พระอาจารย์วัน อุตฺตโมวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม
อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร
*****************
“ความเคารพเป็นสิ่งที่ทำให้จิตใจมีความอ่อนน้อม ไม่แข็งกระด้าง
ความที่จิตมีความอ่อนน้อมเป็นจิตที่ยังความเจริญให้เกิดขึ้น”
บรรพบุรุษชั้นปู่ ย่า ตา ยายของพระอาจารย์วัน มีพื้นเพอยู่ที่บ้านหนองหลัก ตำบลเหล่าบก อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาได้อพยพครอบครัวขึ้นไปตั้งรกรากอยู่ที่บ้านตาลโกน ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอบ้านหัน จังหวัดสกลนคร คำว่า ตาลโกน อันเป็นชื่อของหมู่บ้านนั้น มีที่มาจากต้นตาลที่เป็นโพรง ชาวบ้านถือเอาสัญลักษณ์นี้เองมาเป็นชื่อของหมู่บ้าน ส่วนคำว่า ตาลเนิ้งอันเป็นชื่อของตำบลนั้น ก็มีที่มาจากต้นตาลที่เอน ไม่ขึ้นตรงเหมือนตาลทั้งหลาย ซึ่งภาษาท้องถิ่นเรียกต้นไม้ที่เอนว่า ต้นไม้เนิ้ง ปัจจุบันนี้ทางราชการได้ยกฐานะหมู่บ้านตาลโกนขึ้นเป็นตำบลแล้ว ส่วนอำเภอบ้านหัน ปัจจุบันนี้เปลี่ยนชื่อมาเป็นอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
พระอาจารย์วัน เกิดวัน 1 ฯ6 9 ปีจอ (วันอาทิตย์ แรม 6 ค่ำ เดือน 9) ตรงกับวันที่
ชีวิตในปฐมวัย
จากบันทึกประวัติท่าน และจากคำบอกเล่าของญาติพี่น้องที่สูงอายุ ได้ความว่า เมื่อยังเด็กพระอาจารย์วัน เป็นเด็กที่เลี้ยงยาก ร้องไห้เก่งในเวลาค่ำคืน จึงเป็นความลำบากแก่บุคคลที่เลี้ยงดู เวลาร้องไห้จะต้องอุ้มพาเดินไปรอบบ้าน หรือเดินเล่นในสวนจึงจะหยุดร้องไห้ นิสัยใจคอเป็นเด็กที่เอาใจยาก มักจะตามใจตัวเอง อาจจะเป็นเพราะญาติพี่น้องให้ความรักความเอ็นดูจนเกินไปเพราะเห็นว่าเป็นเด็กกำพร้าก็ได้
สมัยหนึ่งที่ยังไม่รู้เดียงสานัก ขณะพระอาจารย์วัน กำลังวิ่งไล่จับกับน้าหญิงอย่างสนุกสนานอยู่นั้น ปรากฏว่าพระอาจารย์วัน ล้มลงและโดนหนามตำที่เข่าข้างซ้าย ต่อมาเมื่อแผลหายดีแล้ว แต่ก็กลายเป็นแผลเป็นมองเห็นได้ชัดเจนโดยเป็นเนื้อนูนขึ้นมา พวกญาติจึงเรียกว่า เจ้าโป้ หรือท้าวโป้ แล้วเลยกลายเป็นชื่อเรียกเล่น ๆ อีกชื่อหนึ่ง
สมัยเริ่มการศึกษา
เมื่ออายุย่างเข้า 10 ขวบ บิดาได้นำไปเข้าเรียนในโรงเรียนที่ศาลาวัดโพธิชัยเจริญ เรียนต่อถึงประถมปีที่ 3 บิดาก็ถึงแก่กรรม จึงเป็นความวิปโยคอย่างใหญ่หลวงแก่พระอาจารย์วัน เป็นครั้งที่ 2 ถึงแม้จะได้รับความเศร้าโศกเพราะบิดาจากไป แต่การเล่าเรียนก็หาได้หยุดลงไม่ ฝ่ายญาติผู้ดูแลคงปลอบโยนให้หายเศร้าโศกและได้ศึกษาเล่าเรียนต่อมาจนจบประถมปีที่ 4 ส่วนชั้นเรียนที่สูงขึ้นไปคือ ป. 5 ป. 6 ทางการได้สั่งยุบไปเสียก่อน ๆ ที่จะได้เรียน
ในสมัยที่กำลังเล่าเรียนอยู่นั้นวิชาที่พระอาจารย์วัน ถนัดและทำคะแนนได้ดีคือวิชาเลขคณิต สำหรับวิชาอื่น ๆ ปรากฏว่าคะแนนไม่ค่อยดี ตามความตั้งใจของบิดานั้นท่านต้องการให้พระอาจารย์วันเรียนกฎหมาย เพราะเป็นบุตรคนโต แต่ต่อมาเมื่อบิดาถึงแก่กรรมไปเสียก่อน ความหวังที่จะเรียนต่อก็พังทลายลงอย่างสิ้นเชิง เมื่อบิดาถึงแก่กรรมลงจึงเป็นภาระของพระอาจารย์วัน ที่จะต้องทำงานต่างๆ ที่ตนสามารถจะทำได้ อาทิเมื่อถึงฤดูทำนาจะต้องช่วยปู่ไถนา เนื่องจากอาส่วนมากเป็นผู้หญิง จากบันทึกประวัติของท่านบอกว่า รับหน้าที่ไถนา แต่คราดนาไม่ได้เพราะยกคราดไม่ไหว
นับว่าพระอาจารย์วัน ซึ่งเป็นเด็กกำพร้าแม่ตั้งแต่อายุย่างเข้า 3 ขวบ และเป็นกำพร้าพ่อเมื่ออายุได้ 13 ขวบ ได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ ความว้าเหว่ซึ่งไม่มีใครจะบอกได้ว่าหนักเพียงไร นอกจากตัวของท่านเองซึ่งเป็นผู้ประสบส่วนการงานอย่างอื่น ถึงจะหนักแต่ยังมีผู้ช่วยเหลืออยู่บ้าง ความผันผวนในชีวิตส่วนตัวดังกล่าวมานี้เองทำให้พระอาจารย์วัน กลายเป็นเด็กเจ้าความคิดมาตั้งแต่เด็ก
สมัยออกบรรพชา
เมื่อสิ้นร่มโพธิ์ร่มไทรลงแล้วพระอาจารย์วัน ก็เริ่มมีชีวิตอยู่อย่างว้าเหว่ แม้ว่าตระกูลของปู่เป็นพระกลที่พอมีอันจะกินตามฐานะของชาวชนบท แต่ความรู้สึกภายในที่ประสบกับความพลัดพรากจากไปของบิดามารดาผู้ให้กำเนิด ผู้เอาอกเอาใจ ผู้ให้ความอบอุ่น ผู้ปกป้อรักษาในทุก ๆ ด้าน ก็คงมีสภาพไม่ผิดอะไรกับคนที่มีบ้านใหญ่โต แต่ถูกพายุหนุนหอบไปกับสายลม แม้จะมีหน่วยสงเคราะห์ให้ความเมตตาก็ไม่สามารถูกดแทนความอาลัยนั้นได้ จึงทำให้เด็กชายวันคิดถึงร่มผ้ากาสาวพัสตร์ เพราะขณะที่บิดาของท่านกำลังเจ็บหนัก ได้สั่งเสียไว้ว่า
เมื่อออกโรงเรียนแล้ว ขอให้ลูกบวชให้พ่อ ก่อนจะคิดเรื่องอื่น ๆ จะอยู่ได้ในศาสนานานเท่าไรไม่บังคับ คำสั่งเสียนี้แหละเป็นเครื่องกระตุ้นอันสำคัญอีกแรงหนึ่งที่ทำให้เด็กชายวันตัดสินใจออกบวช วันหนึ่งจึงเข้าไปกราบลาปู่โดยกล่าวสั้น ๆ ว่า ขอไปบวช ปู่ได้ยินหลานมาออกปากกราบลาอยู่ซึ่งหน้าเช่นนั้น ถึงกับพูดไม่ออก เพราะความรักความอาลัยในหลาน แต่พระอาจารย์วันก็ไม่ลดละความพยายาม ผลสุดท้ายปู่ก็จำต้องอนุญาตให้บวชด้วยความอาลัย
เมื่อตัดสินใจบวชแน่นอนแล้วพระอาจารย์วัน ได้ถูกนำตัวไปฝากไว้กับท่านพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร วัดอรัญญิกาวาส บ้านม่วงไข่ อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านตาลโกนไปประมาณ 10 กิโลเมตร ในการไปบวชครั้งนี้ก็ได้ให้เงินติดตัวไปด้วย 1 บาท เพราะเห็นว่าไม่จำเป็นในการใช้จ่ายมากนัก เมื่อไปอยู่วัดระยะแรก ๆ ก็ยังไม่รีบร้อนอะไร เพราะตามธรรมดาเด็กที่ไปอยู่วัดกรรมฐาน จะต้องได้รับการฝึกให้รู้จักข้อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ให้เป็นเสียก่อน หมายความว่าเด็กจะได้รับการอบรมในข้อวัตรต่าง ๆ เช่นการปฏิบัติตนต่อพระภิกษุสามเณร ต่อบุคคลโดยทั่วไป รวมทั้งกิริยามารยาทในอิริยาบถต่าง ๆ ตลอดจนการฝึกหัดนั่งสมาธิภาวนาไปด้วยเป็นเวลาหลายเดือน บางคนเป็นปีหรือหลายปี แล้วแต่อาจารย์จะเห็นเหมาะสม เพราะถ้าหากได้รับการฝึกหัดดีแต่เบื้องต้น เมื่อบวชเข้ามาแล้ว อาจารย์ก็ไม่ต้องยุ่งยากลำบากในการแนะนำสั่งสอนบ่อย ๆ
สำหรับพระอาจารย์วัน พอไปอยู่วัดไม่นาน ท่านพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร ก็บอกให้ท่องคำขอบรรพชา ประจวบกับโอกาสอำนวย กล่าวคือขณะที่กำลังท่องคำขอบรรพชาอยู่นั้น พอดี ท่านเจ้าคุณพระราชกวี (ต่อมาได้เลื่อนเป็นพระธรรมเจดีย์ จูม พนฺธุโล) กลับจากไปงานผูกพัทธสีมาที่วัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี แวะพักที่วัดศรีบุญเรือง บ้านงิ้ว ตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน ท่านพระอาจารย์วัง จึงนำไปบวช ณ วัดศรีบุญเรือง เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 (ขณะนั้นพระอาจารย์วันมีอายุ 15 ปี) โดยมีพระราชกวี เป็นพระอุปัชฌายะ
