เย้ ๆ ๆ ใกล้ถึงวันลอยกระทงอีกแล้ว ลอยกระทงปีนี้เหลืออีกกี่วัน นับถอยลังไปเลย คลิกดูก่อนจะได้รู้ว่า ลอยกระทงปีนี้เหลืออีกกี่วัน ตรงกับอะไร คงจะทราบแล้วนะครับว่า วันลอยกระทงปีนี้ ตรงกับวันอะไร วันที่เท่าไหร่ เหลืออีกกี่วัน
สำหรับวันลอยกระทงนั้น จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติ ก็จะอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ อาจจะมีบ้างอยู่ในปลายเดือนตุลาคมในบางปี ส่วนจะตรงกับวันอะไร วันที่เท่าไหร่นั้น ไม่แน่นอนครับ เพราะกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ
สำหรับการลอยกระทงนั้น ผมได้เขียนไว้แล้วที่บทความ นับถอยหลังวันลอยกระทง ผมจะนำมาสรุปย่อ ๆ สั้นไว้อีกครั้งว่า ทำไมต้องลอยกระทง
- เพื่อเป็นการรักษาประเพณีโบราณไว้
- เพื่อจะได้มีกิจกรรมภายในครอบครัว
- เพื่อเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท
- เพื่อเป็นการขอขมาพระแม่คงคา
- เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ ลอยทุกข์โศกโรคภัยต่างๆ ให้ลอยไปกับแม่น้ำ
- เพื่อเป็นการบูชาพระอุปคุต ที่อาศัยอยู่ทะเล
- เพื่อเป็นการบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
- เป็นการบูชาเพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้าในวันเสด็จกลับจากเทวโลก
- เชื่อว่าเป็นการระลึกถึงและส่งของ ส่งข่าวไปยังบรรพบุรุณที่ล่วงลับไปแล้ว
- เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว
- เพื่อความบันเทิงรื่นเริงใจ
- เพื่อส่งเสริมงานฝีมือและความคิดสร้างสรรค์
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (วันลอยกระทง) เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาอย่างไร
- เป็นวันพระใหญ่ พระจันทร์เต็มดวง
- เป็นวันที่พระสงฆ์ ประชุมฟังพระปาฏิโมกข์
- เป็นวันออกพรรษาหลังของพระภิกษุผู้เข้าปัมฉิมพรรษา
- เป็นวันสิ้นสุดแห่งเทศกาลถวายผ้ากฐิน
- เป็นวันที่พระสารีบุตรอัครสาวกได้ดับขันธนิพพาน
เราเป็นชาวพุทธ ฉะนั้น นำประเพณีลอยกระทง การลอยกระทง เข้าสู่พระพุทธศาสนา เป็นพุทธบูชากันครับ
ขั้นตอนการลอยกระทงแบบชาวพุทธ
- ก่อนลอยกระทงให้ตั้งใจบูชาพระรัตนตรัยก่อน
- กล่าวคำขอขมาพระรัตนตรัย
- กล่าวคำถวายกระทงเป็นพุทธบูชา
- อธิษฐาน
- ลอยกระทง
คำบูชาพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ ๑ ครั้ง)
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ ๑ ครั้ง)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สังฆัง นะมามิ (กราบ ๑ ครั้ง)
คำขอขมาพระรัตนตรัย
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเตฯ
หากข้าพระพุทธเจ้า ได้เคยประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินต่อพระรัตนตรัยมาแล้ว ต่อพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้ง หลาย ในชาติก่อนหรือชาตินี้ ด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจ ด้วยเจตนา แม้ไม่ได้เจตนาก็ตาม หรือด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุก ๆ พระองค์นั้น แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม เหล่าพระอริยสงฆ์ และผู้มีพระคุณทุกท่านทั้งหลาย ได้โปรดอดโทษให้แก่ข้าพระพุทธเจ้า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ.
คำถวายกระทงแก่สงฆ์ เพื่อให้พระสงฆ์ใช้ลอยเป็นพุทธบูชา
อิมานิ, มะยัง ภันเต, ปะทีปานิ, สะปะริวารานิ, ภิกขุสังฆัสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุโน ภันเต, ภิกขุสังโฆ, อิมานิ, ปะทีปานิ, สะปะริวารานิ, ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ.
