พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือเรียกสั้น ๆ ว่า พระแก้วมรกต ถือว่าเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทยรามาช้านานแล้ว ปัจจุบันพระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (หรือ วัดพระแก้ว) ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร
เหรียญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือเหรียญแก้วมรกตนี้ มีการสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ.2475 ซึ่งไดัสร้างขึ้นในคราวฉลองกรุงเทพมหานครครบ 150 ปี ใน ปี พ.ศ.2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศจักรี ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ให้ทันงานสมโภชกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะมีอายุครบ 150 ปี ใน พ.ศ.2475 ไดัโปรดเกล้าฯ ตั้งสมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงเป็นประธานกรรมการในการดำเนินงาน
คณะกรรมการได้ประมาณงบที่จะต้องใช้ในการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามในครั้งนี้ เป็นเงิน 600,000 บาท ในกาลนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชศรัทธา อุทิศพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นเงิน 200,000 บาท เป็นทุนในการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามในครั้งนี้ คณะรัฐบาลอนุมัติเงินแผ่นดินสมทบทุนในการปฏิสังขรณ์อีก 200,000 บาท สำหรับส่วนที่ยังขาดอยู่ทรงพระราชทานวโรกาส ที่จะให้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร และประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสที่จะบำเพ็ญบุญร่วมกัน ให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติทำหน้าที่หลัก ดำเนินการโฆษณาประกาศประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวบอกบุญ ซึ่งปรากฏตามข้อความเชิญชวนในใบปลิว ที่โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจพิมพ์ถวาย เมื่อปี พ.ศ.2473 ความว่า
“…..โดยให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจัดพนักงานรับเรี่ยไร โดยมีใบเสร็จ และ เหรียญพระแก้วตอบแทน เป็นที่ระลึก ตามชั้นและจำนวนเงินที่บริจาค ดังต่อไปนี้
- ผู้บริจาค ตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วทองคำ
- ผู้บริจาค ตั้งแต่ 20 บาท ขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วเงิน
- ผู้บริจาค ตั้งแต่ 5 บาท ขึ้นไปพระราชทานเหรียญพระแก้วทองขาว (นิเกิล)
- ผู้บริจาค ตั้งแต่ 1 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วทองแดง
ลักษณะเหรียญพระแก้วมรกต ปี 2475
เหรียญพระแก้วมรกต รุ่นแรก ปี 2475 ที่ระลึกฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี มีลักษณะเป็นเหรียญกลมขอบเรียบ ด้านหน้า เป็นรูปองค์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรทรงเครื่องวสันตฤดูหรือฤดูฝน แบบนูนต่ำ องค์พระมีฐานบัวคว่ำบัวหงายรองรับ มีผ้าทิพย์ ภายในซุ้ม ลักษณะเดียวกับซุ้มของพระพุทธชินราช พิษณุโลก มีพุ่มดอกไม้อยู่บนพื้นเหรียญโดยรอบ เชื่อกันว่าผู้กำหนดรูปแบบของเหรียญพระแก้วมรกตนี้ คือสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ด้านหลังของเหรียญ เป็นยันต์รูปกงจักร มีอักษรจารึก อัฏฐังคิกมรรค หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า มรรค 8 มีอักษรขอมที่ปรากฏในยันต์ อ่านได้ความว่า
ทิ คือ สัมมาทิฐิ
สํ คือ สัมมาสังกัปโป
วา คือ สัมมาวาจา
กํ คือ สัมมากัมมันโต
อา คือ สัม อาชิโว
วา คือ สัมมา วายาโม
ส คือ สัมมา สติ
สํ คือ สัมมาสมาธิ
พระเกจิอาจารย์ ที่ร่วมอธิษฐานจิตในพิธีพระแก้วมรกตปี 2475
- พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิตร
- สมเด็จพระวันรัต ( แพ ติสสเทโว ) วัดสุทัศน์
- พระโพธิวงศาจารย์(นวม) วัดอนงคาราม
- สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม) วัดโพธิ์
- หลวงพ่อคง วัดซำป่าง่าม ฉะเชิงเทรา
- หลวงพ่อเข้ม วัดม่วง ราชบุรี
- หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
- หลวงพ่อจันทร์ วัดนางหนู ลพบุรี
- หลวงปู่รอด วัดทุ่งศรีเมือง อุบลฯ
- หลวงพ่อเปี้ยน วัดโพธิราม สุพรรณบุรี
- หลวงพ่อกรัก วัดอัมพวัน ลพบุรี
- เจ้าคุณอุบาลี สิริจันโท วัดบรมนิวาส
- หลวงพ่อช่วง วัดปากน้ำ สุมทรสงคราม
- หลวงพ่อแฉ่ง วัดพิกุลเงิน นนทบุรี
- หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่
- หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก
- หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง อยุธยา
- หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย สระบุรี
- หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง
- หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ นครสวรรค์
- หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม สุมทรสงคราม
- หลวงพ่อลา วัดโพธิ์ศรี สิงห์บุรี
- หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ กาญจนบุรี
- หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี
- หลวงพ่อทอง วัดเขากบ นครสวรรค์
- หลวงพ่อคง วัดท่าหลวงพล ราชบุรี
- หลวงพ่อสอน วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
- หลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม สุมทรสงคราม
- หลวงพ่อชม วัดพุทไธสวรรค์ อยุธยา
- หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ สุมทรสงคราม
- หลวงพ่อพวง วัดหนองกระโดน นครสวรรค์
- หลวงพ่อคง วัดใหม่บำเพ็ญบุญ
- หลวงพ่อญัติ วัดสายไหม ปทุมธานี
- หลวงพ่อพร วัดดอนเมือง
- หลวงพ่อเผือก วัดกิ่งแก้ว
- หลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ สิงห์บุรี
- หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา
- หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา
- หลวงพ่อพิธ วัดฆะฆัง พิจิตร
- หลวงพ่อจันทร์ วัดบ้านยาง ราชบุรี
- หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ
- หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก
- หลวงพ่อสนธิ์ วัดสุทัศน์
นอกจากนั้นยังมีพระเกจิอาจารย์มากมาย ถือว่าเป็นหนึ่งในพิธีการที่ยิ่งใหญ๋ที่สุดในประวัติศาสตร์ก็ว่าได้
พระแก้วมรกต เป็นพระเครื่อง พระบูชาอีกองค์หนึ่ง ที่ผมแนะนำให้นำมาบูชา เพราะประแก้วมรกตถือว่าเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านประจำเมือง เป็นพระหลักพระประธานของประเทศไทย