เมื่อได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว พระอาจารย์วัน ได้กลับไปจำพรรษาอยู่ที่วัดอรัญญิกาวาส 2 พรรษา จากนั้นท่านพระอาจารย์วังก็พาท่านออกเที่ยววิเวกตามสถานที่ต่าง ๆ เมื่อใกล้เข้าพรรษาพระอาจารย์ก็พาไปจำพรรษาที่วัดป่าบ้านสามผง ตำบลสามผง อำเภอท่าบ่อศรีสงคราม อีก 2 พรรษา รวมเป็นเวลา 4 พรรษา ที่ได้อบรมในทางปฏิบัติอยู่กับท่านพระอาจารย์วัง พอย่างเข้าพรรษาที่ 5 จึงกราบลาอาจารย์เพื่อไปศึกษาทางฝ่ายปริยัติธรรมที่วัดสุทธาวาส อันที่จริงวัดสุทธาวาสในสมัยนั้นก็เป็นวัดป่า ฉันอาหารมื้อเดียว ข้อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ก็เหมือนวัดป่าทุกอย่าง เพียงแต่เพิ่มการศึกษาปริยัติธรรมเข้าไปเท่านั้น
การศึกษาด้านปริยัติธรรมของพระอาจารย์วัน ได้เริ่มต้นเรียนนักธรรมชั้นตรีที่วัดสุทธาวาสนี้ ระหว่างสอบนักธรรม ฝรั่งได้เอาเครื่องบินมาทิ้งระเบิดเมืองสกลนคร ชาวเมืองต้องหลบภัยหนีไปอยู่นอกเมือง ปล่อยให้เป็นเมืองร้างไประยะหนึ่ง แต่ญาติโยมก็ได้จัดอาหารแห้งไปมอบให้สามเณรทำอาหารถวายพระ โดยเฉพาะ คุณโยมนุ่ม ชุวานนท์ พร้อมด้วยคณะญาติ ได้มอบอาหารไว้สำหรับทำถวายพระเณรทุก ๆ เช้า
ในขณะที่บ้านเมืองกำลังประสบภัยสงครามคล้ายบ้านแตกสาแหรกขาดเพราะอำนาจลูกระเบิดฝรั่ง ดูเป็นภัยที่น่าสะพรึงกลัวอย่างหนึ่งในสมัยนั้น จึงมีเรื่องแปลก ๆ ขำ ๆ มาเล่าสู่กันฟังในภายหลังได้เสมอแม้แต่เรื่องเกี่ยวกับพระอาจารย์วันก็มีเช่นกัน กล่าวคือ ภิกษุสามเณรต่างก็ขุดหลุมหลบภัยกันตามคำแนะนำของทางราชการบ้านเมือง พระอาจารย์วัน ซึ่งขณะนั้นยังเป็นสามเณรก็ขุดหลุมหลบภัยกับเขาเช่นกัน แต่แทนที่จะขุดเป็นหลุมใหญ่เช่นคนอื่น ๆ กลับขุดเป็นหลุมเล็ก ๆ ลงไปได้เฉพาะคนเดียว วันหนึ่งขณะที่เครื่องบินกำลังบ่ายโฉมหน้าจะมาทิ้งระเบิดเช่นเคย เสียงเตือนภัยทางอากาศก็ดังกังวานขึ้น ประชาชนพลเมืองพระเณรต่างก็วิ่งเข้าที่หลบภัยกันจ้าละหวั่นด้วยความตกใจ พระสงฆ์บางองค์วิ่งไปลงหลุมของคนอื่นเลยถือโอกาสหลบอยู่เลยก็มีหลุมหลบภัยของสามเณรวันขณะที่ต่างคนต่างเอาตัวรอดนั้นปรากฏว่ามีพระสงฆ์โจนลงไปหลบภัยอยู่ก่อนแล้วสามองค์ สามเณรวันจึงลงไปอัดอยู่เป็นองค์ที่สี่ หลุมหลบภัยที่ทำไว้เฉพาะคนเดียวเมื่ออัดเข้าไปถึงสี่ ท่านผู้อ่านก็นึกภาพเอาเองก็แล้วกันว่าจะอยู่กันในสภาพเช่นไรที่ร้ายไปกว่านั้นบางองค์วิ่งเข้าไปในกอไผ่พอเครื่องบินกลับไปแล้วออกมาไม่ได้ ต้องร้อนถึงพระสงฆ์องค์อื่นต้องใช้มีดถางให้ออกมาก็มีสัญชาตญาณการหนีภัยโดยเฉพาะมรณภัยนั้น สัตว์ทุกหมู่เหล่ากลัวกันทั่วทุกชีวิต เพราะจะกลัวอะไรก็แล้วแต่ ย่อมมาสรุปรวมลงที่กลัวตายนั่นเอง
เมื่อเสร็จจากการสอบนักธรรมแล้ว พระสิงห์ ธนปาโล ที่เคยอยู่ด้วยกันกับท่านอาจารย์ยังได้ไปแวะเยี่ยม และชวนพระอาจารย์วัน ไปด้วย เพื่อไปศึกษาอบรมกับท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ซึ่งเป็นหัวหน้าใหญ่ฝ่ายกรรมฐาน แล้วในที่สุดพระอาจารย์วัน ได้ฝากตัวเป็นศิษย์กับพระอาจารย์เสาร์ ที่วัดป่าบ้านท่าฆ้องเหล็ก ซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองอุบลราชธานี ขณะที่ไปอยู่กับพระอาจารย์เสาร์ นั้นยังท่องหลักสูตรนักธรรมชั้นโทไปด้วย พระอาจารย์เสาร์ ได้กำชับว่าสามเณรที่มีอายุ 19 ปี ต้องท่องปาติโมกข์ให้ได้ จึงจะให้ไปเรียนนักธรรม พระอาจารย์วัน ก็ท่องปาติโมกข์อยู่ประมาณ 20 วัน จึงขึ้นใจ ต่อจากนั้นจึงกราบลาพระอาจารย์เสาร์ ไปเข้าเรียนนักธรรมต่อที่วัดพระแก้วรังสี อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีพระพิบูลสมณกิจ (เก้า) เป็นเจ้าอาวาส พระอาจารย์วัน อาศัยอยู่กับท่านพระครูบุณฑริกบรรหาร (ทองดำ) เมื่อถึงเวลาสอบนักธรรมต้องเดินทางไปสอบที่ กิ่งอำเภอบุณฑริก ซึ่งปัจจุบันทางราชการได้ยกขึ้นเป็นอำเภอบุณฑริกแล้ว พอเสร็จจากการสอบนักธรรมกลับไปที่อำเภอพิบูลมังสาหารได้ไม่กี่วันก็เป็นไข้มาเลเรีย เพราะในยุคนั้นไข้มาเลเรียชุกชุมมาก ยาควินินก็หาซื้อได้ยากเพราะอยู่ในระยะสงครามโลกครั้งที่ 2
ต่อจากนั้น พระสิงห์ ธนปาโลได้พาไปเยี่ยมญาติของท่านที่บ้านโนนยาง อำเภอยโสธร ระหว่างที่พักอยู่ราวป่าใกล้บ้านนั้นเอง พระสิงห์ได้ขอร้องพระอาจารย์วัน ให้บวชเป็นพระ โดยให้ญาติผู้ใหญ่ของพระสิงห์เป็นผู้จัดบริขาร ตามความรู้สึกของพระอาจารย์วัน ต้องการที่จะอุปสมบทเมื่ออายุ 25-26 ปี คือไม่ปรารถนาจะแก่พรรษากว่าเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน จึงเรียนความขัดข้องในใจของท่านเองต่อพระสิงห์ แต่พระสิงห์ไม่เห็นด้วย พระอาจารย์วัน จึงเสนอวิธีใหม่คือขอลาสิกขาไปเที่ยวสนุกก่อนประมาณ 15 วันจึงค่อยบวชเป็นพระ ฝ่ายพระสิงห์ท่านก็ไม่ยอมเช่นเคย ญาติพี่น้องทางบ้านก็ไม่ได้ข่าว
ผลสุดท้ายจึงต้องตัดสินใจบวชเป็นพระ สนองเจตนาดีของพระสิงห์ท่าน โดยเดินทางไปอุปสมบทที่วัดสร่างโศก (วัดศรีธรรมาราม ในปัจจุบัน)อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานีเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2485เวลา 16.10 น. โดยมี
พระครูจิตตวิโสธนาจารย์ เป็นพระอุปัชฌายะ
พระมหาคล้าย วิสารโท เป็นพระกรรมวาจาจารย์
บวชเสร็จแล้วกลับไปที่อยู่เดิม ต่อมาไม่นานนักก็ได้ทราบข่าวการมรณภาพของท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล จึงได้พากันเดินทางไปนมัสการศพของท่านที่วัดบูรพาราม จังหวัดอุบลราชธานี
ระหว่างเดือน 4 คณะของพระอาจารย์วัน ได้เดินทางกลับจังหวัดสกลนคร ขึ้นรถยนต์บ้าง เดินเท้าบ้าง ในระหว่างเดินทางนั้นต่างก็เป็นไข้จับสั่นกันทั่วหน้า เวลาไข้จะห่มผ้าหนาเท่าไรก็ไม่อุ่น ต้องนั่งชันเข่าก้มศีรษะลงหายใจให้กระทบหน้าอก จึงจะรู้สึกค่อยยังชั่วขึ้นบ้าง
พ.ศ. 2485 พระอาจารย์วัน พักจำพรรษาอยู่ที่วัดสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ในปีนั้นพระอาจารย์พรหม จิรปุญฺโญ มาพักจำพรรษาปกครองพระเณรพระอาจารย์วัน อุตฺตโม ได้พักอยู่กุฏิใกล้ท่านจึงได้มีโอกาสอุปัฏฐากและรับโอวาทจากท่าน วันหนึ่งพระอาจารย์พรหมถามท่านว่าจะเรียนไปถึงไหน พระอาจารย์วัน ก็กราบเรียนท่านว่า สำหรับฝ่ายปริยัติธรรมจะเรียนให้จบนักธรรมชั้นเอก ฝ่ายบาลีถ้าสอบได้ประโยค ป.ธ. 3 แล้วจะเรียนต่อให้ได้ถึงประโยค ป.ธ. 9 เพราะการเล่าเรียนของฝ่ายพระจัดหลักสูตรไว้ 2 แผนก นอกจากนี้เป็นการศึกษาเพิ่มเติมพิเศษพระอาจารย์พรหม จึงถามว่า ถ้าเรียนไม่ได้ตามความตั้งใจจะทำอย่างไร พระอาจารย์วัน ก็ยังยืนยันกับท่านพระอาจารย์พรหม ว่า จะเรียนให้สอบได้ปีละชั้น เพราะยังเชื่อมั่นในมันสมองของท่านเอง พระอาจารย์พรหมถามต่อไปอีกว่า เมื่อหยุดการเรียนแล้วจะทำอะไรต่อไป พระอาจารย์วันก็กราบเรียนต่อท่านว่าจะตั้งใจปฏิบัติเหมือนอย่างท่านอาจารย์ทุกประการ พระอาจารย์พรหมก็หัวเราะ
