Menu
พระคุ้มครอง
  • Home
  • ทำบุญ
  • ธรรมะ
  • คาถา
  • นิทาน
  • นำโชค
  • เรื่องผี
  • ตำนาน
  • หนังสือ
  • เรียกจิต
  • ประเพณี
  • ภาษาวัด
  • ทายนิสัย
  • พระเครื่อง
  • เครื่องราง
  • นานาสาระ
  • ยาสมุนไพร
  • พระสายกรรมฐาน
พระคุ้มครอง

ความหมายของคาถา

Posted on 15 กันยายน 202215 กันยายน 2022 by พระเครื่อง พระคุ้มครอง
คาถาเดินป่า มนต์ป้องกันตัว แคล้วคลาดปลอดภัย ได้เมตตามหานิยม
คาถาเดินป่า มนต์ป้องกันตัว แคล้วคลาดปลอดภัย ได้เมตตามหานิยม

ความหมายของคาถา

เมื่อพูดถึงคาถา หลายท่านต้องนึกถึงการสวด การท่องมนต์ ที่เรียกเต็ม ๆ ว่า มนต์คาถา หรือคาถาอาคม

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

ให้ความหมายของ “คาถา” ดังนี้

       1. คำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง ในภาษาบาลี
           คู่กับ ไวยากรณ์ 2.
               คาถาหนึ่งๆ มี ๔ บาท เช่น
           อาโรคฺยปรมา ลาภา    สนฺตุฏฺฐี ปรมํ ธนํ
           วิสฺสาสปรมา ญาติ    นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ ฯ
       2. พุทธพจน์ที่เป็นคาถา (ข้อ ๔ ในนวังคสัตถุศาสน์)
       3. ในภาษาไทย บางทีใช้ในความหมายว่า คำเสกเป่าที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ อย่างที่เรียกว่าคาถาอาคม

พจนานุกรม ราชบัณฑิตยฯ 2554

ให้ความหมายของคำว่า “คาถา” ดังนี้

คาถา ๑

(๑) น. คำประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี, อัตราของฉันท์ คือ ๔ บาท เรียกว่า คาถาหนึ่ง

(๒) น. ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา เป็น ๑ ใน ๙ ส่วนของคัมภีร์นวังคสัตถุศาสน์. (ป.). (ดู นวังคสัตถุศาสน์ ประกอบ).

ความหมายที่เกี่ยวข้อง ดู   นวังคสัตถุศาสน์นวังคสัตถุศาสน์

  ลูกคำของ “คาถา ๑” คือ   คาถาพัน

คาถา ๒, คาถาอาคม

น. คำเสกที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์. (นี่คือคาถาที่คนโดยมากเข้าใจกัน แม้บทความของผมที่อยู่ในหมวด “คาถา” ก็หมายถึงสิ่งนี้

นวังคสัตถุศาสน์ คืออะไร มีอะไรบ้าง

นวังคสัตถุศาสน์ คือคำสั่งสอนของพระศาสดา มีองค์ ๙, พุทธพจน์มีองค์ประกอบ ๙ อย่าง,
ส่วนประกอบ ๙ อย่างที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ

๑. สุตตะ คำสอนที่เป็นพระสูตรทั้งหลาย รวมทั้งพระวินัยปิฎกและนิทเทส
๒. เคยยะ คำสอนที่มีร้อยแก้วและร้อยกรองผสมกัน ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด
๓. เวยยากรณะ ไวยากรณ์ คือความร้อยแก้วล้วน ได้แก่ พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด และพระสูตรที่ไม่มีคาถา เป็นต้น
๔. คาถา คำสอนที่เป็นบทร้อยกรองล้วน เช่น ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา เป็นต้น)
๕. อุทาน ได้แก่ พระคาถาพุทธอุทาน ๘๒ สูตร
๖. อิติวุตตกะ ได้แก่ พระสูตรที่เรียกว่าอิติวุตตกะ ๑๑๐ สูตร
๗. ชาตกะ คำสอนที่เป็นชาดก ๕๕๐ เรื่อง
๘. อัพภูตธรรม เรื่องอัศจรรย์ คือพระสูตรที่กล่าวถึงข้ออัศจรรย์ต่าง ๆ
๙. เวทัลละ พระสูตรแบบถามตอบที่ให้เกิดความรู้และความพอใจแล้ว ซักถามยิ่ง ๆ ขึ้นไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร เป็นต้น
น วังคสัตถุศาสน์เขียนอย่างบาลีเป็น นวังคสัตถุสาสน์

เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....

