Skip to content
พระคุ้มครอง

วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง คาถา สิ่งศักดิ์สิทธิ์

  • Home
  • ทำบุญ
  • ธรรมะ
  • คาถา
  • นิทาน
  • นำโชค
  • เรื่องผี
  • ตำนาน
  • หนังสือ
  • เรียกจิต
  • ประเพณี
  • ภาษาวัด
  • ทายนิสัย
  • พระเครื่อง
  • เครื่องราง
  • นานาสาระ
  • ยาสมุนไพร
  • พระสายกรรมฐาน
พระคุ้มครอง

วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง คาถา สิ่งศักดิ์สิทธิ์

7เหตุผลที่ควรมีตะกรุดไว้บูชาประจำกาย ไว้ใช้ประจำบ้าน

พระคุ้มครอง, 16 กุมภาพันธ์ 202113 กันยายน 2022
เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....

เหตุผลที่ควรมีตะกรุดไว้บูชาประจำกาย ไว้ประจำบ้าน

เว็บไซต์ wikipedia.org ได้ให้ความหมายของตะกรุดไว้ดังนี้ ตะกรุด เป็นหนึ่งในเครื่องรางของขลังที่ผูกพันกับคติความเชื่อในสังคมไทยมาช้านาน เพื่อความเข้มขลัง ศักดิ์สิทธิ์ ดีในทางแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี ป้องกันภยันตราย ภัยพิบัติทั้งปวง รวมทั้งด้านเมตตามหานิยม ค้าขาย โชคลาภ กลับดวง พลิกชะตา เลื่อนยศ ร้ายกลายเป็นดี ฯลฯ ตะกรุดได้ถูกสร้างโดยอ้างถึงพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ เพราะหากทำวัตถุบูชาเป็นรูปพระพุทธเจ้าแล้ว เมื่อนำไปในสถานที่ต่าง ๆ เช่น สนามรบ อาจจะไม่บังควร

เหตุผลที่ควรมีตะกรุดไว้บูชาประจำกาย ไว้ประจำบ้าน

  1. ตะกรุด ถือว่าเป็นเครื่องรางที่มีมาแต่โบราณ ปรากฏมีใช้ในสังคมไทยอย่างช้านาน เป็นภูมิปัญญา เป็นมรดกที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เป็นเครื่องรางที่ใช้กันมาแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา หรืออาจจะก่อนนั้นอีก จนมาถึงสมัยปู่ย่าตายาย คุณพ่อคุณแม่ของเรา ฉะนั้น เราควรได้สืบสานวัฒนธรรมแห่งการใช้เครื่องรางตะกรุดนี้ไว้ต่อไป เพื่อเป็นการบูชาบรรพบุรุษของเรา
  2. ตะกรุด เป็นเครื่องรางที่บรรจุพุทธคุณที่มาในรูปแบบอักขระยันต์อย่างครบถ้วนชัดเจน แต่ละยันต์แต่ละอักขระสื่อความหมายถึงพระรัตนตรัยหรืออิทธิคุณในด้านต่าง ๆ ที่มีมาแต่โบราณกาล มีที่มาจากคัมภีร์ทั้งหลาย มีคำภีร์พิชัยสงครามเป็นต้น
  3. ตะกรุด เป็นหนึ่งในเครื่องรางไม่กี่ประเภทที่พระเกจิท่านได้ลงมือจารเอง เสกเองด้วยตัวท่านเอง ฉะนั้น นอกจากเราได้บูชาพุทธคุณที่อยู่ในอักขระยันต์แล้ว เรายังได้บูชาพระเกจิอาจารย์ที่เราเคารพนับถืออีกด้วย ลองคิดดูตะกรุดได้ผ่านการสัมผัสแตะต้อง ผ่านการจาร ผ่านการเป่าลมปราณจากพระเกจิที่เรานับถือเราจะรู้สึกยินดีปราบปลื้มเพียงใด ใจเราก็ยิ่งเพิ่มความศรัทธาเพียงนั้น
  4. ตะกรุดมีให้เลือกหลากหลายเนื้อ มีทั้งเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนาก เนื้อตะกั่ว เนื้อทองแดง ซึ่งสามารถเลือกหา เลือกบูชาตามกำลังทรัพย์ตามกำลังศรัทธาของเรา
  5. ตะกรุดมีให้เลือกใช้ตามแต่พุทธคุณที่เราต้องการ เช่น ต้องการให้กลับร้ายกลายเป็นดี ก็บูชาตะกรุดนารายณ์แปลงรูป หากต้องการด้านเสน่ห์ดึงดูดเพศตรงข้าม ก็บูชาตะกรุดม้าเสพนาง หากต้องการด้านแคล้วคลาดปลอดภัย ก็บูชาตะกรุดพญานกยูงทอง หลวงปู่ฝั้น หากประสงค์พุทธคุณครอบจักรวาล ก็ต้องตะกรุดหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง หากต้องการตะกรุดประเภทระงับ ดับคดีความ ก็ต้องตะกรุดมหาระงับ หลวงปู่เทียม หากต้องการประเภทสะท้อนกลับ ใครทำอะไรเราย้อนกลับไปที่คนทำ ก็ต้องตะกรุดกาสะท้อน
  6. ตะกรุด เป็นเครื่องรางที่พกติดตัวได้ง่าย แตกหักยาก คล้องคอก็ได้ ตะกรุดบางเกจิใช้คาดเอว หรือตะกรุดบางประเภทแขวนหน้ารถ หรือตั้งบูชาบนหัวเตียง
  7. ตะกรุด มีหลายขนาดให้เลือกใช้ ขนาดจิ๋วเรียกว่าตะกรุดสาริกา และยังมีตะกรุดคู่ ตะกรุดโทน ซึ่งตะกรุดโทนนี้ก็มีหลายขนาด มีทั้งตะกรุดขนาดโทนเล็ก ตะกรุดโทนขนาดกลาง ตะกรุดโทนขนาดใหญ่

เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตะกรุด หลวงปู่เจียมคาถาบูชา ตะกรุด หลวงปู่เจียม อติสโย วัดอินทราสุการาม ตะกรุดมหาโสฬสมงคล หลวงปู่เอี่ยมตะกรุดมหาโสฬสมงคล หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม วัดสะพานสูง นนทบุรี ตะกรุดมหาจักรพรรดิ์ หลวงปู่ชื่น วัดตาอี จะมีสักกี่คนที่จะได้สัมผัสตะกรุดมหาจักรพรรดิ์ หลวงปู่ชื่น วัดตาอี จะมีสักกี่คนที่จะได้สัมผัส ตะกรุดหลวงปู่ฝั้น แผ่นจารเก่า ๆ เข้มขลังไม่เบาตะกรุดหลวงปู่ฝั้น แผ่นจารเก่า ๆ เข้มขลังไม่เบา เอามาจากสายตรง
เครื่องราง ตะกรุด

แนะแนวเรื่อง

Previous post
Next post

สวัสดียามเช้า พระคุ้มครอง

  • คลิป VIDEO
  • คอมพิวเตอร์
  • คาถา
  • ดาวน์โหลด
  • ตำนาน
  • ธรรมะคุ้มครอง
  • นานาสาระ
  • นิทาน
  • นิสัยใจคอ
  • บ้านและสวน
  • ประเพณี
  • พระสายกรรมฐาน
  • พระเครื่อง
  • ภาษาวัด ภาษาไทย
  • ยาสมุนไพรโบราณ
  • วัดธรรมยุตในต่างประเทศ
  • ส่งคำอวยพร
  • สังฆทาน
  • สิ่งนำโชค
  • สุขภาพ
  • อาชีพและครอบครัว
  • เครื่องราง
  • เรียกจิต
  • เรื่องผี
  • แนะนำหนังสือ
  • แบ่งปัน
  • ไม้ประดับ ไม้มงคล

เว็บไซต์แห่งนี้ นำเสนอบทความเกี่ยวกับ วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง มนต์คาถา พิธีกรรมต่าง ๆ
ซึ่งทั้งหมด เป็นที่พึ่งทางจิตใจ เป็นความรู้ เป็นความเชื่อที่สืบทอดต่อกันมา
ทางเราไม่อาจจะพิสูจน์ได้ว่า ความเชื่อเหล่านั้นเป็นจริงหรือไม่
ผู้เขียนบทความ ไม่อาจจะรับรองความเชื่อนั้นว่าจะได้ผลจริง หากท่านนำไปปฏิบัติตาม
หน้านโยบายความเป็นส่วนตัว

บทความต่าง ๆ บนเว็บไซต์นี้ แม้ทางเรานำเสนอโดยการศึกษาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ จึงมาเขียน ฉะนั้น ไม่อนุญาตให้คัดลอกบทความโดยพยัญชนะ