Skip to content
พระคุ้มครอง

วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง คาถา สิ่งศักดิ์สิทธิ์

  • Home
  • ทำบุญ
  • ธรรมะ
  • คาถา
  • นิทาน
  • นำโชค
  • เรื่องผี
  • ตำนาน
  • หนังสือ
  • เรียกจิต
  • ประเพณี
  • ภาษาวัด
  • ทายนิสัย
  • พระเครื่อง
  • เครื่องราง
  • นานาสาระ
  • ยาสมุนไพร
  • พระสายกรรมฐาน
พระคุ้มครอง

วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง คาถา สิ่งศักดิ์สิทธิ์

“ฌาปนกิจ” ภาษาบาลีแท้ แปลว่าอะไร หมายความว่าอย่างไร

พระคุ้มครอง, 24 พฤษภาคม 202224 พฤษภาคม 2022
เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....

"ฌาปนกิจ" ภาษาบาลีแท้ แปลว่าอะไร หมายความว่าอย่างไร
“ฌาปนกิจ” ภาษาบาลีแท้ แปลว่าอะไร หมายความว่าอย่างไร

“ฌาปนกิจ” ภาษาบาลีแท้ แปลว่าอะไร หมายความว่าอย่างไร

วันนี้ 24 พ.ค.25 65 ทราบว่ามีพิธีฌาปนกิจดาราสาว “แตงโม นิดา” ผู้ล่วงลับ ซึ่งจัดขึ้น ณ คริสตจักรเมธอดิสท์รังสิตคลองสี่ จ.ปทุมธานี

คำว่า “ฌาปนกิจ” เป็นภาษาบาลี และภาษาบาลีก็เป็นภาษาที่บันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้าพร้อมทั้งเรื่องราวต่าง ๆ ในพระไตรปิฎก นอกจากนั้นยังเป็นภาษาที่ใช่ในคัมภีร์อรรถกถาต่าง ๆ อีกด้วย ฉะนั้น คำว่า “ฌาปนกิจ” จึงเป็นคำในพระพุทธศาสนา

ผมพยายามหาความหมายที่แท้จริงของคำว่า “ฌาปนกิจ” ที่ตรงตามรากศัพท์เดิมว่ามาจากธาตุอะไร ลงปัจจัยอะไร ทำไมจึงกลายเป็น “ฌาปนกิจ” และมีความหมายดั้งเดิมนั้นเป็นอย่างไร จนได้เจอบทความของท่านทองย้อย แสงสินชัย ที่ได้โพสต์ไว้เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2558 ซึ่งท่านเขียนไว้ดีมาก ผมขออนุญาตนำมาเผยแพร่ ณ ที่นี้

ฌาปนกิจ

อ่านว่า ชา-ปะ-นะ-กิด

ประกอบด้วย ฌาปน + กิจ

(๑) “ฌาปน” (ชา-ปะ-นะ)

รากศัพท์มาจาก ฌาปฺ (ธาตุ = เร่าร้อน, เผาไหม้) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)

: ฌาปฺ + ยุ > อน = ฌาปน แปลว่า การจุดไฟ, การเผา (setting fire to, consumption by fire)

(๒) “กิจ”

บาลีเป็น “กิจฺจ” (กิด-จะ) รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = กระทำ) + ริจฺจ ปัจจัย, ลบ รฺ ที่ กรฺ และ ร ที่ ริจฺจ (ริจฺจ ลบ ร = อิจฺจ)

: กรฺ > ก + ริจฺจ > อิจฺจ : ก + อิจฺจ = กิจฺจ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่พึงทำ” หมายถึง หน้าที่, การงาน, การบริการ; พิธี, การกระทำ (duty, obligation, service, attention; ceremony, performance)

“กิจฺจ” ในภาษาไทยใช้ทับศัพท์ว่า “กิจ” (กิด)

ฌาปน + กิจฺจ = ฌาปนกิจฺจ > ฌาปนกิจ แปลว่า กิจด้วยการเผา, กิจคือการเผา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

“ฌาปนกิจ : (คำนาม) การเผาศพ.”

อภิปราย :

๑ ตามศัพท์ “ฌาปนกิจ” แปลว่า กิจด้วยการเผา หรือ กิจคือการเผา ยังไม่ได้ระบุว่าเผาอะไร

๒ “ฌาปนกิจฺจ” เป็นคำที่มีใช้ในคัมภีร์ ถ้าหมายถึง “การเผาศพ” จะมีคำระบุชัดลงไปว่า “สรีรชฺฌาปนกิจฺจ” (สะ-รี-รัด-ชา-ปะ-นะ-กิด-จะ, = สรีร + ฌาปน + กิจฺจ) แปลว่า “กิจคือการเผาร่าง” = การเผาศพ

๓ บางแห่งแม้จะมีเฉพาะคำว่า “ฌาปนกิจฺจ” และหมายถึง “การเผาศพ” แต่ก็จะมีคำที่เป็นบริบทบอกให้รู้ว่าเผาใครหรือเผาอะไร เช่น “สิริมาย ฌาปนกิจฺจํ” = กิจคือการเผานางสิริมา (ในข้อความนี้ถ้าไม่มีคำว่า “สิริมาย” มีแต่ “ฌาปนกิจฺจํ” ก็จะไม่รู้ว่าเผาอะไร)

