Skip to content
พระคุ้มครอง

วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง คาถา สิ่งศักดิ์สิทธิ์

  • Home
  • ทำบุญ
  • ธรรมะ
  • คาถา
  • นิทาน
  • นำโชค
  • เรื่องผี
  • ตำนาน
  • หนังสือ
  • เรียกจิต
  • ประเพณี
  • ภาษาวัด
  • ทายนิสัย
  • พระเครื่อง
  • เครื่องราง
  • นานาสาระ
  • ยาสมุนไพร
  • พระสายกรรมฐาน
พระคุ้มครอง

วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง คาถา สิ่งศักดิ์สิทธิ์

ตำนานผีพราย ภูติแห่งแม่น้ำ อีกหนึ่งเรื่องเล่าขานที่คนเล่นน้ำต้องระวัง !

พระคุ้มครอง, 24 กันยายน 20206 มิถุนายน 2021
เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....

ผีพราย ภูติแห่งแม่น้ำ
ผีพราย ภูติแห่งแม่น้ำ

คำว่าผีพรายเป็นคำที่ใครหลายคน เคยได้ยินมาบ้างแล้วตั้งแต่เด็กจนกระทั่งปัจจุบัน เพราะมีผู้ใหญ่ที่ใช้คำว่าผีพรายมาหลอกให้เด็กๆ กลัว และไม่กล้าทำอะไรที่ขัดใจผู้ใหญ่ คำว่า ผีพราย จึงติดอยู่ในหัวมาตลอด ซึ่งจริงๆ แล้วผีพรายตัวเป็นๆ จะมีลักษณะอย่างไรนั้น ก็ไม่เคยเห็น มีเพียงหลักฐานเมื่อเกิดจุดสีเขียวจ้ำๆ ตามตัว แล้วคนสูงอายุจะบอกว่า ผีพรายดูด นั่นจึงเป็นหลักฐานเดียวที่ใช้ยืนยันเกี่ยวกับผีพราย ซึ่งอาจจะจริงหรือไม่จริงก็ยังไม่มีใครพิสูจน์ได้ สรุปแล้วผีพรายเป็นอย่างไร มีลักษณะเป็นยังไง ทำไมคนจะต้องหวาดกลัว

ผีพราย คืออะไร

ผีพรายในบางตำนานกล่าวไว้ว่า เป็นผีประเภทเดียวกับผีนางไม้ จึงเป็นผีสาวหน้าตาสวยงาม มีพรายหญิงมากกว่าพรายผู้ชาย หากเป็นผีพรายเพศหญิงมักจะไว้ผมยาว มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม แถมหุ่นผอมเพรียว ผีพรายส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในน้ำ โดยมีความเชื่อว่าจะมีแสงส่องแวบๆ วับๆ เมื่อโดนกับแสงไฟตอนกลางคืน ส่วนเรื่องอิทธิฤทธิ์ของผีพราย ไม่มีบันทึกไว้มากนัก นอกจากเป็นผีประเภทนางไม้ และอาศัยในน้ำนั่นเอง

และบางตำนานกล่าวไว้ว่า ผีพราย เป็นจิตวิญญาณชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กมากที่สุด อาศัยอยู่ในน้ำมากกว่าบนบก มักกำเนิดมาจากซากพืช หรือซากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่หมักหมมรวมกัน ดวงวิญญาณจึงแสดงตนในลักษณะดวงไฟเรืองแสง เพื่อหาที่อยู่โดยการสิงเข้าในร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์ ซึ่งผีพรายนั้นจะสิงอาศัยอยู่ในร่างกายของคนและสัตว์ ในส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายนั้น

ความแตกต่างของผีพรายในวรรณคดีกับผีพรายในตำนาน

ผีพรายในสองรูปแบบทั้งในวรรณคดีและในตำนาน อาจจะมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง เช่น ผีพรายในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ที่ผีพรายกลับกลายเป็นเพศชายไม่ใช่เพศหญิง ทั้งที่ในตำนานบอกว่าผีพรายจะเป็นเพศหญิง ซึ่งในตอนหนึ่งที่หมื่นหาญนายโจร สั่งให้นางบัวคลี่ลูกสาวของตน ไปวางยาพิษเพื่อฆ่าลูกเขย นั่นคือ พลายแก้วหรือขุนแผน แต่โหงพรายที่ขุนแผนเลี้ยงไว้ ได้แอบกระซิบบอกขันแผนผู้เป็นนาย โดยขุนแผนนั้นเรียนวิชาเลี้ยงผี และคาถาอาคมเครื่องลางของขลัง มากจากอาจารย์สมัยที่ยังบวชเณรยังวัดแค อีกทั้งเจ้าโหงพลายที่ขุนแผนเลี้ยงนี้ ขุนแผนยังใช้ขี่ เป็นพาหนะไปหานางพิมพิลาไลย ที่สุพรรณบุรีด้วย แต่สำหรับผีพรายที่พลายแก้วขี่ไปหานางพิมพิลาไลยนั้น ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าเป็นผีพรายเพศอะไร