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ, ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอน้อมถวาย, ซึ่งกระทง, กับของที่เป็นบริวารทั้งหลายเหล่านี้, แด่พระสงฆ์, ขอพระสงฆ์จงรับ, ซึ่งกระทง, กับของที่เป็นบริวารทั้งหลายเหล่านี้, เพื่อประโยชน์, เพื่อความสุข, แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย, สิ้นกาลนานเทอญ.
คำกล่าวถวายกระทงเป็นพุทธบูชา กรณีที่ลอยไปลอยกระทง ก่อนที่จะลอยกระทง ให้ตั้ง นะโม 3 จบ แล้วกล่าวคำถวายกระทง……..แล้วจึงทำการอธิษฐาน
คำกล่าวถวายกระทง เป็นพุทธบูชา (คนเดียว)
อะหัง อิมินา ปะทีเปนะ อะสุกายะ นัมมะทายะ นะทิยา ปุลิเน ฐิตัง มุนิโท ปาทวลัญชัง อะภิปูชะยามิ อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโท ปาทวลัฐชัง ปูชา มัยหัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังวัตตะตุ
ข้าพเจ้าขอน้อมบูชารอยพระพุทธบาทของพระศรีศากยมุนี อันประดิษฐานอยู่
ณ หาดทราย แห่งนัมมทานทีอันไกลโพ้น ด้วยกระทงประทีปนี้ ขอให้การบูชารอยพระพุทธบาทด้วยกระทงประทีปนี้ จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ และประโยชน์สุขแก่ข้าพเจ้าสิ้นกาลนานเทอญ.
คำกล่าวถวายกระทงเป็นพุทธบูชา (แบบหลายคน ควรมีคนกล่าวนำ) ตั้ง นะโม 3 จบ
มะยัง, อิมินา, ปะทีเปนะ, อะสุกายะ, นัมมะทายะ, นะทิยา, ปุลิเนฐิตัง, มุนิโน, ปาทะวะลัญชัง, อะภิปูเชมะ, อะยัง, ปะทีเปนะ, มุนิโน, ปาทะวะลัญชัสสะ, ปูชา, อัมหากัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ, สังวัตตะตุ.
ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอบูชา, ซึ่งรอยพระพุทธบาท, ที่ตั้งอยู่เหนือหาดทรายในแม่น้ำ, ชื่อนัมมทานทีโน้น, ด้วยประทีปนี้, กิริยาที่บูชารอยพระพุทธบาท, ด้วยประทีปนี้, ขอจงเป็นไปเพื่อประโยชน์, และความสุข, แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย, สิ้นกาลนานเทอญ.
อานิสงส์ของการถวายกระทงเป็นพุทธบูชา
การลอยกระทงนั้น เป็นการบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมด้วยดวงประทีป ดังคำกล่าวที่ว่า ” ธรรมมะคือคุณากร ส่วนชอบสาทร ดุจดวงประทีปชัชวาล แห่งองค์พระศาสดาจารย์ ส่องสัตว์สันดาน สว่างกระจ่างใจมล…….” บูชาพระอริยสงฆ์ มีพระสารีบุตรเถระและพระอุปคุตเถระเป็นต้น อานิสงส์ผลบุญนั้น ย่อมมีมาก ตามกำลังความเพียรศรัทธาของเรา ดังเช่นว่า
- ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา
เป็นคนมีความเคารพ มีสัมมาคาราวะต่อพระรัตนตรัย
เป็นผู้มีดวงตาสดใส สวยงาม มองเห็นได้ชัดเจน
ทำให้ได้ทิพยจักษุ คือ มีตาทิพย์
มีผิวพรรณผ่องใส
มีรัศมีกายสว่างไสว
ทำให้มีปัญญาเฉลียวฉลาด ปฏิภาณว่องไว
ไม่ไปเกิดในอบายภูมิ
หากปฏิบัติธรรมก็จะบรรลุธรรมได้เร็ว