เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....
ในวันมาฆบูชา ปี 2563 ตรงกับวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ผมไดัมีโอกาสเดินทางไปร่วมกิจกรรมในวันมาฆบูชาที่วัดธรรมเมตตา เมืองเปกันบารู ประเทศอินโดนีเซีย จากการที่ผมได้สัมผัสกับชาวพุทธในประเทศอินโดนีเซียนั้น ทำให้ผมได้รู้ว่า
- ประเทศอินโดนีเซีย นับพุทธศักราชที่ 1 ในปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน เหมือนอย่างที่ศรีลังกา พม่า นับ เช่น ถ้าไทยเป็นปี 2563 ที่พม่า ศรีลังกา อินโดนีเซีย จะเป็นปี 2564
- ชาวพุทธในประเทศอินโดนีเซีย เมื่อเจอหน้ากัน หรือจากกัน จะกล่าวทักทายกันด้วยคำว่า “นะ โม พุท ธา ยะ”
- เมื่อมีกิจกรรมในทางพระพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชน ชายหญิงจะมารวมตัวกันที่วัด และนั่งแบ่งกลุ่ม ชายญิง เช่น ผู้หญิงอยู่ฝั่งซ้าย ผู้ชายอยู่ฝั่งขวา (ทางเดียวกับพระสงฆ์)
- ทุกวันอาทิตย์จะมีพุทธศาสนิกชน เยาวชนชายหญิง มาสวดมนต์ นั่งสมาธิ ถวายภัตตาหารเพล และร่วมกันบริจาคเข้าวัดหรือสาธารณะประโยชน์
- วัดโดยมากอยู่ในความดูแลของฆราวาส ฉะนั้น บางครั้งอาจจะไม่มีพระสงฆ์อยู่ประจำวัดเป็นเวลาหลายเดือน แต่พวกเขาก็มาวัดในทุกวันอาทิตย์ สวดมนต์ ไหว้พระ นั่งสมาธิเหมือนเดิม
- พระสงฆ์ไม่ได้ออกไปบิณฑบาตร แต่มีเจ้าภาพมาถวายภัตตาหาร เช้า เพล ทุกวัน บางวันผู้เป็นเจ้าภาพก็จะนิมนต์พระไปฉันที่บ้านของตนหรือที่ร้านอาหารแทนการนำอาหารมาถวายที่วัด
- พุทธศาสนิกชนที่นี่จะให้ความเคารพพระสงฆ์เป็นอย่างมาก และเรียกพระว่า “ภันเต” แปลว่าผู้เจริญ
- พุทธศาสนิกชนชาวอินโดนีเซีย ก่อนที่จะทำพิธีใด ๆ จะทำการอาราธาศีลห้าก่อน เหมือนพุทธศาสนิกชนขาวไทย
- พุทธศาสนิกชนที่นี่ ทั้งคนแก่ เด็กเยาวชนหญิงชาย วัยกลางคน จะสวดมนต์ไหว้พระ อาราธนาศีล อาราธนาธรรม อาราธนาพระปริตรได้คล่องแคล้วปากเปล่ากัน โดยที่พระไม่ต้องบอกนำ โดยที่ไม่ต้องใช้หนังสือ
เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....