เครื่องแต่งกายถือว่าเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่จะช่วยเสริมบุคลิกของเราให้ดูดีมากขึ้นได้หากเราเลือกเสื้อผ้าที่มีความเหมาะสม โดยเฉพาะเครื่องแต่งกายสำหรับการทำงานนั้นเป็นสิ่งที่เราอาจจะต้องพิจารณาเลือกให้เหมาะสมกับช่วงวัยและหน้าที่การงานของเรา แม้ว่าหลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและไม่มีความจำเป็น แต่เชื่อหรือไม่ว่า การแต่งกายด้วยชุดทำงานที่ถูกกาลเทศะ เหมาะสมกับอายุ จะช่วยให้เรามีความก้าวหน้าในการทำงานได้อย่างราบรื่นมากขึ้น อีกทั้งหากเราแต่งตัวได้อย่างน่าภูมิฐาน ก็จะยิ่งช่วยเสริมความน่าเกรงขาม และได้รับการเคารพนับถือได้ง่ายมากขึ้นอีกด้วย
การแต่งกายสำหรับคนทำงานในวัย 20 -30 ปี เป็นช่วงของวัยเริ่มต้นชีวิตทำงาน และยังเพิ่งเติบโตมากขึ้นจากความเป็นเด็ก ในวัยนี้จะต้องพบกับการเผชิญโลกใหม่ๆ อย่างมากมาย พบเจอกับอุปสรรคและความไม่ลงรอยกันในที่ทำงาน ดังนั้นหากอยากลดอุปสรรคในการทำงานให้น้อยลง เพื่อความก้าวหน้า ก็ควรแต่งกายให้สุภาพ ดูอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่จำเป็นต้องตัวหรูหราจนดูน่าหมั่นไส้ แต่ควรใส่เสื้อผ้าเรียบง่ายแต่ให้ดูเหมาะสมกับกาลเทศะ
การแต่งกายสำหรับคนทำงานในวัย 30-40 ปี
เป็นช่วงของวัยทำงานที่เริ่มมีประสบการณ์ในการทำงานมากขึ้น เป็นช่วงที่ชีวิตกำลังดิ้นรนอย่างหนักเพื่อความก้าวหน้าและการเลื่อนตำแหน่ง ในช่วงนี้จะเป็นที่รู้จักของเพื่อนร่วมงาน และได้รับความย่ำเกรงจากรุ่นน้องอยู่บ้าง การแต่งตัวจึงควรแต่งให้ดูมีความเป็นผู้ใหญ่ น่าเกรงขาม แต่ไม่ต้องถึงกับแต่งให้ดูอาวุโส ควรเน้นไปทางสีเทา ดำ และน้ำตาล มากกว่าสีสันสดใส
การแต่งกายสำหรับคนทำงานในวัย 50-60 ปี ช่วงนี้ชีวิตของคนส่วนมากจะอยู่ในช่วงของการประสบความสำเร็จ เป็นช่วงวัยที่มีฐานะมากขึ้น มีชื่อเสียง และมีความมั่นคง ดังนั้นในวัยนี้อาจจะไม่จำเป็นต้องพยายามแต่งตัวให้ดูเว่อร์ แต่ควรเป็นการแต่งตัวให้ดูดี ดูน่าเคารพนับถือ ควรเป็นเสื้อผ้าที่ใส่สบายๆ มีความเรียบง่าย ไม่เน้นสีฉูดฉาดมากนัก แต่อาจจะมีการเพิ่มเติมได้บ้างเพื่อเพิ่มสีสันให้กับชีวิต ทำให้ผู้คนรอบข้างรู้สึกไม่กดดันมากจนเกินไป โดยเฉพาะตำแหน่งผู้บริหาร
การแต่งกายที่ดูดี เปรียบเสมือนการแสดงให้เห็นถึงอุปนิสัยใจคอลึกๆ ของเราว่า เป็นคนที่มีความเคารพต่อสถานที่ รู้จักกาลเทศะมากน้อยแค่ไหน ซึ่งการแต่งกายที่ไม่เหมาะสมหรือพยายามแหวกแนวออกจากกฎของบริษัทไป ก็อาจจะทำให้เราไม่ได้รับการยอมรับ ชีวิตไม่มีความก้าวหน้ามากพอ อีกทั้งยังทำให้เราดูไม่น่าเชื่อถือ เป็นการทำลายภาพพจน์ของบริษัทให้ดูแย่ลงมากขึ้นอีกด้วย