คาถาบูชาพระสีวลีนั้น มีมากหลากหลายสำนัก แต่ก็ไม่แปลกหรอกเหมือนบทพรรณนาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ก็มีมากมาย ซึ่งแน่นอนว่าพระคุณแห่งพระรัตนตรัยนั้นมีมากมายไม่สิ้นสุด แล้วแต่ปัญญาของคน เหมือนยื่นไม้ขึ้นบนท้องฟ้า ไม่มีที่สิ้นสุด คุณของพระรัตนตรัยไม่สิ้นสุด เหมือนดังบทที่ว่า อัปปมาโณ พุทโธ อัปปมาโณ ธัมโม อัปปมาโณ สังโฆ พระพุทธเจ้า ไม่มีประมาณ พระธรรมเจ้า ไม่มีประมาณ พระสงฆเจ้า ไม่มีประมาณ
การบูชาพระสีวลี
การบูชาพระรัตนตรัยที่ดีที่สุดนั้น คือการปฏิบัติตามคำสอน ได้แก่ ทาน ศีล ภาวนา มีการทำบุญ ตักบาตร ถวายสังฆทาน ให้ทาน ให้อภัยทาน เป็นต้น รักษาศีล 5 ศีลอุโบสถ เป็นต้น และขั้นสูงสุด คือการภาวนา การภาวนาเป็นการทำให้เกิดสติปัญญารู้สิ่งที่ควรทำไม่ควรทำ การปฏิบัติธรรมทำตามคำสอนอื่น ๆ เช่น ขยัน อดทด ประหยัด คบคนดี มีวินัย จัดเข้าในศีลในธรรมเป็นการปฏิบัติบูชาทั้งสิ้น แต่หากแม้นว่าท่านต้องการจะบูชาพระสีวลีด้วยอามิสบูชามีสิ่งของเป็นต้น แน่นอนว่าท่านนิพพานแล้ว ไม่สามารถมานั่งรับได้ แต่การกระทำนี้เป็นการระลึกถึงพระคุณท่าน เรานำเครื่องบูชานี้เป็นสื่อให้จิตใจเราระลึกถึงท่าน เครื่องบูชาที่เขานิยมนำบูชาพระสีวลีได้แก่
ดอกไม้สีขาว ๓ ดอก
ดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม ๓ ดอก
ดอกบัว ๓ ดอก
น้ำสะอาดลอยดอกมะลิ ๑ ถ้วย
น้ำผึ้ง ๑ ถ้วย
น้ำมะพร้าวอ่อน
กล้วยหอม
ธูป
เทียน
ไม่จำเป็นว่าต้องนำมาบูชาทั้งหมด สัก 2 -3 อย่างก็ได้ เพื่อเป็นเครื่องสักการะบูชาท่าน
รวมคาถาบูชาพระสีวลี
คาถาบูชาพระสีวลี บทที่ 1 เป็นบทที่นิยมกันมาก
อธิษฐานจิต ขอเงินทองโชคลาภ พระสีวลีเป็นพระอรหันต์ผู้บันดาลโชคลาภ
สีวะลี จะ มะหาเถโร เทวะตานะระปูชิโต
โสระโห ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ ตัง สะทา.
สีวะลี จะ มะหาเถโร ยักขะเทวาภิปูโต
โสระโห ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ ตัง สะทา
สีวะลีเถระคุณัง เอตัง โสตถิลาภัง ภะวันตุ เม.
คาถาขอลาภเรียกทรัพย์ “พระสิวลี” โดย หลวงพ่อเกษม เขมโกสีวลี
มหาเถรังฺ วันฺทามิหังฺ ( ๓ จบ )
มหาสีวลีเถโร มหาลาโภ โหติ มหาสีวลีเถโร ลาภังฺ เม เทถะ
คาถาบูชาพระสิวลี (หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม จ.ชัยนาท)
สีวะลี จะ มะหาเถโร ปัจจะยะลาภะปูชิโต มะนุสโสเทวะตาอินโท
พระมายะโม ยักขาวา ปิตัสสะ นิรันตะรัง ปะนะ ลาภะ สักการเรอาเน็นติ
นิจจัง สิวะลิดเถรัสสะลาโภจะ สักกาโร โหติ สีวะลีมะหาเถรันจะปูชะกัสสะ
สะทาวาปิ คาถันจะ สังวัดตะนัสสะลาโภจะ สักกาโรโหติเถรัสสะ อานุภาเวนะ
ลาโภเมโหตุสัพพะทาเอเตนะ สัจจะวัดเชนะ ลาโภเมโหตุ สัพพะทาฯ
คำกล่าวถวายเครื่องบูชาพระสีวลี
อาจจะถวายดอกไม้ ธูปเทียน หรือเครื่องสักการะบูชาที่เหมาะสม รวมถึงการบูชาด้วยน้ำ ผลไม้ อาหารหวานเป็นต้น คำกล่าวบูชา ดังนี้
อิมินา สักกาเรนะ สีวลีเถรัง อะภิปูชะยามิ (3 หน) ต่อด้วย
สีวลี จะ มะหาเถโร อินโท พรัมมาจะ ปูชิตัง สัพพะลาภัง ประสิทธิเม
เถรัสสะ อานุภาเวนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุเมฯ
พระคาถาหัวใจพระฉิมพลี
สาธุ สิวลีจะ มหาเถโร
นะชาลิติ ปะสิทธิลาภา ปะสันนะจิตตา สะทา โหนติ ปิยัง มะมะ สัพเพชะนา พะหูชะนา สัพเพทิสา สะมาคะตา กาละโภชะนา วิภาละโภชะนา อาคัจเฉยยะ อาคัจฉาหิ ปิยัง มะมะ
คาถาบูชาพระสิวลี (แบบย่อ)
สีวลี จะ มหาเถโร ชัยยะสิทโธ มหิทธิโก เถรัสสานุภาเวนะ
คาถาบูชาพระสีวลีเวลาไปติดต่อธุรกิจการงานให้ประสบความสำเร็จ
นะ ชาลีติ ปะสิทธิลาภา
คาถาบูชาพระสีวลีอย่างย่อที่สุด นิยมเรียกว่า หัวใจพระสีวลี
นะ ชา ลี ติ
พระคาถาบูชาขอลาภประจำวันเกิดทั้ง 7 วัน ดังนี้
วันอาทิตย์ (ให้ภาวนา 6 จบ)
ฉิมพะลี จะ มหานามัง สัพพะลาภัง ภะวิสสะติ เถรัสสานุภาเวนะ สะทา โหนติ ปิยัง มะมะ ฯ
วันจันทร์ (ให้ภาวนา 15 จบ)
ยัง ยัง ปุริโสวา อิตถีวา ทูเรหิวา สะมีเปหิวา เถรัสสานุภาเวนะ สะทา โหนติ ปิยัง มะมะ ฯ
วันอังคาร (ให้ภาวนา 8 จบ)
ฉิมพะลี จะมหาเถโร โสะโห ปัจจะยาทิมหิ เชยยะลาโภ มหาลาโภ สัพพะลาภา ภะวันตุ สัพพะทา ฯ
วันพุธ (ให้ภาวนา 17 จบ)
ทิตติตถะภะเวราชา ปิยาจะ คะระตุเม เย สารัตติ นิรันตะรัง สัพพะสุขาวะหา ฯ
วันพฤหัสบดี (ให้ภาวนา 19 จบ)
ฉิมพะลี จะ มหาเถโร ยักขาเทวาภิปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ สัพพะทา ฯ
วันศุกร์ (ให้ภาวนา 21 จบ)
ฉิมพะลี จะ มหาเถโร เทวะตานะรปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ มหาลาภัง กะโรนตุ เม ลาเภนะ อุตตะโม โหติ สัพพะลาภะ ภะวันตุ สัพพะทาฯ
วันเสาร์ (ให้ภาวนา 10 จบ)
ฉิมพะลี จะ มหานามัง อินทาพรหมา จะ ปูชิตัง สัพพะลาภัง ปะสิทธิ เม เถรัสสานุภาเวนะ สะทา สุขี ปิยัง มะมะ ฯ
พระคาถาพระฉิมพลี (สีวลี)
สิมพะลี จะ มหาเถโร ยักขาเทวาภิปูชิโต
โสระโหปัจจะยาทิมหิ อะหังวันทามิ สัพพะทา ฯ
สิมพะลี จะ มหาเถโร เทวตานะระปูชิโต
โสระโหปัจจะยาทิมหิ มะหาลาภัง กะโรนตุ เม
ลาเภนะ อุตตะโม โหติ โสระโห ปัจจะยาทิมหิ
มะหาลาภัง สะทาโสตถี ภะวันตุ เม ฯ
ราชะปุตโต จะ โยเถโร สิมพะลี อิติวัสสุโต
ลาเภนะ อุตตะโม โหติ ยัง ยัง ชะนะปะทัง ยาติ
นิคะเม ราชะธานิโย สัพพัตถะ ปูชิโต โหติ
เถรัสสะ ปาเท วันทามิ เถรัสสะ อานุภาเวนะ สัพพะลาโภ ภะวันตุ เม ฯ
สิมพะลี นันทะ สิมพะลี เถรัสสะ เอตถะตัง คุณณัง
สัพพะธะนัง สุปัตติถิตัง สาริกะธาตุ พุทธะรูปัง อะหัง วันทามิ สัพพะทา ฯ