เมื่อออกพรรษาแล้วพระอาจารย์วัน ได้เดินทางไปรับใบคัดเลือกทหารที่อำเภอสว่างแดนดิน แล้วเดินทางลงไปสอบนักธรรมเอกที่กิ่งอำเภอบุณฑริกจังหวัดอุบลราชธานี สอบเสร็จแล้วได้ออกมาพักที่วัดภูเขาแก้วอำเภอพิบูลมังสาหาร ซึ่งที่นั่นท่านพระครูบุณฑริกได้ล้มป่วยเป็นไข้จับสั่นอย่างแรง ท่านจึงมอบภาระให้พระอาจารย์วันทำบัญชีนักธรรมแทนท่าน ทั้งยังให้เป็นกรรมการดำเนินการสอบนักธรรมแทนท่านด้วย เมื่อเสร็จธุระแล้วจึงเดินทางกลับสกลนครเพื่อคัดเลือกทหารในปี พ.ศ.2486 ครั้งนั้นการคัดเลือกทหารกระทำกัน 2 ครั้ง การคัดเลือกครั้งแรกพระอาจารย์วัน อยู่ในประเภทดีหนึ่งประเภทสอง ต่อเมื่อกัดเลือกครั้งที่ 2 จึงได้เอาใบประกาศนักธรรมชั้นโทไปขอยกเว้น
ในปีนั้นอาการป่วยเป็นไข้มาเลเรียของพระอาจารย์วัน ได้ทวีความรุนแรงขึ้น จึงจำเป็นต้องพักจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าคามวาสี บ้านตาลโกน อันเป็นมาตุภูมิ เพื่อรักษาสุขภาพ ก่อนเข้าพรรษาได้ถูกขอร้องไปเป็นครูสอนนักธรรมที่สำนักเรียนวัดสุทธาวาสและวัดชัยมงคลเพราะในสมัยนั้นหาพระที่มีภูมินักธรรมเอกได้ยากมาก แต่พระอาจารย์วัน ก็ไปไม่ได้เพราะสุขภาพไม่อำนวย อาการป่วยก็สามวันดีสี่วันร้าย ถึงกับมีอาการของความจำเสื่อมเป็นบางครั้ง ขณะที่ท่านพักจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าคามวาสี 2 พรรษานี้ ตามที่ได้ยินจากพระผู้ใกล้ชิดและจากบันทึกของท่านเอง ปรากฏว่าในระหว่างนั้น ท่านต้องต่อสู้กับความคิดของตนเองอย่างหนักที่สุดในชีวิตพรหมจรรย์ เพราะล่วงมาถึงขณะนี้ความรู้ก็มีพอที่จะไปเป็นตำรวจหรือเป็นอะไรได้หลายอย่าง สำหรับชีวิตทางฆราวาส อีกอย่างหนึ่งในขณะนั้นอายุท่านก็ยังน้อย คือมีอายุเพียง 22 ปีเท่านั้น ความคิดจึงโลดแล่นไม่ผิดอะไรกับวิหคที่โผผินอยู่ในอากาศ หาจุดหมายปลายทางได้ยากยิ่ง จิตของท่านจึงผันแปรไปตามอารมณ์ ถ้าจะเรียนบาลีต่อก็คงไปได้ไกล หรือจะตั้งโรงเรียนสอนนักธรรมก็จะเป็นกำลังของหมู่คณะได้ดีหรือจะตั้งใจออกประพฤติปฏิบัติทางกรรมฐานก็มีทางเลือกได้หลายทาง
จากบันทึกของท่านเองท่านมีความคิดอีกประการหนึ่งว่าการที่จะเรียนบาลีต่อ สุขภาพก็ไม่อำนวย และการเรียนบาลีท่านก็เคยเรียนมาแล้วแต่ครูสอนไม่จบแต่ทางด้านฆราวาส ท่านพิจารณาเห็นว่าเป็นบ่อนแห่งการทำความชั่วนานาประการ ผู้จะตั้งตัวเป็นฆราวาสอย่างสมบูรณ์มีน้อยมาก คิดดูแล้วชีวิตนี้คงทนไปได้ไม่นานเท่าไรก็ถึงวันตาย ความดีที่จะสร้างขึ้นแก่ตนมีน้อยที่สุด ครั้นหันมาพิจารณาทางเพศนักบวช ถ้าจะครองตนอยู่อย่างงู ๆ ปลา ๆ โดยไม่ถูกกิจของสมณเพศแล้วท่านก็ได้ว่าเป็นฆราวาสเสียดีกว่า แต่เมื่อคิดถึงประวัติของพระอริยเจ้าทั้งหลายในปางก่อน สมัยพุทธกาลผู้บวชเข้ามาล้วนแล้วแต่บวชเพื่อปฏิบัติตนให้พ้นไปจากวัฏทุกข์ทั้งสิ้น ในที่สุดท่านจึงตัดสินใจศึกษาหาทางปฏิบัติต่อไป
สมัยศึกษาทางปฏิบัติ
ระหว่างเดือน 3 พระอาจารย์วัน ได้ไปบ้านม่วงไข่ คือบ้านที่ไปมอบตัวเป็นนาคครั้งแรก ท่านได้ไปชวนพระที่คุ้นเคยกันคือ พระบานิต สุรปญฺโญ (ต่อมาเป็นพระครูญาณวิจิตร) เพื่อออกไปเที่ยววิเวกเจริญสมณธรรม พระบานิตก็มีความยินดีด้วยทุกประการ หลายวันต่อมาพระบานิตก็ได้มาหาพระอาจารย์วัน ที่วัดป่าคามวาสีแล้วออกเดินทางไปด้วยกันแต่เพียง 2 รูป โดยไม่ยอมให้ใครติดตามไปด้วยเพราะกลัวว่าจะทำให้เกิดความยุ่งยากในภายหลัง ดังนั้นจึงต้องเลือกผู้ที่มีอัธยาศัยเด็ดเดี่ยว อดทนต่อความทุกข์ยากลำบากต่าง ๆ ที่จะเกิดเฉพาะหน้าทุกสภาวะ เนื่องจากเป็นการไปโดยไม่มีกำหนดกลับ ทั้งยังไม่กำหนดสถานที่ไปอันแน่นอนด้วย
ครั้งแรกออกเดินทางไปพักที่วัดโชติการาม บ้านประทุมวาปี วัดนี้อยู่ไม่ไกลจากวัดถ้ำอภัยดำรงธรรมที่พระอาจารย์วัน สร้างขึ้นภายหลังมากนัก สมัยนั้นพระอาจารย์สีลา เทวมิตฺโต ซึ่งเคยอยู่ร่วมกันกับพระอาจารย์วันมาก่อน ได้ถามถึงที่ที่จะไป แต่ท่านก็บอกไม่ได้ พักที่วัดนั้น 1 คืน รุ่งเช้าฉันเสร็จแล้วก็ออกเดินทางไปพักที่วัดธาตุฝุ่น บ้านคำเจริญ พักอยู่ที่นั้นได้ 3-4 คืนจึงปรึกษาทางที่จะไปข้างหน้ากับพระบานิตที่มาด้วยกัน แต่ระหว่างนั้นสงครามอินโดจีนตามชายแดนยังไม่สงบดี จึงตัดสินใจเดินทางกลับมาพักที่วัดโชติการามอีก 1 คืน แล้วออกเดินทางไปแวะพักที่ภูลอมข้าว บ้านนาเชือก ในวันต่อมาลุถึงวัดป่าบ้านหนองผือ หรือปัจจุบันเรียกว่า วัดป่าภูริทัตถิราวาส ตำบลนาใน อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร ที่วัดนี้ท่านพระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร เป็นประธาน พระแสง และสามเณรบุญจันทร์ พร้อมทั้งชาวบ้านทำลังทำสถานที่คอยรับท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต ซึ่งชาวบ้านบางส่วนกำลังไปรับท่านอยู่ และจะมาถึงในไม่กี่วันนี้ จึงนับเป็นโชคลาภอันยิ่งใหญ่ เพราะพระอาจารย์วัน ได้ตั้งประณิธานไว้ว่าจะพยายามถวายตัวเป็นอุปัฏฐากท่านเพื่อเป็นบุญนิธิแก่ตน ปณิธานนี้ พระอาจารย์วัน ได้เคยปรารภกับเพื่อนพระภิกษุเป็นเวลาหลายปีล่วงมาแล้ว เมื่อพักช่วยทำงานอยู่ที่นั้นเป็นเวลา 3-4 คืน พระอาจารย์หลุย ได้ปรารภกับพระอาจารย์วันว่า สำหรับท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่นนั้น เมื่อท่านไปพักสถานที่ใดถ้ามีพระมากท่านมักจะพักอยู่ไม่นานท่านพระอาจารย์หลุย จึงบอกให้พระอาจารย์วัน และพระบานิต ที่มาใหม่ออกไปพักเสียที่อื่น เรื่องนี้จึงเป็นความผิดหวังของพระอาจารย์วัน และพระบานิตเป็นอย่างมาก รุ่งเช้าฉันเสร็จพระอาจารย์วัน กับพระบานิตจึงออกเดินทางไปพักที่บ้านนาใน เมื่อฉันจังหันเสร็จแล้วก็กลับไปช่วยงานท่านพระอาจารย์หลุย ทุก ๆ วัน จนถึงวันที่ท่านพระอาจารย์มั่นมาถึง ครั้นท่านมาถึงแล้วก็ได้ไปฟังคำอบรมจากท่านเสมอ
ต่อมาท่านพระอาจารย์มั่น ได้รับฟังจากคณะอุบาสกอุบาสิกาว่าทางเจ้าคณะอำเภอพรรณนานิคมเคยหวงห้ามไม่ให้พระทางวัดป่าไปพักในวัดนั้น เรื่องนี้คล้าย ๆ กับว่าบุญได้ช่วยพระอาจารย์วัน กับพระบานิต เพราะท่านพระอาจารย์มั่น ได้จัดให้ พระแสงและอุบาสกอีกคนหนึ่งชื่ออาจารย์เสนอไปรับเอาพระอาจารย์วัน และพระบานิต เข้าไปอยู่ด้วย พระอาจารย์วันก็ได้ถือนิสัยอาศัยอยู่กับท่านมาเรื่อย ๆ ต่อมาพระบานิตเป็นห่วงเรื่องการสอบนักธรรมจึงได้กลับไปบ้านม่วงไข่พระอาจารย์วัน กับพระบานิต จึงจากกันตั้งแต่วันนั้น