บทความที่เกี่ยวข้อง

ฤๅษี เป็นคำที่เขียนผิดมาตลอดฤๅษี เป็นคำที่ถูกเขียนผิดมาตลอด "กฎ" ไม่ใช่ "กฏ"คำไทยที่มักเขียนผิด…”กฎ” ไม่ใช่ “กฏ” ที่เขียนมาผิดทั้งหมด ที่ถูกต้องเป็น ...สักการบูชา...ที่เขียนมาผิดทั้งหมด ที่ถูกต้องเป็น …สักการบูชา… คำว่า “ลายเซ็น” เขียนแบบนี้ ไม่ใช่ "ลายเซ็นต์"คำว่า “ลายเซ็น” เขียนแบบนี้ สะกดแบบนี้ ไม่ใช่เขียน “ลายเซ็นต์”
  • คาถา
  • ภาษาบาลี
  • ภาษาไทย
  • สวัสดียามเช้า พระคุ้มครอง

    • คลิป VIDEO
    • คอมพิวเตอร์
    • คาถา
    • ดาวน์โหลด
    • ตำนาน
    • ธรรมะคุ้มครอง
    • นานาสาระ
    • นิทาน
    • นิสัยใจคอ
    • บ้านและสวน
    • ประเพณี
    • พระสายกรรมฐาน
    • พระเครื่อง
    • ภาษาวัด ภาษาไทย
    • ยาสมุนไพรโบราณ
    • วัดธรรมยุตในต่างประเทศ
    • ส่งคำอวยพร
    • สังฆทาน
    • สิ่งนำโชค
    • สุขภาพ
    • อาชีพและครอบครัว
    • เครื่องราง
    • เรียกจิต
    • เรื่องผี
    • แนะนำหนังสือ
    • แบ่งปัน
    • ไม้ประดับ ไม้มงคล

    บทความนิยมสุด

    บทความแนะนำ

    • ปล่อยปลาหน้าเขียง
    • พระคาถา หัวใจ ๑๐๘
    • 10 อันดับพระปิดตายอดนิยม
    • ที่สุดของพระเครื่อง เรื่องต้องรู้
    • เกี่ยวกับเรา

    รวมคาถาแนะนำ

    • รวมวิธีเรียกจิต
    • รวมคาถาเสกสีผึ้ง
    • รวมคาถาบูชาขุนแผน
    • รวมคาถาบูชาปลัดขิก
    • รวมบทความทั้งหมด 5,000 กว่าบท

    เว็บไซต์แนะนำ

    • สื่อการสอน
    • ยามอุบากอง
    • ปฏิทินวันพระ
    • ส่งภาพสวัสดียามเช้า
    • ดาวน์โหลดแบบเอกสาร
    เนื้อหาที่ปรากฏบนเว็บไซต์นี้ เป็นความเชื่อที่สืบทอดกัน เป็นความเชื่อเฉพาะกลุ่ม หรือเฉพาะบุคคล : นักเขียนหรือทางเว็บไซต์เป็นแค่ผู้เสนอความรู้เหล่านั้นมาเผยแพร่ต่อ นักเขียนหรือทางเว็บไซต์จะไม่รับผิดชอบหากท่านนำไปใช้แล้ว ไม่เป็นไปตามความประสงค์ โปรดใช้วิจารณญาณ ภาพวัตถุมงคลที่นำมาประกอบบทความนี้ เป็นแต่เพียงภาพประกอบบทความเท่านั้น ยังไม่สามารถยืนยันความแท้หรือไม่แท้ของวัตถุมงคลนั้น ๆ ได้ เว็บไซต์นี้ไม่ได้ขายพระเครื่อง หากท่านสนใจบูชาพระเครื่องชมได้ที่เว็บไซต์ prakumkrong.99wat.com สงวนลิขสิทธิ์ Copyright www.prakumkrong.com