อาหารของผีพราย ผีพรายกินอะไร

ผีพรายนั้นเป็นผีที่กินเครื่องเซ่นเหมือนกับผีทั่วไป คล้ายกับพวกนางไม้ เช่น ผีนางตานี ผีนางตะเคียน แต่ผีพรายไม่ใช่ผีในตำนานที่ให้หวย หรือเลขเด็ดเหมือนผีตะเคียน และผีนางไม้ จึงไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าอาหารและเครื่องเซ่นต่างๆ มาจากที่ใด เพราะคงไม่มีใครเอาเครื่องเซ่นไปให้แบบไม่ได้หวังอะไร ส่วนวิธีการป้องกันและจัดการกับผีพราย เนื่องจากผีพรายชอบอาศัยอาศัยอยู่ในน้ำ หากใครลงไปเล่นน้ำคนเดียว ในบริเวณลึกๆ แล้วจะโดนผีพรายเอาผมพันขาลากจมหายไปกับสายน้ำ และโดนเอาตัวไปเป็นบริวาร หรือเป็นพรายแทนตัวเองก่อนที่จะไปเกิด เรียกว่าเป็นการหาตัวตายตัวแทนของผีพราย

ตำนานผีพราย ภูติแห่งแม่น้ำ อีกหนึ่งเรื่องเล่าขานที่คนเล่นน้ำต้องระวัง !

ข้อสันนิษฐาน เมื่อมีคนจมน้ำและการป้องกัน

เมื่อมีคนจมน้ำตาย สิ่งแรกที่คนจะสันนิษฐาน คือเชื่อสนิทใจว่าผีพรายพันขาไว้ทำให้จมน้ำตาย แต่ข้อสันนิษฐานนี้ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ จึงเป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น วิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือ การไม่ลงไปเล่นน้ำคนเดียว โดยเฉพาะบริเวณน้ำลึกๆ และห้ามเล่นน้ำในเวลากลางคืนเด็ดขาด ส่วนการกำจัดผีพรายนั้น คงต้องให้อาจารย์ผู้มีอาคม และมีความรู้เรื่องไสยเวทย์มาช่วยปราบ รวมทั้งหากมีใครตื่นนอนขึ้นมาแล้วพบว่า ตามเนื้อตัวและแขนขามีรอยช้ำเป็นจ้ำๆ โดยไม่รู้สาเหตุของสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะไม่ได้เดินสะดุดอะไรกระทั่งต้องเขียวช้ำ อาการเขียวคล้ำจ้ำๆ นี้ มีผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่า นั่นเป็นฝีมือของผีพราย เพราะโดนผีพรายดูด

ในต่างประเทศมีผีพรายหรือไม่

ตามตำนานมีผีพรายในต่างประเทศด้วย ในประเทศทางยุโรป ยกตัวอย่าง เช่น ประเทศนอร์เวย์ มีผีพรายที่เรียกว่า Nökken มีลักษณะคล้ายผีพรายของประเทศไทย โดยผีพราย Nökken เป็นภูติร้ายที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำนิ่ง เช่น ทะเลสาบ บึง หรือสระน้ำ โดยชอบซ่อนตัวอยู่ใต้น้ำ เพื่อจ้องมองหาคนที่ผ่านไปมาบริเวณริมน้ำ หรือบนผิวน้ำ ด้วยดวงตาที่กลมโตขนาดใหญ่ดำสนิท เพื่อหาคนมาเป็นเหยื่อของตัวเอง รูปร่างหน้าตาของพราย Nökken มีรูปร่างสวยงาม เพราะมันต้องใช้หน้าตาหลอกล่อ ให้คนลงมาในน้ำเพื่ออยู่กับมัน  โดยจะแปลงกายเป็นหญิงรูปงาม หรือแปลงเป็นม้าสีขาวปลอดสวยงาม เพื่อหลอกล่อเด็กให้มาเป็นเหยื่อในน้ำ