พ.ศ. 2488 พระอาจารย์วัน ได้อยู่จำพรรษาร่วมกับพระอาจารย์มั่น ที่วัดภูริทัตถิราวาส บ้านหนองผือ การอยู่ก็อยู่ด้วยการหวั่นวิตกในตนอยู่เสมอจนแทบหายใจไม่เต็มปอด เพราะความกลัวในท่านอาจารย์ใหญ่มีมากเหลือเกิน ไม่ทราบว่าท่านจะขับไล่ให้ออกจากสำนักของท่านในวันไหน เบื้องต้นพระอาจารย์วัน ต้องอาศัยคำแนะนำจากพระคำไพ สุสิกฺขิโต ซึ่งเป็นผู้ติดตามอุปัฏฐากท่านพระอาจารย์มั่นมาแต่บ้านห้วยแคนและพระอาจารย์มนูในการทำข้อวัตรอุปัฏฐากครูบาอาจารย์นั้น พระอาจารย์วัน ได้เคยฝึกมาบ้างแล้วตั้งแต่ครั้งยังอยู่กับพระอาจารย์วังผู้เป็นอาจารย์ดั้งเดิม แต่ถึงกระนั้นก็ยังงงอยู่มาก เพราะการปฏิบัติพระอาจารย์ผู้ใหญ่กับการปฏิบัติพระอาจารย์ผู้น้อยย่อมต่างกันสำหรับพระอาจารย์ผู้ใหญ่ สิ่งที่จะพึงปฏิบัติต่อท่านมีมาก ต้องสังเกตไปศึกษาไป และอาศัยเพื่อนที่เคยอุปัฎฐากท่านมาก่อน ระหว่างก่อนเข้าพรรษา มีพระเณรเข้ามาหาท่านพระอาจารย์มั่นแทบทุกวัน เมื่อมารวมกันมากเข้า ท่านก็บอกให้ขยายออกไป เหตุการณ์เป็นอยู่อย่างนี้เสมอ
วันหนึ่งเหตุการณ์ที่หวั่นวิตกได้เกิดขึ้นแก่พระอาจารย์วัน และพระภิกษุสามเณรอื่น ๆ กล่าวคือเมื่อท่านให้การอบรมแล้วท่านสั่งให้ขยายกันออกไป ไม่ควรอยู่รวมกันมาก ๆ เพราะไม่ได้ความวิเวกการบำเพ็ญเพียรก็ไม่สะดวก มาอยู่กันมาก ๆ ก็เหมือนกับหมู่แร้งหมู่กาที่อึงคะนึงรุมกินซากสัตว์ พอรุ่งเช้าฉันจังหันเสร็จท่านได้ถามพระอาจารย์หลุยว่า ใครบ้างจะออกไปวันนี้ พระอาจารย์หลุย ก็รายงานให้ท่านทราบว่าองค์นั้น ๆ จะออกไปโดยมีรายชื่อพระอาจารย์วัน อยู่ด้วยองค์หนึ่ง ครั้งนี้ทำให้พระอาจารย์วัน เกือบสิ้นท่าเหมือนกัน เพราะพระอาจารย์วัน ก็ยังไม่ได้ตกลงอะไรเลยกับพระอาจารย์หลุย ระหว่างนั้นพระคำไพได้ถูกออกไปแล้ว ได้พระอาจารย์เนตร กนฺตสีโล มาทำหน้าที่อุปัฏฐากแทน ขณะนั้นพระอาจารย์มั่นกำลังไปห้องน้ำอยู่ พระอาจารย์วัน จึงปรึกษากับพระอาจารย์เนตร ท่านให้ความเห็นว่า ควรกราบเรียนท่านอาจารย์ใหญ่ตามความประสงค์ของเรานั่นแหละดี เมื่อมีผู้ให้กำลังใจอย่างนี้ ถึงแม้ว่าพระอาจารย์วัน จะมีความสะทกสะท้านเกรงกลัวในท่านสักปานใดก็ต้องกล้าเพราะความจำเป็น
ดังนั้นเมื่อพระอาจารย์มั่นกลับออกมาจากห้องน้ำ นั่งลงบนอาสนะเรียบร้อยแล้ว พระอาจารย์วัน จึงเข้าไปกราบเรียนให้ท่านทราบถึงความจริงใจทุกประการ ท่านพระอาจารย์มั่นนิ่งอยู่ครู่หนึ่งจึงพูดว่า ตามใจของคุณ เมื่อพระอาจารย์วันได้รับมธุรสอย่างนี้แล้วก็บังเกิดความปิติยินดีเป็นล้นพ้น ท่านมีความปลื้มใจอย่างสุดซึ้ง ไม่ผิดอะไรกับได้ถอนดาบที่เสียบแทงอยู่ที่อกออกได้ฉันนั้น วันหนึ่งเวลากลางคืน พระอาจารย์วัน กับพระอาจารย์เนตร ได้เข้านวดถวายท่านพระอาจารย์มั่น การถวายการนวดได้ล่วงเลยเวลาไปจนถึงตี 3 ท่านพระอาจารย์มั่นจึงเข้าห้อง ท่านจะทดลองน้ำใจของพระอาจารย์วันหรืออย่างไรไม่ทราบ แต่พระอาจารย์วันก็มีความยินดีต่อการอุปัฏฐาก อย่างไรก็ดีในวันต่อมาก็เป็นการนวดธรรมดา คงแปลกไปแต่ดังกล่าวเพียงวันเดียวเท่านั้น
ปีนั้น พระที่อยู่จำพรรษากับท่านพระอาจารย์มั่น ที่วัดป่าบ้านหนองผือ มีพระอาจารย์หลุย พระอาจารย์มนู พระอาจารย์
1. ทำข้อวัตรอุปัฏฐากพระอาจารย์มั่น เพื่อช่วยพระอาจารย์เนตรอีกแรงหนึ่ง
2. รักษาความสะอาดและจัดแจงศาลาโรงฉัน
3. ตักน้ำ
4. ดูแลน้ำร้อน
5. ควบคุมดูแลสิ่งของที่จะจัดถวายครูบาอาจารย์
6. ต้อนรับแขกที่มาหาครูบาอาจารย์
ภาระทั้งหลายเหล่านี้ถึงแม้ไม่ใช่เป็นภาระของพระอาจารย์วัน แต่ผู้เดียว แต่พระอาจารย์วัน ก็เป็นผู้รับทำมากกว่าเพื่อน โดยเฉพาะเรื่องการอยู่ปฏิบัติอุปัฏฐากพระอาจารย์มั่นนั้น พระอาจารย์วันได้อาศัยท่านพระอาจารย์มนู พระอาจารย์มหาบัว และพระอาจารย์เนตร เป็นผู้แนะนำอยู่ตลอดเวลาจึงไม่บังเกิดความผิดพลาด ซึ่งต่อมาต่างก็ได้อาศัยซึ่งกันและกันในภายหลังมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน พระอาจารย์อ่อนสา พระอาจารย์เนตร กนฺตสีโล พระอาจารย์วัน อุตตโม สามเณรดวง และผ้าขาวเถิง เมื่อได้อธิษฐานพรรษาแล้วพระอาจารย์วัน เกิดความมั่นใจขึ้นมาเป็นอันมาก บรรดาพระที่จำพรรษาด้วยกันในปีนั้นพระอาจารย์วัน อุตฺตโม เป็นผู้มีอายุพรรษาน้อยกว่าเพื่อน ฉะนั้นพระอาจารย์วัน จึงต้องทำหน้าที่อย่างหนักทุกประการ คือ
ความหวังต่อการศึกษาอบรม
พระอาจารย์วัน ได้อบรมศึกษาจากท่านอาจารย์ใหญ่ ท่านตั้งใจศึกษาทุกวิถีทาง โดยตั้งใจประกอบความเพียรไปพร้อม ๆ กันด้วย เคลือบแคลงสงสัยอะไร ไม่เข้าใจอะไร ก็ไต่ถามท่านเสมอมา ทำให้เกิดความเชื่อมั่น ความเลื่อมใสเพิ่มทวียิ่งขึ้น ทั้งยังเกิดความซาบซึ้งในใจอย่างน่าอัศจรรย์ เป็นอันว่าความปรารถนาของพระอาจารย์วัน ที่ต้องการอยากอยู่ร่วมสำนักกับท่านอาจารย์ผู้ใหญ่และความหวังที่จะได้อุปัฏฐากพระอาจารย์ใหญ่ก็ได้สมความปรารถนา แต่ภายในพรรษาต้องเป็นผู้ช่วยพระอาจารย์เนตรไปก่อนเพราะเป็นผู้มาใหม่ เมื่อออกพรรษาแล้วพระอาจารย์เนตรได้ลาไปวิเวกที่อื่น จึงได้มอบหน้าที่อุปัฏฐากให้พระอาจารย์วันทำแทน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า พระอาจารย์วัน จะทำรูปเดียว เพราะการปฏิบัติอุปัฏฐากพระอาจารย์ใหญ่ต้องมีผู้ช่วยกันหลายรูป ส่วนการปฏิบัติทำอะไรบ้าง ผู้ปฏิบัติอุปัฎฐากควรวางตัวอย่างไร ทั้งทางด้านจิตใจ ทางกายทางวาจา และมารยาทอย่างอื่น ๆ จะศึกษารายละเอียดได้จากปันทึกส่วนตัวซึ่งพระอาจารย์วัน ได้เขียนไว้อย่างละเอียดน่าสนใจศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
การทำหน้าที่อุปัฏฐากนั้นไม่ค่อยมีเวลาออกไปบำเพ็ญเพียรทางอื่น การหาตัวแทนก็ยากยิ่ง ฉะนั้นการผลัดเปลี่ยนหน้าที่อุปัฏฐากจึงต้องกราบเรียนให้ท่านทราบก่อนเมื่อท่านอนุญาตแล้วก็ต้องมอบหมายหน้าที่เป็นกิจจะลักษณะ เมื่อพระคำไพ สุสิกฺขิโต ที่เคยเป็นอุปัฏฐากมาก่อพระอาจารย์วัน ไปจำพรรษาที่อื่นกลับมา พระอาจารย์วัน ได้พูดตกลงกันเรียบร้อยแล้วจึงเข้าไปกราบเรียนท่านอาจารย์ใหญ่ในเรื่องการผลัดเปลี่ยนกันออกไปบำเพ็ญเพียร ท่านอาจารย์ใหญ่ก็ไม่ขัดข้อง พระอาจารย์วัน จึงมอบหมายหน้าที่ต่าง ๆ ให้แล้วจึงเข้าไปทำขมาโทษกราบลาท่าน การออกไปครั้งนี้เป็นการไปเพื่อฝึกตนให้มีความกล้าหาญด้วยการพึ่งตนเอง จึงออกไปรูปเดียวโดยไปพักที่ราวป่าใกล้บ้านบัว ระหว่างที่พักอยู่ที่นั้น วันหนึ่งตอนหัวค่ำได้เดินจงกรมพอสมควรแล้วก็ขึ้นไปพักเพื่อนั่งสมาธิต่อ ปรากฏว่าท่านได้ปวดท้องอย่างหนักถึงขนาดท้องเดินอย่างแรงและอาเจียนไปด้วยในขณะเดียวกัน ถ่ายได้เพียง 3 ครั้ง เกิดหมดกำลัง ร่างกายมีเหงื่อออกโชกเปียกหมดทั้งตัว จึงพยายามรวบรวมสติระลึกถึงธรรม ว่าถึงคราวที่จะพึ่งตัวเองจริง ๆ เพราะเพื่อนฝูงญาติโยมในที่นั้นไม่มีเลย ท่านได้หยิบยาขี้ผึ้งตราพระมาฉัน แต่ไม่ได้ผล จึงเอาเกลือที่เหลือจากฉันมะขามป้อม ที่เอามาจากท่านพระอาจารย์มหาบัว มาทดลองฉันดู ปรากฏว่าอาการถ่ายและอาเจียนได้หายไปอย่างปลิดทิ้ง ยังเหลืออยู่แต่ความอ่อนเพลียเท่านั้น รุ่งเช้าพอเข้าไปบิณฑบาตได้แต่ไม่บอกให้ผู้ใดรู้เลย
วันต่อมาอีกเป็นเวลากลางวัน ขณะที่พระอาจารย์วัน เข้าไปเดินจงกรมอยู่ในป่าอันรกทึบ ไกลจากที่พักประมาณ 3 เส้น มีหญิงสาวคนหนึ่งซึ่งเคยมาใส่บาตรทุกวัน ได้ร้องรำเข้าไปสู่ที่พักของพระอาจารย์วัน และไปนั่งร้องรำฮัมเพลงเบา ๆ อยู่ที่ฉันข้าวของท่าน พระอาจารย์วันได้รวบรวมสมาธิเพ่งดูทางจงกรมอยู่ที่เดียวแทบไม่หายใจ หญิงสาวคนนี้ร้องรำอยู่ ณ ที่พักของท่านเกือบชั่วโมง สังเกตถึงพฤติการณ์ของเธอแล้วย่อมเป็นไปในทางเกิดอันตรายแก่พรหมจรรย์ได้มาก แต่เพราะกำลังใจของท่านแน่วแน่กว่า ในที่สุดหญิงสาวผู้นั้นก็เดินออกไปอย่างเงียบ ๆ
เหตุการณ์ครั้งนั้นพระอาจารย์วัน อดภูมิใจในตัวเองไม่ได้ เพราะสามารถรักษาพรหมจรรย์ให้ผ่านพ้นจากอันตรายไปได้ตลอดรอดฝั่ง พุทธภาษิตที่ได้เล่าเรียนมาว่า อิตฺถี มลํ พฺรหฺมจริยสฺส ซึ่งแปลว่าหญิงเป็นมลทินแห่งพรหมจรรย์นั้น เป็นพุทธภาษิตที่ท่านตระหนักและยึดมั่นตลอดมาตราบชั่วอายุขัย
เป็นอันว่าสมความตั้งใจในการออกไปวิเวกเพื่อฝึกความกล้าและพึ่งตนเอง หากเป็นพระที่ไม่มั่นคงคงเอาตัวไม่รอดอย่างแน่นอน เมื่อพระอาจารย์วัน พิจารณาดูแล้วเห็นว่าสถานที่นั้นเสี่ยงอันตรายมากจึงทนอยู่เพียง 9 คืน แล้วเดินทางต่อไป แต่หาที่ใดก็ไม่เหมาะจึงไปร่วมกับท่านพระอาจารย์กรรมฐาน 40 ห้องเป็นน้องของอานาปาณะ ดังนี้มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ที่ดงใกล้กับบ้านงิ้ว ต่อมาเมื่อใกล้วันวิสาขบูชา จึงได้เดินทางกลับวัดป่าบ้านหนองผือเพื่อเข้าปฏิบัติพระอาจารย์มั่นตามเดิม พระอาจารย์มั่น ได้ถามถึงการไปวิเวกของท่าน ท่านก็ได้กราบเรียนไปตามความเป็นจริง พระอาจารย์มั่น จึงให้กำลังใจ และให้โอวาทต่อไปว่า การเจริญอานาปาณสติก็เป็นทางที่ดีเหมือนกัน เพราะการเจริญกรรมฐานแต่ละอย่าง เมื่อจิตจะรวมลงเป็นสมาธินั้น ย่อมน้อมลงสู่คลองอานาปาณสติเสียก่อนจึงรวมลงเป็นสมาธิ พระอาจารย์ทั้งหลายได้กล่าวไว้ว่า
เรื่องการใช้กรรมฐานอะไรเป็นบริกรรม พระอาจารย์วัน ไม่ได้บอกท่านแต่ท่านรู้เรื่องภายในจิตใจของพระอาจารย์วันตลอด ดังนั้นการที่ได้อยู่ใกล้ชิดพระอาจารย์ที่สำคัญ จึงเป็นคุณประโยชน์แกลูกศิษย์เหลือที่จะพรรณนา ในปีต่อมา พระอาจารย์วัน ก็ได้กราบลาพระอาจารย์มั่นออกไปบำเพ็ญอีก ออกไปคราวนี้มีสามเณรเพ็งติดตามไปด้วย ไปพักเสนาสนะป่าใกล้บ้านห้วยบุ่น ตั้งใจว่า พักผ่อนเอากำลังสุขภาพพอสมควรแล้วก็จะเร่งความเพียรอย่างใจหวัง เมื่อไม่ได้อุปัฏฐากครูบาอาจารย์ภาระทุกอย่างก็มีน้อย ครั้นออกไปพักได้เพียงคืนที่ 7 ท่านก็ฝันว่าได้เข้าปฏิบัติพระอาจารย์มั่นเช่นเคยปฏิบัติมา ในฝันปรากฏว่าท่านนอนอยู่บนเตียงแห่งหนึ่งซึ่งมองดูแล้วท่านไม่ค่อยสบาย แต่ไม่ทราบว่าท่านอาพาธด้วยโรคอะไร เพราะตั้งแต่พระอาจารย์วันได้เข้าอยู่ใกล้ชิดท่านพระอาจารย์มั่น เวลานอนหลับไปทุกครั้งจะต้องฝันเกี่ยวกับท่านเสมอ ถ้าพระอาจารย์มั่นไม่สบายจะต้องฝันเกี่ยวถึงความไม่สบายของท่านทุกครั้ง ฉะนั้นคืนวันนั้น เมื่อพระอาจารย์วันตื่นนอนขึ้นแล้วจึงคิดวิตกอยู่ แต่ไม่พูดให้ใครฟัง
พอฉันจังหันจวนจะเสร็จ โยมพุทธผู้อุปัฏฐากใกล้ชิดพระอาจารย์ใหญ่ พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ่ก็ไปถึงพระอาจารย์วัน ก็รีบถามด้วยความเป็นห่วงอยากจะทราบความเป็นไปของท่านอาจารย์ใหญ่ โยมพุทธก็ตอบว่า ท่านทองคำเข้ามาบิณฑบาตถึงที่บ้านแจ้งให้กระผมตามครูบากลับไป ท่านอาจารย์ป่วยเมื่อคืนนี้ไม่ทราบว่าเป็นโรคอะไร หนักเบาอย่างไรก็ไม่ทราบเพราะแกรีบร้อนเดินทางมา พอฉันเสร็จพระอาจารย์วัน ก็รีบเดินทางกลับไปหาท่านอาจารย์ใหญ่ เมื่อไปถึงแล้วเห็นอาการของท่านหนัก พระอาจารย์วันจึงตัดสินใจอยู่ปฏิบัติท่านต่อไป ได้จัดให้คนไปนำเอาบริขารจากที่พักมาให้ จึงไม่มีโอกาสออกไปวิเวกอีก
พระอาจารย์วัน ได้อยู่อุปัฏฐากพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต จนถึงวันมรณภาพ และฌาปนกิจเสร็จ รวมเวลาที่ได้อยู่อุปัฏฐากจนถึงวันที่ท่านอาจารย์5 ปี นับว่าได้อยู่อุปัฏฐากยาวนาน เพราะพระอาจารย์มั่นมักไม่ได้อยู่จำพรรษาในสถานที่ใดติดต่อกันนานนักเพราะท่านเป็นนักปฏิบัติ จึงเปลี่ยนสถานที่บำเพ็ญไปเรื่อย ๆ ใหญ่มรณภาพ เป็นเวลา
พ.ศ. 2493 หลังจากทำฌาปนกิจ พระอาจารย์ใหญ่เสร็จแล้วท่านได้กลับไปจำพรรษาที่วัดภูริทัตถิราวาส หรือวัดป่าบ้านหนองผืออีกเพื่อสนองพระคุณของครูบาอาจารย์และฉลองศรัทธาของญาติโยมที่ได้สูญเสียร่มโพธิ์ร่มไทรที่เขาเคารพบูชาอย่างสูงสุด เมื่อออกพรรษาแล้ว พระอาจารย์วันก็ได้แสวงหาที่วิเวกไปในที่ต่าง ๆ ตามปฏิปทาของพระธุดงค์ เพราะการเที่ยวธุดงค์หรือออกวิเวกในสมัยนั้นยังไม่ลำบากนัก เนื่องจากบ้านเมืองยังมีความสงบ จะไปวิเวกในสถานที่ใด ภูเขาลูกไหนก็ยังไปได้ พอจวนจะเข้าพรรษาจึงแสวงหาที่จำพรรษาที่เห็นว่าเหมาะสมแก่การบำเพ็ญสมณธรรมสถานที่ดังกล่าวประกอบไปด้วยสัปปายะ 4 คือ
1. บุคคลเป็นที่สบาย ไม่เป็นมิจฉาทิฐิ มีศรัทธาพอที่จะอาศัยบิณฑบาตได้ ใฝ่ใจในการประพฤติปฏิบัติ
2. เสนาสนะที่อยู่อาศัยเป็นที่สบาย พออาศัยเป็นที่บำเพ็ญเพียรกันฝนบังแดดได้
3. อาหารที่ชาวบ้านบริโภคเองและที่เขาถวายไม่เป็นของแสลงโรค คำว่า อาหารสัปปายะ มิได้หมายความว่า เป็นสถานที่มีอาหารเหลือเฟือ คือมีฉันพอเลี้ยงอัตภาพไปวัน ๆ เท่านั้น
4. อากาศเป็นที่สบาย เพราะสถานที่บางแห่งในระหว่างฤดูฝน จะทำให้เกิดไข้ซึ่งจะเป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการบำเพ็ญสมณธรรม
พ.ศ. 2494 พระอาจารย์วัน จึงเปลี่ยนสถานที่ไปจำพรรษาที่วัดป่าพระสถิต อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
พ.ศ. 2495 กลับมาจำพรรษาที่วัดป่าคามวาสี ซึ่งเป็นมาตุภูมิ ในระหว่างนั้นพระอาจารย์เทสก์หรือในปัจจุบันคือ พระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์ และหมู่คณะหลายรูปลงไปจำพรรษาที่ภาคใต้ พระอาจารย์วัน จึงติดตามลงไปด้วยเพราะมีความเคารพเลื่อมใสในพระอาจารย์เทสก์เป็นทุนเดิมอยู่แล้วโดยได้จำพรรษาที่วัดเหล่านี้คือ
พ.ศ. 2496 จำพรรษาที่วัดราษฎร์โยธี บ้านโคกกลอย ตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
พ.ศ. 2497 จำพรรษาที่วัดเจริญสมณกิจ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
