คาถาเสกยันต์มหารัตนบัลลังก์
วิชาตำรับหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
นะโม ๓ จบ
๑.
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชา จะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถา เทวมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ (๓ จบ)
๒.
พุทธัง อาราธนานัง
ธัมมัง อาราธนานัง
สังฆัง อาราธนานัง
ขอบารมีของพระพุทธเจ้ากับยันต์ที่เป็นมหามหารัตนบัลลังก์ ของพระพุทธเจ้านี้ จงดลบันดาลให้เป็นคงกระพัน ชาตรี แคล้วคลาดมหาอำนาจ เมตตามหานิยม มหาเสน่ห์แก่มนุษยทั้งหลาย โดยอำนาจบารมี ของพระพุทธเจ้ากับยันต์มหารัตนบัลลังก์ ขออาราธนาจงบันดาลโดยเร็ว พุทธัง รักษา ธัมมัง รักษา สังฆัง รักษา พระบิดา รักษา พระมารดา รักษา พระอินทร์ รักษา พระพรหม รักษา ครูบาอาจารย์ รักษา
*** อิมัง องคพันธะนัง อธิษฐามิ ***
๓.
อิติสุคะโต อุสุวิหิสุ พุทธะสังมิ พุทธะสังมิ
มะอะอุ อุกัณหะเนหะ อุทธัง อัทโธ โธอุท ธังอัท หังระอะ อะนะปัสสะ ฯ (๓ – ๗ จบ)
ที่มา : คาถาครูพักลักจำ
ผมเห็นว่าเป็นคาถาที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก มีความหมายสมบูรณ์อยู่ในตัวคาถา คาถานี้แม้ไม่ได้สักยันต์ ไม่มียันต์ของหลวงพ่อจง หรือยันต์ใด ๆ ก็สามารถสวดบริกรรมได้
ส่วนที่ ๑ เป็นการถึงไตรสรณคมน์ คือกล่าวถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะที่พึ่งสูงสุด ตามด้วยบทพุทธคุณ ซึ่งบทนี้เป็นบทที่มีในพระไตรปิฎก
ส่วนที่ ๒ เป็นการกล่าวอาราธนาอัญเชิญพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รวมทั้งคุณแห่งบิดามารดร ครูอาจารย์ อินทร์พรหม น้อมมาสู่ตน เพื่อคุ้มครองปัองกันอันตรายให้เป็นไปตามคำอธิษฐาน
ส่วนที่ ๓
เป็นเมนต์คาถา เกี่ยวข้องกับพุธคุณ หนุนมหาอุด คงกระพันชาตรี แคล้วคลาดปลอดภัย