ภาพโดย truthseeker08 จาก Pixabay
คำว่า “จีวร” ในภาษาบาลี หมายถึงผ้าทุกผืนที่พระใช้สอยนุ่งห่ม (the yellow robe of a Buddhist monk or novice)
บางท่านอาจจะคิดในใจว่า ใช่หรือ ? จีวร คือผ้าห่มคลุมของพระอย่างเดียวไม่ใช่หรือ ? แต่ถ้าผมยกคำนี้ขึ้นมา ท่านจะเข้าใจความหมายของคำว่าจีวรได้ง่ายขึ้น
คำว่า “ไตรจีวร” หมายถึงผ้าจีวร 3 ผืน หรือผ้าที่พระใช้นุ่งห่ม 3 ผืน อธิบายว่าไม่ได้หมายถึงเฉพาะแต่ผ้าห่มผืนเดียว แต่จีวรหมายถึงผ้าทั้ง 3 ผืน แยกเรียกเฉพาะเจาะจงได้ดังนี้
1. ผ้านุ่ง เรียก “อันตรวาสก” (อัน-ตะ-ระ-วา-สก) คือผ้าที่เราเรียกกันว่า “สบง”
2. ผ้าห่ม เรียก “อุตตราสงค์” (อุด-ตะ-รา-สง) โดยมากเราเรียกผ้าห่มนี้ว่า “จีวร” แต่โดยความเป็นจริง ทุกผืนคือจีวร
3. ผ้าห่มซ้อน (ผ้าห่มผืนที่สอง พระสงฆ์ไทยใช้พาดบ่าเวลาทำสังฆกรรม) เรียกว่า “สังฆาฏิ” (สัง-คา-ติ)
สรุปการเรียกจีวรในภาษาไทย (แต่ไม่ตรงความหมายเดิมนัก)
“จีวร” มาคำเดียวโดด ๆ มักหมายถึงผ้าห่มของพระ “อุตตราสงค์” (อุด-ตะ-รา-สง)
“ไตรจีวร” หมายถึง ผ้าที่พระใช้นุ่งห่มทั้ง 3 ผืน ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยทั้ง 4 และ เป็น 3 ใน บริขารที่จำเป็น 8 อย่าง (อัฐบริขาร) เรามักได้ยินคำว่าเวลาบวชพระ
ที่มา : ไตรจีวร – หนึ่งในจตุปัจจัย อ่านว่า ไตฺร-จี-วอน ประกอบด้วยคำว่า ไตร + จีวร
บทความแนะนำ
ถวายจีวร อานิสงส์ ผิวพรรณดี มีสง่าราศี เพิ่มพูนบารมี
ถวายราวตากผ้า อานิสงส์ไม่ตกอับ รับความสุขเย็นสบาย ไร้โรคา
ถวายผ้าไตรจีวรอุทิศผู้ตาย อานิสงส์ส่งถึงผู้ล่วงลับจากไป
ถวายเข็มเย็บจีวร อานิสงส์ มีปัญญาฉลาด หลักแหลม ทุกเมื่อ
ถวายสีย้อมจีวร อานิสงส์เหมือนดังได้ชีวิตใหม่ มีความสดใสกว่าเดิม