พ.ศ. 2498 จำพรรษาที่วัดเจริญสมณกิจ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
พ.ศ. 2499 จำพรรษาที่วัดเจริญสมณกิจ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
พ.ศ. 2500 จำพรรษาที่วัดเจริญสมณกิจ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
พระอาจารย์วัน คิดทบทวนถึงผลได้ผลเสีย ในระหว่างที่จำพรรษาอยู่ที่ภูเก็ต-พังงา เป็นเวลา 5 พรรษา คิดเห็นว่าพุทธบริษัทอุบาสกอุบาสิกา เป็นผู้มีศรัทธา ให้ทานการบริจาคดี อุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสามเณรดี แต่มีผู้ออกบวชน้อยมาก ถึงออกบวชก็อยู่ได้ไม่นานเพราะติดข้องอยู่ในทรัพย์สมบัติ เนื่องจากสองจังหวัดดังกล่าวมีฐานะทางเศรษฐกิจดี การนิยมบวชจึงมีน้อย ขาดศาสนทายาทผู้สืบทอด โดยเฉพาะบุคคลในท้องถิ่น พูดถึงความดำรงมั่นของศาสนาก็คือผู้สืบทอดโดยเฉพาะนักบวช ถ้าขาดผู้บวชแล้วก็ทำให้ขาดบริษัทภายใน เรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญในการเผยแพร่พระศาลนา และอีกเรื่องหนึ่งก็คือภูมิอากาศทางภาคใต้ ฤดูกาลไม่อำนวยในการออกรุกขมูล เพราะฝนตกบ่อย ขัดข้องในการที่พระจะออกไปวิเวก ไม่เหมือนทางภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคเหนือ ซึ่งฤดูกาลต่าง ๆ แน่นอน พระอาจารย์วัน ดำริถึงเหตุ 2 ประการ ดังกล่าวแล้วจึงอำลาอุบาสกอุบาสิกาชาวภูเก็ต-พังงาที่อุปถัมภ์บำรุง เดินทางกลับมาตุภูมิ
พระอาจารย์วันเดินทางจากภาคใต้ วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 ถึงวัดคามวาสี ตอนบ่าย4 โมงเศษ ของวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 พักอยู่ไม่นานพวกญาติใกล้ชิดได้มาปรารภถึงเรื่องทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ตาย และรื้อบ้านมาทำกุฎีถวายวัดคามวาสี เสร็จแล้วไปพักที่วัดสุวรรณาราม (วัดพุฒารามปัจจุบัน)
วันที่ 14 เมษายน เดินทางไปวิเวกที่ถ้ำตีนเป็ด พักอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 23 วัน ต่อมาทางญาติโยม บ้านดำตานา ได้อาราธนานิมนต์ให้ท่านไปจำพรรษาที่วัดสุวรรณาราม หรือวัดพุฒาราม ใน พ.ศ. 2501 -2503 เนื่องจากพระอาจารย์วัน อยู่วัดที่เป็นพื้นราบไม่ค่อยสบายเกี่ยวกับสุขภาพ ท่านจึงดำริหาที่อยู่บนภูเขาหรือเชิงเขา ประจวบกับในขณะนั้นพระอาจารย์สีลา เทวมิตฺโต ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดโชติการาม บ้านหนองบัว-โพนสวาง มรณภาพลง เมื่อจัดการฌาปนกิจแล้วญาติโยมชาวบ้านหนองบัว-โพนสวาง ซึ่งมีกำนันตา แสงลี เป็นประธาน จึงนิมนต์ให้พระอาจารย์วัน ขึ้นไปเลือกดูสถานที่เมื่อวันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2503 ตรงกับแรม 2 ค่ำ เดือน 12
พระอาจารย์วัน พร้อมด้วยหลวงพ่อม่าน พระอาจารย์เต็ม หลวงพ่อใคร หลวงพ่ออุสาห์ พร้อมด้วยญาติโยมบ้านประทุมวาปี-โพนสวาง อีกบางคนได้ขึ้นไป เลือกดูสถานที่ ในที่สุดก็เห็นว่า บริเวณเหล่าสร้างแก้วเหมาะสมเป็นที่บำเพ็ญสมณธรรมกว่าแห่งอื่น พระอาจารย์วัน จึงได้ถามกำนันตาและชาวบ้านถึงเรื่องที่ดิน ได้รับแจ้งว่าเป็นที่ดินสงวนไว้เป็นที่พักสงฆ์ เรียกว่าหวายสะนอย โดยที่ดินบริเวณนี้เคยมีครูบาอาจารย์ฝ่ายกรรมฐานได้มาพักบำเพ็ญบ่อย ๆ เช่นพระอาจารย์ขาว อนาลโยก็เคยมาพักจำพรรษา เมื่อไม่มีความขัดข้องเรื่องที่ดิน พระอาจารย์วัน พร้อมด้วยหมู่คณะ 8 รูป จึงได้เตรียมบริขารขึ้นไปพักที่เหล่าสร้างแก้วเมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน 2503 ตรงกับแรม 3 ค่ำ เดือน 12 โดยมีกำนันและชาวบ้านติดตามไปทำที่พักชั่วคราวให้ น่าสังเกตว่าอาณาบริเวณหวายสะนอยและภูถ้ำพวงเคยเป็นสถานที่ที่พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เคยไปพักบำเพ็ญระหว่าง พ.ศ. 2465-2466 มาแล้ว ซึ่งครั้งนั้นพระคุณท่านทั้งสองได้เทศนาอบรมให้ชาวบ้านเลิกการนับถือภูตผีปีศาจมาจนกระทั่งปัจจุบัน
สำหรับถ้ำอภัยดำรงธรรม ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ถ้ำพ่อคำพานั้นเป็นถ้ำเล็กๆ เมื่อพระอาจารย์วัน ไปพบเข้าก็เห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะที่จะปรับปรุงต่อไปในอนาคต ปรึกษากำนันและชาวบ้านดูแล้วต่างก็เห็นชอบด้วย ท่านจึงเปลี่ยนชื่อถ้ำพ่อคำพาไปเป็นถ้ำอภัยดำรงธรรม ด้วยมูลเหตุ 2 ประการคือ
1. พระอาจารย์วันอยู่ตามสถานที่เป็นพื้นราบมักไม่ค่อยสบายทางสุขภาพ ฉันยาก็ไม่ค่อยได้ผล ถ้าได้พักอยู่บนภูเขาที่มีอากาศปลอดโปร่งจะได้รับความผาสุกทางด้านสุขภาพยิ่งกว่า เมื่อพระอาจารย์วันดำริจะขึ้นไปอยู่บนภูเขา ทางฝ่ายบริหารการคณะสงฆ์ก็ไม่ขัดข้องให้อภัย และทางฝ่ายบ้านเมืองก็ไม่ชัดข้องให้อภัย
2. สถานที่ดังกล่าวมีสัตว์ป่าหลายจำพวก ซึ่งเป็นธรรมดาของพระต้องเจริญเมตตาต่อสัตว์ทุกชีวิต ไม่เลือกว่ามนุษย์หรือสัตว์ดิรัจฉาน พระอาจารย์วัน จึงบอกกล่าวไม่ให้ผู้ใดมาทำร้ายสัตว์ที่อาศัยอยู่บริเวณสถานแห่งนี้ เป็นการให้อภัยแก่ชีวิตสัตว์ และตั้งชื่อถ้ำเสียใหม่ว่า ถ้ำอภัย และอีกประการหนึ่งท่านดำริด้วยว่าหากอำนาจแห่งพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเข้าไปประดิษฐานอยู่ในจิตของสรรพสัตว์แล้วโลกนี้ย่อมจะมีแต่ความร่มเย็นเป็นสุขชั่วนิรันดร์ พระอาจารย์วัน จึงเพิ่มคำว่า ดำรงธรรม ต่อท้ายรวมกันเข้าเป็น ถ้ำอภัยดำรงธรรม แต่คนส่วนมากชอบเรียกตามนิยมว่า วัดดอย เพราะอยู่บนภูเขา พูดถึงความต่อเนื่องของสถานที่ ถ้ำอภัยดำรงธรรม อยู่ในเขตหวายสะนอย ๆ อยู่ในเขตถ้ำพวง ๆ อยู่ในอาณาบริเวณของภูเหล็ก และภูเหล็กรวมอยู่ในเทือกเขาแห่งภูพาน
ความมุ่งหมายในการมาอยู่ถ้ำอภัยดำรงธรรม
พระอาจารย์วันได้บันทึกไว้ในประวัติวัดถ้ำอภัยดำรงธรรมว่า การที่ท่านตัดสินใจมาอยู่ที่ถ้ำนี้มีความมุ่งหมาย 4 ประการคือ
1. เพื่อรักษาสุขภาพ เนื่องจากสุขภาพของท่านไม่ปกติดี สู้ภาระหนักไม่ไหว และสู้กับดินฟ้าอากาศในบางแห่งไม่ได้ เคยรักษาด้วยการเปลี่ยนสถานที่บ้าง ปรากฏว่าได้รับความผาสุกจากการอยู่บนภูเขา เมื่อพักอยู่บนภูเขาแต่ละครั้งนั้นยาก็เกิดมีคุณภาพและมีคุณแก่สุขภาพขึ้น อาหารก็ฉันได้ เรี่ยวแรงก็ดีขึ้นกว่าเดิม ฉะนั้นท่านจึงแสวงหาที่พักบนภูเขาเพื่อจะรักษาสุขภาพให้เป็นไปตามกรรมวิบากของตน
