สิงห์ ถือกันมาแต่โบราณว่าเป็นสัตว์มงคล สำหรับประเทศไทยนั้น สิงห์ได้ถูกนำมาใช้เป็นตราประจำตำแหน่งของสมุหนายก ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ได้ทรงพระราชทานให้เป็นตราประจำกระทรวงมหาดไทยและใช้เป็นต้นมาจนถึงทุกวันนี้ เรียกกันว่า สิงห์มหาดไทย ซึ่งกระทรวงนี้มีหน้าที่ “ บำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้แก่ปวงประชาราษฎร์ ” สำหรับต่างประเทศแล้ว บางประเทศใช้เป็นสัญลักษณ์สำคัญประจำชาติก็มี เช่น อังกฤษ สิงคโปร์ และอินเดีย
สิงห์ คนโบราณถือว่าเป็นดั่งราชาแห่งสัตว์ทั้งปวงหรือเจ้าแห่งป่า จึงเรียกกันว่า ราชสีห์ เนื่องด้วยสิงห์ลักษณะแห่งความเข้มแข็ง ทรงพลัง มีความสง่างาม บรรดาพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงพุทธาคมทั้งหลายจึงนิยมนำรูปลักษณ์ของสิงห์มาจัดสร้างเป็นเครื่องรางวัตถุมงคล จนเป็นที่นิยม และเกิดประสบการณ์ดี ๆ ต่อผู้นำไปใช้มากมาย โดยมากแล้วสิงห์ที่ได้รับความนิยมนั้น จะสร้างตามรูปแบบสิงห์มหาดไทย หรือสิงห์ทรงเครื่อง สิงห์แบบราชสีห์ สิงห์ตามจินตนาการของสัตว์ในป่าหิมพานต์
คุณลักษณะของราชสีห์ หรือสิงห์ตามตำรามิลินทปัญหา
- เป็นสัตว์ที่มีความสะอาดหมดจดไม่มัวหมอง
- เที่ยวไปด้วยเท้าทั้ง 4 มีเยื่องกรายอย่างองอาจกล้าหาญ
- เป็นสัตว์มีรูปร่างสง่างาม มีสร้อยคอสะสวย
- มีความองอาจไม่นอบน้อมสัตว์ใด ๆ แม้ เพราะจะต้องเสียชีวิตก็ตาม
- เที่ยวหาอาหารไปโดยลำดับ เมื่อพบอาหารที่ใดก็กินเสียจนอิ่มในที่นั้นไม่เลือกอาหารเลวหรือปราณีตว่าดี กินได้ทั้งนั้น
- ไม่มีการสะสมอาหาร (แต่ก็มีกินเรื่อย ๆ)
- แต่หากอาหารไม่ได้ก็ไม่ดิ้นรน แม้ได้ก็ไม่ทะยานและไม่กินจนเกินต้องการ (ไม่กินด้วยความโลภ)
สิงห์ของพระเกจิ ที่ได้รับความนิยม
สิงห์ของพระเกจิอาจารย์ทั้งหลายที่ได้รับความนิยมนั้นมีอยู่มาก เท่าที่ปรากฏคำค้นใน Google ซึ่งไม่ได้เรียงลำดับว่าคำค้นไหนมากกว่า มีดังนี้
- สิงห์หลวงปู่ทิม
- สิงห์หลวงปู่หมุน
- สิงห์หลวงปู่แย้ม
- สิงห์หลวงปู่ยิ้ม
- สิงห์หลวงปู่รอด
- สิงห์หลวงปู่หงษ์
- สิงห์หลวงปู่บุญ
- สิงห์หลวงปู่จ้อย
- สิงห์หลวงปู่แสน
- สิงห์หลวงพ่อเดิม
- สิงห์หลวงพ่อหอม
- สิงห์หลวงพ่อกวย
- สิงห์หลวงพ่อมุ่ย
- สิงห์หลวงพ่อจ้อย
- สิงห์หลวงพ่อเพี้ยน
- สิงห์หลวงพ่อทบ
- สิงห์หลวงพ่อกัน
- สิงห์หลวงพ่อแก้ว
- สิงห์ครูบาออ
- สิงห์ครูบากฤษดา
- สิงห์ครูบาน้อย
- สิงห์ญาท่านเขียน
- สิงห์ตะปบทรัพย์ เจ้าคุณทอง
- สิงห์ตะปบทรัพย์ หลวงปู่นน
- สิงห์ตะปบทรัพย์ หลวงพ่อแม้น
- สิงห์ตะปบเหยื่อ หลวงพ่อชุม
- สิงห์ตะปบทรัพย์ หลวงปู่เขียน
พุทธคุณ สิงห์
ขออนุญาตใช้คำว่า พุทธคุณ เพราะคำนี้คนจะค้นหามาก อันที่จริงควรใช้คำว่า คุณของสิงห์ อิทธิคุณของสิงห์ อานุภาพของสิงห์ เป็นต้น สรุปคร่าว ๆ ตามความเชื่อดังนี้
- เป็นมหาอำนาจ เป็นตบะเดชะ ผู้คนเกรงขาม คุมคน คุมบริวาร ปกครองคนอื่น
- เป็นเมตตา มหานิยม มหาเสน่ห์ แก่ผู้ได้พบเห็น และเพศตรงข้าม
- เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง
- ทำมาหากินคล่อง (สิงห์ตะปบทรัพย์)
- แคล้วคลาดปลอดภัย
- แก้ดวงตก แก้ปีชง
เครื่องราง สิงห์ เหมาะกับคนอาชีพไหน
อันที่จริง สิงห์ เหมาะกับคนทุกอาชีพ แต่อาจจะสื่อความหมายดี หรือมีความสำพันธ์ด้านจิตใจที่ดีต่อผู้มีอาชีพดังนี้
- ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ นักปกครอง นักบริหาร อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น
- ผู้ที่ต้องการเลื่อนขั้น เลื่อนยศตำแหน่ง
- เจ้าของบริษัท ห้างร้าน โรงงาน
- ผู้คุมกิจการ คุมคนงาน คุมลูกน้องทำงาน
- ผู้ที่ต้องการด้านมหาอำนาจ ข่มคนอื่นไว้
- ผู้ที่เดินทางไกล เดินทางบ่อย เดินทางคนเดียว
- ผู้ที่ออกไปค้าขาย ติดต่อธุรกิจ พบผู้คนก็เหมาะเช่นกัน
บทความแนะนำ Shisa สิงโตนำโชค ปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย