Menu
พระคุ้มครอง
  • Home
  • ทำบุญ
  • ธรรมะ
  • คาถา
  • นิทาน
  • ตำนาน
  • เรื่องผี
  • นำโชค
  • ทายนิสัย
  • เรียกจิต
  • พระเครื่อง
  • เครื่องราง
  • ประเพณี
  • นานาสาระ
  • เกี่ยวกับเว็บไซต์
พระคุ้มครอง

การทำสมาธิ จัดเข้าในบารมีข้อไหน อย่างไร ?

Posted on 5 ธันวาคม 20225 ธันวาคม 2022 by พระเครื่อง พระคุ้มครอง
การทำสมาธิ จัดเข้าในบารมีข้อไหน อย่างไร ?
การทำสมาธิ จัดเข้าในบารมีข้อไหน อย่างไร ?

บารมีในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทนั้นมี 10 ประการ ได้แก่ ทาน · ศีล · เนกขัมมะ · ปัญญา · วิริยะ · ขันติ · สัจจะ · อธิษฐาน · เมตตา · อุเบกขา

ในบรรดาบารมีทั้ง 10 ประการนี้ มี ทาน ศีล ปัญญา แต่ไม่มีสมาธิอยู่ด้วย เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงมีคำถามว่า สมาธิ จัดอยู่ในบารมีข้อใดในบารมีทั้ง 10 ประการนั้น

ความหมายของบารมี

บารมีในที่นี้ มิได้หมายถึงอำนาจบารมีที่มีไว้ข่มคนอื่น คำว่า บารมี หมายถึง ปฏิปทาอันยวดยิ่ง แสดงความหมาย 2 ประการ ประการที่หนึ่ง คือ ปรม หรือ บรม แปลว่าดีเลิศ สูงสุด ประการที่สองหมายถึง การไป คือ ไปให้ถึงอีกฝังหนึ่ง ได้แก่คุณธรรมที่ประพฤติปฏิบัติอย่างยิ่งยวด อธิบายว่าคือความดีที่บำเพ็ญอย่างพิเศษ เพื่อบรรลุซึ่งจุดหมายอันสูง เช่น พระพุทธเจ้า พระอสีติมหาสาวก เป็นต้น

บารมี 10 ประการ

  1. ทาน การให้
  2. ศีล การรักษาศีลให้เป็นปกติ
  3. เนกขัมมะ การออกจากกาม
  4. ปัญญา ความรู้
  5. วิริยะ ความเพียร
  6. ขันติ ความอดทนอดกลั้น
  7. สัจจะ ความตั้งใจจริง เอาจริง จริงใจ
  8. อธิษฐาน ความตั้งใจมั่น ไม่เปลี่ยนแปลง
  9. เมตตา ความรักด้วยความปรานี
  10. อุเบกขา ความวางเฉย

สมาธิ จัดเข้าในบารมีข้อใด

ตามคำถามในหัวข้อข้างตน มีบางท่านจัดสมาธิเข้าในเนกขัมมะก็มี (เป็นการบำเพ็ญเพื่อออกจากกามารมณ์ต่าง ๆ)

บารมี 10 ประการนี้ สามารถแยกออกเป็นหมวด ได้ 3 หมวด ตามหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา โดยการจัดออกเป็นคู่ ๆ ตามบารมีที่สนับสนุนกันในเวลาที่บำเพ็ญ ได้แก่

ศีล มี 4 ได้แก่ ทาน คู่กับ เมตตา ศีล คู่กับ เนกขัมมะ

สมาธิ มี 4 ได้แก่ วิริยะ คู่กับ ขันติ สัจจะ คู่กับ อธิษฐาน และ

ปัญญา มี 2 ได้แก่ ปัญญา คู่กับ อุเบกขา

อธิบายบารมีที่สนับสนุนกันในเวลาที่บำเพ็ญ ดังนี้

ทานบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย ศีลบารมี (ทานที่ให้โดยผู้มีศีลยอมสมบูรณ์ยิ่ง)

ศีลบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย เนกขัมมะบารมี (ศีลสมบูรณ์ได้ด้วยการการสำรวมอินทรีย์ทั้ง6)

เนกขัมมะบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย ปัญญาบารมี (การสำรวมในกามสมบูรณ์ด้วยการพิจารณาตามจริงด้วยปัญญา)

ปัญญาบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย วิริยะบารมี (ปัญญาจะฉลาดลึกซึ้งกว้างขวางด้วยการหมั่นพิจารณาหมั่นตั้งคำถามหมั่นศึกษา)

วิริยะบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย ขันติบารมี (ความเพียรพยายามจะต่อเนื่องได้เพราะอาศัยความอดทน)

ขันติบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย สัจจะบารมี (ความอดทนจะมั่นคงได้ด้วยความตั้งใจจริง)

สัจจะบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย อธิฏฐานบารมี (ความตั้งใจจริงมุ่งมั่นอยู่ได้ด้วยการมีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจน)

อธิฏฐานบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย เมตตาบารมี (ทุก ๆ เป้าหมายในชีวิตต้องประกอบด้วยเมตตาธรรมไม่สร้างความเดือนร้อนแก่ผู้ใด)

เมตตาบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย อุเบกขาบารมี (ความมีเมตตาต้องมีการให้อภัยละวางความอิจฉาปราศจากอคติยอมรับผลแห่งเหตุ)

อุเบกขาบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย ทานบารมี (ความมีอุเบกขามิใช่ความวางเฉยแบบไม่สนใจแต่ต้องรู้จักเสียสละ)

ในแนวคิดบารมีของเถรวาทนั้น ผู้ที่บำเพ็ญบารมีทั้ง 10 ประการ บารมีแต่ล่ะอย่างย่อมส่งเสริมสนับสนุนให้กันและกัน จนทวีคูณจนหาประมาณมิได้ ซึ่งบารมีที่สั่งสมอบรมอย่างเต็มที่แล้วสามารถทำปุถุชนคนธรรมดาให้สำเร็จเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้

กลับมาที่ สมาธิ หรือการบำเพ็ญภาวนา อาจจัดเข้าได้ในบารมีทั้ง 10 ประการ หรือย่อมส่งเสริมมาบารมีทั้ง 10 ประการ ดังนี้

ผู้ที่สมาธินั้นถือว่าเป็นผู้เสียสละกายใจ และเวลา เสียสละตนเองในการบำเพ็ญเพียร ซึ่งผลแห่งการบำเพ็ญเพียรนั้นย่อมยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ตนเองและผู้อื่น จัดเข้าในทานบารมี (ในคำสมาทานกรรมฐานเพื่อบำเพ็ญสมาธิภาวนาบางแห่งจึงมีคำว่าขอมอบกายถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา)

ผู้ที่บำเพ็ญสมาธิ เป็นผู้สำรวมกายวาจารักษาศีลเป็นปกติ จัดเข้าในศีลบารมี

ผู้บำเพ็ญสมาธิเป็นหนีห่างจากกามคุณ ข่มกามคุณด้วยกำลังแห่งสมาธิ จัดเข้าในเนกขัมมะบารมี

ผู้บำเพ็ญสมาธิ พิจารณาเห็นความเป็นจริงของไตรลักษณ์ หรืออบรมจิตเพื่อให้เกิดปัญญา เป็นปัญญาบารมี

ผู้บำเพ็ญสมาธิมีความเพียรพยายามอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวิริยะบารมี

ผู้บำเพ็ญสมาธิมีความอดทนมั่นคงในการบำเพ็ญ จัดเป็นขันติบารมี

ผู้บำเพ็ญสมาธิมีความตั้งใจจริงมุ่งมั่นอยู่ จัดเข้าในสัจจะบารมี

ผู้บำเพ็ญสมาธิมีเป้าหมายในการบำเพ็ญอย่างชัดเจนในการบำเพ็ญสมาธินั้น จัดเข้าในอธิษฐานบารมี

ผู้บำเพ็ญสมาธิย่อมประกอบด้วยเมตตาธรรมไม่สร้างความเดือนร้อนแก่ผู้ใด เป็นเมตตาบารมี

ผู้บำเพ็ญสมาธิเป็นผู้วางอุเบกขาในอารมณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามา จัดเป็นอุเบกขาบารมี

ข้อมูลบางส่วนจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/บารมี

เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....
  • ทาน
  • ทานบารมี
  • ศีล
  • สัจจะ
  • อธิษฐาน
  • เมตตา
  • เสริมบารมี
  • สวัสดียามเช้า พระคุ้มครอง

    • คลิป VIDEO
    • คอมพิวเตอร์
    • คาถา
    • ดาวน์โหลด
    • ตำนาน
    • ธรรมะคุ้มครอง
    • นานาสาระ
    • นิทาน
    • นิสัยใจคอ
    • บ้านและสวน
    • ประเพณี
    • พระสายกรรมฐาน
    • พระเครื่อง
    • ภาษาวัด ภาษาไทย
    • ยาสมุนไพรโบราณ
    • วัดธรรมยุตในต่างประเทศ
    • ส่งคำอวยพร
    • สังฆทาน
    • สิ่งนำโชค
    • สุขภาพ
    • อาชีพและครอบครัว
    • เครื่องราง
    • เรียกจิต
    • เรื่องผี
    • แนะนำหนังสือ
    • แบ่งปัน
    • ไม้ประดับ ไม้มงคล

    บทความล่าสุด

    • พระบูชา พระพุทธโสธร ปี 2509 เนื้อสามกษัตริย์ สวยที่สุด

      พระบูชา พระพุทธโสธร ปี 2509 เนื้อสามกษัตริย์ สวยที่สุด

    • ถวายหมวกไหมพรมพระ หน้าหนาว

      ถวายหมวกไหมพรมพระ หน้าหนาว

    • การห่มผ้าพระธาตุคืออะไร ได้บุญอย่างไร

      การห่มผ้าพระธาตุคืออะไร ได้บุญอย่างไร

    • ถวายชักโครก หมดทุกข์โศกโรคภัย

      ถวายชักโครก หมดทุกข์โศกโรคภัย

    • ถวายป้ายวัด ป้ายบอกทาง อานิสงส์ไม่หลงทาง ทำอะไรก็สำเร็จ เหมือนมีผู้ชี้นำ

      ถวายป้ายวัด ป้ายบอกทาง อานิสงส์ไม่หลงทาง ทำอะไรก็สำเร็จ เหมือนมีผู้ชี้นำ

    บทความนิยมสุด

    บทความแนะนำ

    • ปล่อยปลาหน้าเขียง
    • พระคาถา หัวใจ ๑๐๘
    • 10 อันดับพระปิดตายอดนิยม
    • ที่สุดของพระเครื่อง เรื่องต้องรู้
    • การเรียกจิตคนรักให้กลับมามีจริงไหม

    รวมคาถา

    • รวมวิธีเรียกจิต
    • รวมคาถาเสกสีผึ้ง
    • รวมคาถาบูชาขุนแผน
    • รวมคาถาบูชาปลัดขิก
    • รวมคาถาหลวงพ่อกวย

    เว็บไซต์แนะนำ

    • สื่อการสอน
    • ยามอุบากอง
    • ปฏิทินวันพระ
    • ส่งภาพสวัสดียามเช้า
    • ดาวน์โหลดแบบเอกสาร
    เนื้อหาที่ปรากฏบนเว็บไซต์นี้ เป็นความเชื่อที่สืบทอดกัน เป็นความเชื่อเฉพาะกลุ่ม หรือเฉพาะบุคคล : นักเขียนหรือทางเว็บไซต์เป็นแค่ผู้เสนอความรู้เหล่านั้นมาเผยแพร่ต่อ นักเขียนหรือทางเว็บไซต์จะไม่รับผิดชอบหากท่านนำไปใช้แล้ว ไม่เป็นไปตามความประสงค์ โปรดใช้วิจารณญาณ ภาพวัตถุมงคลที่นำมาประกอบบทความนี้ เป็นแต่เพียงภาพประกอบบทความเท่านั้น ยังไม่สามารถยืนยันความแท้หรือไม่แท้ของวัตถุมงคลนั้น ๆ ได้ เว็บไซต์นี้ไม่ได้ขายพระเครื่อง หากท่านสนใจบูชาพระเครื่องชมได้ที่เว็บไซต์ prakumkrong.99wat.com สงวนลิขสิทธิ์ Copyright www.prakumkrong.com