยทั่วก้น แต่ไม่ควรกล่าวนำคำถวายเป็นวรรคยาว ๆ จะทำให้ผู้กล่าวตามจำไม่ได้ และนิยมกล่าวนำคำถวายทานนั้นทั้งภาคภาษาบาลี และภาคภาษาไทย ซึ่งจะทำให้ทุกคนผู้ร่วมพิธีถวายนั้นรู้เริ่อง และจะเป็นเหตุทำให้เกิดปีติโสมนัสในบุญกุศลทานนั้นสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
5. เมึ่อกล่าวคำถวายทานจบแล้ว พระภิกษุสงฆ์ทั้งนั้นนิยมประณมมือกล่าวคำรับถวายว่า “สาธุ” แปลว่า “ดีแล้ว ชอบแล้ว จงสำเรจตามปรารถนาเถิด” จบแล้ว
6. ผู้เป็นประธานงาน หรือผู้เป็นเจ้าภาพงานและผู้มาร่วมพิธี นิยมช่วยก้นยกสิ่งของ (เฉพาะสิ่งของที่เป็นกัปปิยะ คือสิ่งของที่พระภิกษุสงฆ์ใชัสอยได้ ไม่ผิดพระวินัย) ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์แต่ละรูป ส่วนสิ่งของที่เป็นอกัปปิยะคึอ สิงของที่ไม่สมควรแก่พระภิกษุสงฆ์ใช้สอย เช่น เงิน ทอง เป็นต้น ไม่นิยมยกถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ แต่นิยมมอบไว้ให้แก่ไวยาวัจกร (คึอศิษย์ของพระภิกษุสงฆ์) เป็นผู้แทนรับไว้เท่านั้น ถ้าจะถวายถาวรวัตถุสิ่งก่อสร้างที่นำเคลึ่อนที่ไม่ได้ นิยมใช้ด้ายสายสิญจน์โยงมาแล้วคลี่ม้วนด้ายสายสิญจน์ให้ทุกคนที่มาร่วมพิธีได้ถือไว้ก่อนจะกล่าวคำถวายทาน และเมึ่อกล่าวคำถวายทานจบแล้ว ผู้เป็นประธานงานหรือผู้เป็นเจ้าภาพงานนิยมกล่าวเชิญชวนให้ทุกคนตั้งใจถวายพร้อม ๆ กัน โดยให้ทุกคนยกด้ายสายสิญจน์นั้นขึ้นจบอธิษฐาน แล้วยกพานใส่ด้ายสายสิญจน์ถวายแก่พระเถระผู้เป็นประธานสงฆ์ เมึ่อถวายเสร็จแล้วจึงม้วนเก็บด้ายสายสิญจน์นั้น
7. เมื่อพระเถระผู้เป็นประธานสงฆ์เริ่มตั้งพัดอนุโมทนา โดยกล่าวคำว่า “ยะถา วาริวะหา” ผู้เป็นประธานงาน หรือผู้เป็นเจ้าภาพงาน นิยมเริ่มกรวดนั้าอุทิศส่วนกุศล โดยเทนั้าให้ไหลลงเป็นสาย (สายน้ำนี้ประดุจว่าสายใจ) พร้อมกับกล่าวคำกรวดนํ้า และกล่าวคำอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษของตนผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นต้น
โดยเพียงแต่นึกในใจเท่านั้น ไม่นิยมกล่าวให้มีเสียงด้ง หรือการทำปากขมุบขมิบพึมพำ และทุกคนที่มาร่วมพิธีก็นิยมตั้งใจอุทิศส่วนกุศลที่เกิดจากการถวายทานนั้น ให้แก่บรรพบุรุษของตน ๆ เช่นเดียวกัน
8. เมึ่อพระภิกษุสงฆ์รูปที่ 2 กล่าวคำรับว่า ‘สัพพีติโย” ผู้เป็นประธานงานหรือผู้เป็นเจ้าภาพงาน นิยมเทน้ำกรวดให้หมดภาชนะ แล้วประณมมึอตั้งใจรับพร จากพระภิกษุสงฆ์ต่อไปจนจบ
9. เมึ่อพระภิกษุสงฆ์ให้พรจบแล้ว ทุกคนในพิธีถวายทานนั้น นิยมนั่งคุกเข่า ประณมมือ กราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้ง (ถ้านั่งเก้าอี้ นิยมน้อมตัวลงยกมึอไหว้) เป็นเสร็จพิธีการถวายทาน
จากหนังสือ…สากลทาน เรียบเรียงโดย พระธรรมวโรดม (บุญมา คุณปนโน ป.ธ.๙) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
บทความแนะนำ…
ศัพท์ คำถวายสังฆทานเป็นภาษาบาลีพร้อมคำแปล และวิธีใช้
คำถวายสังฆทาน ก่อนเที่ยง และ คำถวายสังฆทาน หลังเที่ยง