
ตะกรุด นับว่าเป็นหนึ่งในเครื่องรางของขลังยอดนิยมที่ผูกพันกับสังคมไทยมานาน เกี่ยวกับคติความเชื่อเพื่อความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ ดีในทุกด้านตั้งแต่แคล้วคลาด ปลอดภัย คงกระพันชาตรี สามารถป้องกันภยันตรายภัยพิบัติทั้งหลายทั้งปวง นอกจากนั้นยังประกอบด้วยเมตตามหานิยม ทำมาค้าขาย ส่งเสริมด้านโชคลาภ กลับดวง หนุนดวง พลิกชะตาชีวิต ลิขิตยศขั้น กันภูตผีคุณไสย ร้ายกลายเป็นดี นี่คืออานุภาพบางส่วนของตะกรุด ตะกรุดนั้นปกติแล้วได้ถูกสร้างมาโดยอ้างอิงถึงพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณที่ผ่านมาทางอักขระยันต์และพลังจิตของผู้ปลุกเสก เหตุที่ต้องใช้ตะกรุดเพราะหากเป็นวัตถุมงคลรูปพระพุทธเจ้าแล้ว อาจจะไม่เหมาะแก่การนำในสถานที่ต่าง ๆ เช่น สนามรบ ที่เต็มไปด้วยกิเลสของมนุษย์
วัสดุที่นิยมนำมาทำตะกรุด
วัสดุที่นิยมมาทำตะกรุดนี้ ผมไม่ได้เรียงตามความนิยม หรือเรียงตามวัสดุที่มีค่า แต่เรียงตามที่ผมนึกขึ้นได้หรือพบเจอมาครับ ^_^
- แผ่นทองแดง
- แผ่นทองเหลือง
- แผ่นเงิน
- แผ่นทองคำ
- แผ่นนาค
- แผ่นตะกั่ว
- แผ่นดีบุก
- แผ่นอลูมิเนียม
- งาช้าง
- กระดูกสัตว์
- เขาสัตว์
- ไม้มงคลต่าง ๆ
- หรือทำจากวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น สังกะสี ขาปิ่นโต เป็นต้น
ตะกรุดชนิดต่าง ๆ
ตะกรุดชนิดต่าง ๆ ที่ผมนำมาเขียนนี้ จากที่ได้พบเจอมานะครับ ถ้าพบเจอก็จะนำมาอัพเดทเรื่อย ๆ เช่นกัน
- ตะกรุดฝังท้องแขน จะเป็นตะกรุดขนาดเล็กมาก โดยมากทำจากทองคำ แล้วนำมาฝังท้องแขน อย่างตะกรุดสาริกาฝังท้องแขนหลวงพ่อคูณ อุทธิคุณของตะกรุดแล้วแต่อาจารย์ผู้สร้างและเสก โดยมากเชื่อว่าเด่นด้านเมตตา ปรับธาตุขันธ์ในร่างกายเราให้เป็นปกติ ผิวพรรณเปล่งปลั่งมีสง่าราศี
- ตะกรุดสาริกา ถ้าเป็นตะกรุดขนาดเล็กตั้งแต่ขนาดเท่าฝังท้องแขน จนถึงขนาดประมาณหนึ่งนิ้ว ก็เห็นเรียกกันอยู่ว่าตะกรุดสาริกา โดยมากจะเชื่อว่ามีอิทธิคุณด้านเมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ ค้าขาย ติดต่อธุรกิจ
- ตะกรุดโทน ถ้าเป็นตะดอกเดี่ยว ๆ นิยมเรียกว่าตะกรุดโทน พุทธคุณของตะกรุดแล้วแต่อาจารย์ผู้สร้างและเสกลงคาถาอะไรไว้ เสกด้วยคาถาอะไร
- ตะกรุดแฝด ตะกรุดแแฝดหรือตะกรุดคู่ นิยมม้วนปลายสองด้านของแผ่นโลหะเข้าหากัน บางทีเรียกว่าตะกรุดคู่ชีวิต เน้นหนุนดวง ค้ำดวงชะตา ให้ดี ดีทุกอย่าง
- ตะกรุดพับ โดยการนำแผ่นโลหะที่จารยันต์พับทบเข้าหากัน อย่างเช่น ตะกรุดพับครูบาวัง เน้นด้านเมตตา ค้าขาย ส่งเสริมด้านความรัก ความสามัคคีในครอบครัว เรียกคนรัก เรียกลูกค้า