2. เพื่อประโยชน์ส่วนตัว เนื่องด้วยผู้เป็นนักบวชในพระพุทธศาสนาต้องบำเพ็ญธุระ 2 ประการคือต้องศึกษาเล่าเรียนท่องบ่นจดจำพระปริยัติธรรม และบอกสอนผู้อื่นเรียกว่า คันถธุระ เมื่อศึกษาพอประมาณแล้วตั้งใจบำเพ็ญสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานเรียกว่า วิปัสสนาธุระ แต่สำหรับผู้ประสงค์จะบำเพ็ญทางด้านวิปัสสนาธุระนั้น ตามแบบอย่างของพระโยคาวจรเจ้าในปางก่อน ต้องแสวงหาสถานที่อันสงัดวิเวกปราศจากความคลุกคลีด้วยหมู่คณะและฝูงชนทั้งหลาย เป็นสถานที่เปล่าเปลี่ยวไม่มีการพลุกพล่านไปมาแห่งฝูงชน ไม่อื้ออึงคะนึงเซ็งแช่ไปด้วยเสียงมนุษย์ มีธุรการงานพอประมาณจึงจักยังสมถวิปัสสนาให้เกิดขึ้นในจิตได้ และจักยังคุณธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปไม่เสื่อมถอย ฉะนั้นพระอาจารย์วันจึงเลือกเอาสถานที่นี้เป็นสถานที่บำเพ็ญประโยชน์ส่วนตัวในด้านวิปัสสนาธุระ
3. เพื่อประโยชน์ของหมู่คณะเมื่อท่านปฏิบัติตัวของตนไปในปฏิปทาใด ก็ได้อบรมสั่งสอนหมู่คณะให้ดำเนินรอยในปฏิปทานั้น ประโยชน์ที่จะพึงได้ย่อมอยู่ที่ตัวบุคคลแต่ละคนเท่าที่จะสามารถปฏิบัติได้ แต่สถานที่นี้ แต่ก่อนเป็นสถานที่เปล่าเปลี่ยว ห่างจากหมู่บ้านมาก ประมาณ 4 กิโลเมตร ที่มาอาศัยอยู่จะต้องต้องสู้กับความลำบากหลายประการ ความสามารถก็ดี ความอดทนก็ดีความเพียรก็ดี ความขยันก็ดี ย่อมเกิดมีขึ้นโดยธรรมชาติบังคับ อาศัยสิ่งแวดล้อมช่วยเหลือธรรมะปฏิบัติของแต่ละบุคคล ประโยชน์จึงเป็นของพลอยได้เอง พระอาจารย์วันมีความเห็นด้วยว่าคนเราจะดีได้เพราะการสร้างความดี มิใช่จะเกิดดีด้วยการเสกสรรหรือการนึกน้อมปรารถนาเอาเอง
4. เพื่อประโยชน์แก่ประชาชน คนไทยถือว่าวัดเป็นจุดเด่นของบ้านเมือง ตั้งแต่สมัยโบราณมาตลอดถึงปัจจุบัน ชอบสร้างวัดขึ้นไว้เป็นคู่บ้านเมือง เช่นในกรุงเทพมหานครเป็นอาทิ ซึ่งมีวัดพระแก้วเป็นจุดเด่น สามารถอวดแขกต่างประเทศได้ และวัดยังเป็นแหล่งแห่งวัฒนธรรม ศิลปกรรม วรรณกรรม ตลอดถึงขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีที่ดีงามของพลเมือง ประชาชนคนไทยเคยได้รับความอุปการะจากวัดมาแล้วโดยลำดับ จึงเจริญวัฒนาก้าวหน้ามาได้ เช่นการศึกษาหนังสือไทยเป็นต้น ในเบื้องต้นได้ถือเอาวัดเป็นจุดแรกแห่งการขยายการศึกษาออกไปต่างจังหวัดจนถึงชนบท โดยมีพระเป็นผู้นำ ฝ่ายบ้านเมืองเป็นผู้รับรองและสนับสนุนให้ความอุปถัมภ์ เพราะฉะนั้นคนไทยจึงนิยมสร้างวัดไว้เป็นเกียรติของบ้านเมือง เมื่อสร้างวัดจึงนิยมสร้างให้เด่นสะดุดตาเท่าที่สามารถจะให้เด่นได้ถึงกับสร้างวัดไว้บนภูเขาเพื่อความเด่นนั้นเอง เช่นจังหวัดเพชรบุรีเป็นต้น เท่าที่พระอาจารย์วันมาตกแต่งสถานที่นี้ขึ้นไว้ในรูปลักษณะของวัดก็เพื่อให้เป็นจุดเด่นประดับเกียรติท้องถิ่นนี้ ชาวอำเภอสว่างแผ่นดินก็จะได้เป็นผู้มีเกียรติเท่าเทียมกับจังหวัดอื่น ที่เขามีมาก่อนแล้วจะเป็นอำเภอที่ไม่ด้อยกว่าเขาในอนาคตนอกจากนั้น ท่านยังดำริจะให้สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่อบรมศีลธรรมโดยเฉพาะอีกด้วย เพื่อให้ผู้สนใจต่อการอบรมเป็นกัลยาณชนต่อไป
พ.ศ. 2504 เป็นปีแรกที่พระอาจารย์วันขึ้นมาจำพรรษาที่ถ้ำอภัยดำรงธรรม มีพระภิกษุ 7 รูปสามเณร 3 รูป เสนาสนะที่อยู่อาศัยก็ทำขึ้นไว้เพียงชั่วคราว ปรากฏว่าการอยู่จำพรรษาปีนั้นท่านถูกไข้ป่าเล่นงานอย่างหนัก เพราะในยุคนั้นไข้มาเลเรียยังมีชุมมาก ต่อมาได้ทำบริเวณให้โล่งเตียนขึ้นบ้าง ไข้ป่าก็ลดน้อยลงตามลำดับ
พระอาจารย์วันได้อยู่จำพรรษาที่วัดถ้ำอภัยดำรงธรรมติดต่อกันเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2504-2517 ก็ได้รับความวิเวกดีในระยะสั้นเพราะการไปมาไม่สะดวกผู้ที่จะเดินทางมาหาต้องเป็นผู้ที่เคารพเลื่อมใสจริง ๆ พระเณรที่จะมาอยู่ด้วยก็ต้องเป็นผู้ที่อดทนต่อสู้กับความลำบากหลายด้าน จึงเป็นสถานที่สำหรับคัดเลือกคนและคัดเลือกพระเณรที่จะเข้ามาหาโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังเป็นความลำบากแก่ตัวพระอาจารย์วันเองด้วย เพราะต้องเดินทางไกลเป็นระยะทางหลายกิโลเมตร บางแห่งต้องเดินทางถึง 10 กิโลเมตร 20 กิโลเมตรเพื่อไปฉลองศรัทธาญาติโยมที่เขามานิมนต์ ระยะต่อมาทางการได้ตัดทาง ร.พ.ช.สายหนองหลวง-คำบิด ซึ่งเส้นทางสายนี้ห่างจากวัดถ้ำดำรงธรรม ประมาณ 7 กิโลเมตร ภายหลังพระอาจารย์วันจึงคิดตัดถนนจากวัดออกมาบรรจบทางของ ร.พ.ช. เพื่อสะดวกในการไปมา
เมื่อทางวัดออกมาได้สะดวกประชาชนจึงเข้าไปรับการอบรมธรรมะมากขึ้นตามลำดับ มีประชาชนจากใกล้และไกลเข้าไปนมัสการพระอาจารย์วัน จนกระทั่งเป็นที่เพ่งเล็งจากบุคคลหลายฝ่าย โดยเฉพาะเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 เป็นต้นมา เมื่อลัทธิการเมืองฝ่ายตรงข้ามเริ่มขยายตัว ท่านก็ยิ่งถูกเพ่งมองจากบุคคลหลายฝ่ายมากยิ่งขึ้น เจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐบาลบางคนก็เพ่งมองท่านว่าเป็นแหล่งส่งกำลังบำรุงให้พวกป่า ทางพวกป่าก็จับตามองว่าท่านเป็นสายสืบให้ทางราชการ โดยที่ท่านอาจารย์วันก็ปฏิบัติตนตามปกติ ตามพระธรรมวินัย ตามประเพณีของพระธุดงคกรรมฐาน ไม่มีความฝักใฝ่ในทางใดทางหนึ่ง เพราะไม่ใช่หน้าที่ของพระที่จะทำเช่นนั้น พระเจ้าพระสงฆ์จะทรงตัวอยู่ได้ก็ต้องอาศัยชาวบ้านเป็นผู้อุปถัมภ์ด้วยความเคารพ บูชา เพราะการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบของพระสงฆ์
ข่าวเรื่องการเพ่งมองและการปองร้ายนี้ ทำให้พวกญาติและสานุศิษย์ทั้งฝ่ายพระสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกาคิดจะนิมนต์ให้ท่านลงจากวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม ไปอยู่ที่บ้านคำตานา วัดพุฒาราม ซึ่งท่านเคยอยู่จำพรรษาก่อนที่จะขึ้นมาอยู่ที่ถ้ำอภัยดำรงธรรมแต่ท่านปฏิเสธ เพราะเชื่อเรื่องกรรมดีกรรมชั่ว และเรื่องความตายก็ไม่มีใครจะหลบหลีกได้ จะอยู่ในน้ำ บนบก บนอากาศ หรือในซอกเขาที่ไหนก็ตาม มัจจุราชย่อมตามทันเสมอ
อีกเรื่องหนึ่งที่เป็นข่าวใหญ่ก็คือเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2513 พระอาจารย์วันได้รับนิมนต์ให้ไปเจริญูพระพุทธมนต์เนื่องในงานแต่งงานที่บ้านส่องดาว ตำบลส่องดาว กิ่งอำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร ธรรมเนียมของประชาชนในถิ่นนั้นมักนิยมอาราธนานิมนต์พระไปเจริญพระพุทธมนต์ และฟังพระธรรมเทศนาในตอนเย็นด้วย
ตอนเช้าของวันใหม่ ทางเจ้าภาพได้ถวายอาหารบิณฑบาตท่านพระอาจารย์วัน พร้อมด้วยพระสงฆ์และสามเณรรวม 7 รูป หลังจากเจริญพระพุทธมนต์เสร็จก็มีการแสดงพระธรรมเทศนา กว่าจะออกจากบ้านงานกลับวัดก็มืดค่ำ ซ้ำยังต้องเดินเท้าไปตามถนน ร.พ.ช. ซึ่งตัดผ่านทุ่งนาจากหมู่บ้านส่องดาวผ่านไปข้างวัดโนนสะอาด พอเดินมาได้ประมาณ 4-5 เส้นจากหมู่บ้านก็โดนยิงจากทหารด้วยปืนเอ็ม 16 แต่พระอาจารย์วันและหมู่คณะก็ยังคงเดินกลับมาตามปรกติโดยไม่ได้ใส่ใจว่าเขายิงคณะของท่านหรือยิงใคร เพราะในยุคนั้นเขตกิ่งอำเภอส่องดาวอยู่ในภาวะที่ทางการห้ามประชาชนออกนอกบ้านในเวลาค่ำคืน ทางราชการได้ส่งทหารกองร้อยเคลื่อนที่ไปลาดตะเวน จึงเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งอันที่จริงก็ไม่ใช่ความผิดของฝ่ายทหารที่ยิง เพราะทางราชการได้ประกาศห้ามไว้แล้ว แต่ก็เป็นความจำเป็นที่พระสงฆ์จะต้องกลับวัดหลังจากเสร็จพิธี เหตุการณ์เรื่องนี้พระอาจารย์วัน ผู้เป็นหัวหน้าก็ไม่ติดใจร้องเรียนต่อทางการแต่อย่างไร และภายหลังผู้บังคับบัญชาทหารก็ได้ไปขอขมาโทษ
