มะยม (Phyllanthus acidus) ทางอีสานเรียกว่า หมากยม ทางภาคใต้เรียกว่า ยม เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3 – 10 เมตร พืชชนิดนี้พบได้ทั่วไปตามบ้านเรือนทั่วไปประเทศไทยและแถบเอเชีย นิยมปลูกไว้ในบริเวณบ้าน
มะยม เป็นต้นไม้ที่มีผลสีเหลือง จึงกล่าวได้ว่าเป็นต้นไม้ที่คนเกิดวันจันทร์ควรได้ปลูกไว้เพื่อความเป็นสิริมงคล ปลูกที่วัด ที่สาธารณะ ในป่าได้ทั้งนั้นครับ
มะยม ปลูกในบ้าน ก็เชื่อว่าช่วยปกป้องความชั่วร้าย ขจัดปัดเป่าเรื่องไม่ดีออกไม่ให้มาย่างกรายเข้ามา และเสริมให้มีผู้คนนิยมชมชอบ สัตว์น้อยใหญ่ก็เข้ามาอาศัย ทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข
มะยม ปลูกที่สาธารณะ ข้างถนนหนทาง ที่ศาลาริมทาง ที่วัด ก็ทำให้ผู้ที่ผ่านไปมาได้ร่มเงา และหยิบผลมะยมขึ้นมากินแก้กระหายคลายร้อนได้ กินแล้วชื่นใจ หายเหนื่อย มีแรงเดินต่อไป
มะยม ปลูกในป่า ก็เป็นที่อาศัยของนกกาทั้งหลาย สัตว์บางชนิดกินน้ำหวานจากดอกมะยม กินผลมะยมสุกเป็นอาหาร สัตว์ทั้งหลายได้อาศัยร่มเงาของต้นมะยม แม้คนเดินผ่านหลงทางเข้ามาก็ได้ร่มเงาพักอาศัยและได้ผลมะยมกินเป็นอาหารประทังชีวิตต่อไปได้
มะยม นั้น มีสรรพคุณทางยาใช้ได้ทุกส่วน ผล ใบ ราก เปลือก โดยเฉพาะผล กินสดก็ได้ ใช้ปรุงอาหารก็ได้ ดองก็ได้ แปรรูปเป็นอย่างอื่นก็ได้
ที่นี้มากล่าวถึงกาฝากมะยม ต้นมะยมแม้จะมีเกือบทุกบ้านก็ตาม แต่ใช่ว่าทุกต้นจะมีกาฝากมะยม หากท่านเจอกาฝากมะยมแล้วอย่าเพิ่งตัด ให้อ่านบทความนี้ก่อน
วิธีเลือกกาฝาก เพื่อให้ถูกต้องตามลักษณะความเป็นมงคล
วิธีตัดกาฝากไม้ ให้เป็นมงคล คนมันเชื่อแล้วก็ต้องทำให้ถึงที่สุด แล้วหยุดที่ศรัทธา
เมื่อพิจารณาดูสมควรแล้วจึงลงมือทำ
พุทธคุณ กาฝากมะยม
สำหรับพุทธคุณของกาฝากมะยมที่ได้ตามลักษณะที่สมบูรณ์ถูกต้องนั้น เชื่อว่าเป็นเมตตา มหานิยม มหาเสน่ห์ตามชื่อไม้มงคลยิ่งนัก
- นิยมนำกาฝากมะยมมาไว้ที่ร้านค้า เมื่อเป็นมหานิยม เรียกผู้คน เรียกลูกค้า
- นำกาฝากมะยมไว้ที่บ้าน เพื่อให้คนในบ้านรักสามัคคีกัน คนทั่วไปก็นิยมแวะมาหา
- นำกาฝากมะยมทำเป็นเครื่องราง เช่น รัก-ยม กุมารทอง นกสาริกา ปลัดขิก
- นำมาบดผสมเป็นสีผึ้งทาปาก เป็นเมตตายิ่งนัก
- นำมาบดผสมเป็นวัตถุมงคลอื่น ๆ เช่น พระเครื่อง นกสาริกาเนื้อผง อิ่นผง
- นำกาฝากมะยมมาแช่เป็นน้ำมันทาตัว ประพรมสินค้า ประพรมร้านค้า