- ตะกรุดปลอกลูกปืน โดยการนำปลอกลูกปืนมาลงอักขระทำเป็นตะกรุด ข้างในบรรจุผง หรือแผ่นตะกรุดเล็กไว้ การนำปลอกลูกปืนมาทำตะกรุดนี้ โดยถือเคล็ดว่าแม่ไม่ฆ่าลูก ฉะนั้น พุทธคุณหลักก็น่าจะเน้น แคล้วคลาดปลอดภัย คงกระพันชาตรี
ตะกรุด พระเกจิที่ได้รับความนิยม
ตะกรุดนั้น ถือว่าเป็นเครื่องรางพื้นฐานที่นิยมสร้างกันมากเกือบทุกพระเกจิอาจารย์ เพราะสร้างได้ง่าย จากวัสดุที่หาได้ หรือบางครั้งลูกศิษย์ก็จะนำแผ่นโลหะมาขอความเมตตาจากพระอาจารย์ที่ตนเคารพนับถือเพื่อให้ท่านจารและเสกให้ ก็สำเร็จเป็นตะกรุดแล้ว ตะกรุดพระเกจิที่ถูกค้นหามากใน google ได้แก่
- ตะกรุดหลวงปู่หมุน
- ตะกรุดหลวงปู่ศุข
- ตะกรุดหลวงปู่ทิม
- ตะกรุดหลวงพ่อเทียม
- ตะกรุดหลวงปู่เอี่ยม
- ตะกรุดหลวงปู่แผ้ว
- ตะกรุดหลวงปู่ชู
- ตะกรุดหลวงปู่โต๊ะ
- ตะกรุดหลวงปู่เจียม
- ตะกรุดหลวงปู่ขุ้ย
- ตะกรุดหลวงปู่บุญ
- ตะกรุดหลวงปู่กาหลง
- ตะกรุดหลวงปู่สุด วัดกาหลง
- ตะกรุดหลวงพ่อเดิม
- ตะกรุดหลวงพ่อทบ
- ตะกรุดหลวงพ่อกวย
- ตะกรุดหลวงพ่อคูณ
- ตะกรุดหลวงพ่อพิธ
- ตะกรุดหลวงพ่อจง
- ตะกรุดหลวงพ่อเปิ่น
- ตะกรุดหลวงพ่อเงิน
- ตะกรุดหลวงพ่อเต๋
- ตะกรุดหลวงพ่อโม
- ตะกรุดหลวงพ่อตัด วัดชายนา
- ตะกรุดหลวงพ่อปาน
- ตะกรุดหลวงพ่อคง
- ตะกรุดครูบาน้อย
- ตะกรุดครูบาผัด
- ตะกรุดครูบากฤษดา
- ตะกรุดครูบาวัง
- ตะกรุดครูบาแบ่ง
- ตะกรุดครูบากฤษณะ
- ตะกรุดครูบาสร้อย
- ตะกรุดครูบาออ
- ตะกรุดพระอาจารย์ตี๋เล็ก
- ตะกรุดพระอาจารย์อ๊อด
- ตะกรุดพระอาจารย์บุญอุ้ม
- ตะกรุดพระอาจารย์อุทัย วัดวิหารสูง
- ตะกรุดพระอาจารย์แดง วัดป้อมรามัญ
- ตะกรุดพระอาจารย์ต้อม วัดท่าสะแบง
- ตะกรุดพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
- ตะกรุดพระอาจารย์ปกรณ์
- ตะกรุดพระอาจารย์โอ พุทโธรักษา
- ตะกรุดพระครูกาชาด
- ตะกรุดพระครูปลัดวิชัย
- ตะกรุดพระครูวิโรจน์
- ตะกรุดพระครูชล วัดเขาบางทราย
- ตะกรุดพระครูชลโธปมคุณ วัดเขาบางทราย
- ตะกรุดญาท่านสวน
- ตะกรุดญาท่านสวน วัดนาอุดม
- ตะกรุดญาท่านโทน
- ตะกรุดญาท่านเขียน
- ตะกรุดญาท่านฤทธิ์
- ตะกรุดญาครูจุณฑ์
- ตะกรุดพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์
- ตะกรุดพ่อท่านเขียว วัดหรงบน
- ตะกรุดพ่อท่านแก่น วัดทุ่งหล่อ
- ตะกรุดพ่อท่านเอื้อม
- ตะกรุดพ่อท่านแปลก วัดหูล่อง
- ตะกรุดพ่อท่านเมือง
- ตะกรุดพ่อท่านไข่ วัดลำนาว
- ตะกรุดพ่อท่านไข่ วัดปากปรน
- ตะกรุดพ่อท่านนอง
- ตะกรุดเจ้าคุณเจือ