๔ ในภาษาไทย คำว่า “ประชุมเพลิง” หรือ “พระราชทานเพลิง” ก็ถอดความออกมาจากคำว่า “ฌาปนกิจ” นั่นเอง แม้สำนวนที่เป็นภาษาปากว่า “ใส่ไฟ” ก็สืบเนื่องมาจากคำว่า “ประชุมเพลิง” อีกต่อหนึ่ง

๕ ในภาษาไทย มีปัญหาว่า คำว่า ประชุมเพลิง หรือ พระราชทานเพลิง จะต้องมีคำว่า “-ศพ” ต่อท้ายด้วยหรือไม่

ถ้าดูจากหมายรับสั่งในการพระราชทานเพลิงศพ จะเห็นว่าในหมายใช้คำว่า “พระราชทานเพลิงศพ” ต่อด้วยชื่อผู้ตาย ไม่ใช่ พระราชทานเพลิง-แล้วต่อด้วยชื่อผู้ตาย

๖ เราใช้คำว่า “ฌาปนกิจ” ในความหมายว่า “การเผาศพ” จนติด คือเข้าใจอย่างนั้นไปหมดแล้ว อย่างที่เรียกว่าผิดจนถูก จะแก้ให้ถูก ถูกก็จะกลายเป็นผิดไปเสีย นอกจากจะช่วยกันอธิบายแก้ต่างให้ผิดเป็นถูก ซึ่งไม่ใช่วิธีที่ดี

: เผาอะไรก็ไม่วิเศษ

: เท่ากับเผากิเลสของตัวเอง


ตามที่ท่านอาจารย์ทองย้อย แสงสินชัยได้อธิบายไว้ คำว่า “ฌาปนกิจ” จึงแปลว่า กิจด้วยการเผา, กิจคือการเผา ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าเผาอะไร และคำว่า “ฌาปนกิจ” ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการฝัง หรือ การกลบ


เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....

บทความที่เกี่ยวข้อง

คำไทยที่มักอ่านผิด "มาติกา" อ่านว่า มาด-ติ-กาคำไทยที่มักอ่านผิด “มาติกา” อ่านว่า มาด-ติ-กา รถไฟ เรือเมล์ ลิเก ตำรวจสำนวนไทย รถไฟ เรือเมล์ ลิเก ตำรวจ ไว้ใจไม่ได้ หมายความว่าอย่างไร จำวัด จำพรรษา จำศีล พระอยู่ประจำวัด เรียกว่าอะไรจำวัด จำพรรษา จำศีล พระอยู่ประจำวัด เรียกว่าอะไร Locket เขียนว่า ล็อกเกต ไม่ใช่ ล็อกเก็ต (แล้วจะจำยังไงล่ะทีนี้)Locket เขียนว่า ล็อกเกต ไม่ใช่ ล็อกเก็ต (แล้วจะจำยังไงล่ะทีนี้)
ภาษาวัด ภาษาไทย ภาษาวัดภาษาไทย

แนะแนวเรื่อง

Previous post
Next post

สวัสดียามเช้า พระคุ้มครอง

  • คลิป VIDEO
  • คอมพิวเตอร์
  • คาถา
  • ดาวน์โหลด
  • ตำนาน
  • ธรรมะคุ้มครอง
  • นานาสาระ
  • นิทาน
  • นิสัยใจคอ
  • บ้านและสวน
  • ประเพณี
  • พระสายกรรมฐาน
  • พระเครื่อง
  • ภาษาวัด ภาษาไทย
  • ยาสมุนไพรโบราณ
  • วัดธรรมยุตในต่างประเทศ
  • ส่งคำอวยพร
  • สังฆทาน
  • สิ่งนำโชค
  • สุขภาพ
  • อาชีพและครอบครัว
  • เครื่องราง
  • เรียกจิต
  • เรื่องผี
  • แนะนำหนังสือ
  • แบ่งปัน
  • ไม้ประดับ ไม้มงคล

เว็บไซต์แห่งนี้ นำเสนอบทความเกี่ยวกับ วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง มนต์คาถา พิธีกรรมต่าง ๆ
ซึ่งทั้งหมด เป็นที่พึ่งทางจิตใจ เป็นความรู้ เป็นความเชื่อที่สืบทอดต่อกันมา
ทางเราไม่อาจจะพิสูจน์ได้ว่า ความเชื่อเหล่านั้นเป็นจริงหรือไม่
ผู้เขียนบทความ ไม่อาจจะรับรองความเชื่อนั้นว่าจะได้ผลจริง หากท่านนำไปปฏิบัติตาม
หน้านโยบายความเป็นส่วนตัว

บทความต่าง ๆ บนเว็บไซต์นี้ แม้ทางเรานำเสนอโดยการศึกษาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ จึงมาเขียน ฉะนั้น ไม่อนุญาตให้คัดลอกบทความโดยพยัญชนะ