รวมทั้ง Nökken มีทักษะทางดนตรีเก่งมากๆ  มันมักจะเล่นไวโอลินด้วยเสียงเพลงที่ไพเราะ เพื่อหลอกล่อเหยื่อให้มาติดกับดักของมันและใช้เป็นเหยื่อ ใครที่ได้ยินเสียงเพลงที่พรายบรรเลง จะเคลิ้มและหลงกลกลายเป็นเหยื่อแบบไม่รู้ตัว วิธีการของมันคือการใช้โลหะพวกเงินทำเป็นของแหลม แล้วทิ้งลงในน้ำที่อยู่ของมัน จากนั้นมันก็พูดร่ายมนต์ของมัน ซึ่งมนต์เหล่านั้นมีความหมายโดยรวมว่า แกคือโลหะ ข้าทิ้งโลหะลงในน้ำ โลหะต้องจมน้ำ ส่วนข้าจะลอยน้ำ หลังจากนั้น Nökken ก็จมหายไปในน้ำที่อยู่ของมันนั้น ตำนานผีพรายที่เล่ามานั้น ยังคงเป็นเพียงตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาเท่านั้น แต่อย่างน้อยๆ ก็เป็นกุศโลบายให้คนที่ต้องใช้ชีวิตอยู่กับสายน้ำต้องระมัดระวังตัว เพื่อให้มีชีวิตปลอดภัย ซึ่งเรื่องนี้คงจะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่ยังคงใช้หลอกล่อเด็กให้กลัวผีพรายต่อๆ ไป


เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตำนานผีปอบ ผีพื้นบ้านและผลกรรมของคนเล่นคุณไสยตำนานผีปอบ ผีพื้นบ้านและผลกรรมของคนเล่นคุณไสย เรื่องราวผีตายโหง อีกตำนานความสยองขวัญของผีไทยเรื่องราวผีตายโหง อีกตำนานความสยองขวัญของผีไทย ตำนานผีกองกอย ผีดูดเลือดน่ากลัว ตามความเชื่อคนไทยตำนานผีกองกอย ผีดูดเลือดน่ากลัว ตามความเชื่อคนไทย ตำนานผีกระหัง อดีตผู้เล่นไสยศาสตร์สู่การเป็นผีกระหังตำนานผีกระหัง อดีตผู้เล่นไสยศาสตร์สู่การเป็นผีกระหัง
ตำนาน เรื่องผี ตำนานประวัติเรื่องเล่า

แนะแนวเรื่อง

Previous post
Next post

สวัสดียามเช้า พระคุ้มครอง

  • คลิป VIDEO
  • คอมพิวเตอร์
  • คาถา
  • ดาวน์โหลด
  • ตำนาน
  • ธรรมะคุ้มครอง
  • นานาสาระ
  • นิทาน
  • นิสัยใจคอ
  • บ้านและสวน
  • ประเพณี
  • พระสายกรรมฐาน
  • พระเครื่อง
  • ภาษาวัด ภาษาไทย
  • ยาสมุนไพรโบราณ
  • วัดธรรมยุตในต่างประเทศ
  • ส่งคำอวยพร
  • สังฆทาน
  • สิ่งนำโชค
  • สุขภาพ
  • อาชีพและครอบครัว
  • เครื่องราง
  • เรียกจิต
  • เรื่องผี
  • แนะนำหนังสือ
  • แบ่งปัน
  • ไม้ประดับ ไม้มงคล

เว็บไซต์แห่งนี้ นำเสนอบทความเกี่ยวกับ วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง มนต์คาถา พิธีกรรมต่าง ๆ
ซึ่งทั้งหมด เป็นที่พึ่งทางจิตใจ เป็นความรู้ เป็นความเชื่อที่สืบทอดต่อกันมา
ทางเราไม่อาจจะพิสูจน์ได้ว่า ความเชื่อเหล่านั้นเป็นจริงหรือไม่
ผู้เขียนบทความ ไม่อาจจะรับรองความเชื่อนั้นว่าจะได้ผลจริง หากท่านนำไปปฏิบัติตาม
หน้านโยบายความเป็นส่วนตัว

บทความต่าง ๆ บนเว็บไซต์นี้ แม้ทางเรานำเสนอโดยการศึกษาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ จึงมาเขียน ฉะนั้น ไม่อนุญาตให้คัดลอกบทความโดยพยัญชนะ