พ.ศ. 2518 พระอาจารย์วันได้ไปจำพรรษาที่วัดปาบ้านใหม่ท่าขันทอง ตำบลแชว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และในวันที่ 13 ตุลาคม ของปีนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ได้เสด็จไปเยี่ยมพระอาจารย์พ.ศ. 2519 ได้มีลูกศิษย์ไปที่วัดของท่าน เพื่อทาบทามให้ท่านรับสมณศักดิ์ ท่านก็ได้ชี้แจงความเหมาะสม ไม่เหมาะสมให้ฟังว่า ท่านเองเป็นพระป่า ไม่เหมาะสมกับยศศักดิ์ที่สูงส่งเช่นนั้นท่านจึงปฏิเสธ
พ.ศ. 2520 วันที่ 5 ธันวาคม องค์พระประมุขทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งพระอาจารย์วัน อุตฺตโม เป็นพระราชาคณะที่ พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร เป็นกรณีพิเศษ โดยที่ท่านไม่รู้ตัวมาก่อน แต่ท่านก็ต้องยอมรับเพราะพระสงฆ์ก็อยู่ภายใต้บรมโพธิสมภารของพระองค์ และพระองค์ก็ทรงเป็นศาสนูปถัมภกด้วย
พ.ศ. 2521-2522 พระอุดมสังวรวิสุทธิเถรหรือพระอาจารย์วันได้จำพรรษาอยู่ที่วัดถ้ำอภัยดำรงธรรมอย่างปรกติสุข
พ.ศ. 2523 เดือนเมษายน ท่านได้รับอาราธนานิมนต์ทางกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยพระคณาจารย์อื่น ๆ อีก 4 รูป คือ พระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม พระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโฐ พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร พระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม จึงได้รวมกันที่จังหวัดอุดรธานี เพื่อขึ้นเครื่องบิน เพราะลูกศิษย์ต้องการถวายความสะดวกและรวดเร็วในการเดินทาง ได้ขึ้นเครื่องบินที่อุดรธานี เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2523 เมื่อเครื่องบินมาถึงเขตจังหวัดปทุมธานี อำเภอคลองหลวง เหลือระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตรเศษ เครื่องบินได้ตั้งลำและลดเพดานบินเพื่อเตรียมลงสู่สนาม แต่เนื่องจากเครื่องบินได้ประสบพายุหมุนและประกอบกับฝนตกหนัก เครื่องบินจึงเสียหลักตกลงที่ท้องนาเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี พระอาจารย์วันพร้อมด้วยคณะจึงถึงแก่มรณภาพพร้อมด้วยผู้โดยสารอีกเป็นจำนวนมาก ที่รอดชีวิตเป็นผู้ที่นั่งทางส่วนหางของเครื่องบิน เพราะส่วนหางของเครื่องบินยังอยู่ในสภาพดี เมื่อพระอาจารย์วัน และคณะ ถึงแก่มรณภาพแล้วจึงนำศพไปตกแต่งบาดแผลที่โรงพยาบาลภูมิพลและนำศพไปตั้งบำเพ็ญกุศลที่ วัดพระศรีมหาธาตุ โดยอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ทั้ง 7 วัน วันแรกพระราชทานหีบทองทึบ วันต่อมาสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถรับสั่งให้เปลี่ยนใหม่เพราะทรงเห็นว่าไม่สวยงาม จึงได้เปลี่ยนเป็นหีบลายทอง
หลังจาก 7 วันแล้ว ในวันที่ 5 พฤษภาคม สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามทรงเป็นเจ้าภาพ วันที่ 6 พฤษภาคม คณะรัฐบาลซึ่งมี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์เป็นประธาน พร้อมด้วยคณะศิษย์ที่อยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพนับว่าเป็นเกียรติประวัติแก่พระอาจารย์วัน และคณะที่จากไปอย่างยิ่งยวด ยังความปลื้มปิติยินดีแก่ญาติ เพื่อนสหธรรมิก ลูกศิษย์และท่านที่เคารพนับถือของพระอาจารย์วันและคณะหาที่สุดมิได้
เมื่อครบกำหนดการบำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย ที่วัดพระศรีมหาธาตุแล้วก็ได้อัญเชิญศพ พระอาจารย์วัน และคณะกลับสู่ยังวัดเดิม โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้หัวหน้าแผนกพระราชพิธีเป็นผู้ดูแลโดยตลอด
สำหรับรถยนต์ที่เชิญศพ พระคณาจารย์ต่าง ๆ คุณหมอปัญญา ส่งสัมพันธ์ แห่งโรงพยาบาลแพทย์ปัญญา เป็นผู้จัดหา และได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลต่าง ๆ เป็นอย่างดียิ่ง
วันพุธที่ 7 พฤษภาคม 2523 เวลา 04.00 น. รถเชิญศพได้เคลื่อนออกจากวัดพระศรีมหาธาตุ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร โดยมีรถตำรวจทางหลวงนำ ถัดมาเป็นรถหลวง รถพระอาจารย์สมชาย ฐิติวิริโย และรถเชิญศพพระอาจารย์วัน ตามลำดับ เวลา 07.00 น.เศษขบวนเชิญศพถึงจังหวัดนครราชสีมา มีพระภิกษุสามเณรซึ่งมีพระชินวงศาจารย์ พระครูคุณสารสัมบัน พร้อมด้วยอุบาสกอุบาสิกาได้นำข้าวห่อมาต้อนรับคณะเชิญศพ และมาเคารพศพเป็นจำนวนมาก หลังจากพระฉันอาหารและเจ้าหน้าที่รับประทานอาหารเสร็จแล้ว ขบวนเชิญศพได้ออกเดินทางต่อไปถึงวัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี เมื่อเวลา12.30 น. ทางวัดโพธิสมภรณ์และชาวจังหวัดอุดรธานี ได้จัดต้อนรับเป็นอย่างดี ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ได้นำประชาชนหลายจังหวัดมารอและเคารพศพเสร็จแล้ว เวลาประมาณ 14.00 น.เศษ รถเชิญศพจึงได้แยกย้ายกันไปยังวัดต่าง ๆ สำหรับศพพระอาจารย์วัน ได้ไปถึงวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม เมื่อเวลา17.00 น. นับว่าการเชิญศพถึงวัดได้รับความสะดวกสบายปลอดภัยทุกประการ
เมื่อเชิญศพไปถึงวัดแล้วได้ตั้งบำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร เป็นเจ้าภาพ ต่อจากนั้นก็มีหน่วยงานต่าง ๆ รับเป็นเจ้าภาพติดต่อมาอีกหลายรายประชาชนทั้งใกล้และไกลได้มาคารวะศพและเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรมจนถึงปัญญาสมวาร (50 วัน) และสตมวาร (100 วัน) โดยอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์ไปเป็นประธาน นับว่าเป็นมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ หลังจาก 100 วันแล้วก็ยังเปิดให้ประชาชนได้บำเพ็ญกุศลเรื่อยมาเพื่อสนองความต้องการของประชาชน
วันที่ 13 พฤศจิกายน 2523 เวลาประมาณ 18.00 น. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมคารวะศพและทรงเยี่ยมประชาชนที่มาถวายการต้อนรับ ที่วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม อำเภอส่องดาว เป็นการส่วนพระองค์
วันที่ 25 พฤษภาคม 2523 เวลาประมาณ 18.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จเยี่ยมคารวะศพ ทรงวางพวงมาลาและทรงจัดดอกไม้ถวายเป็นการส่วนพระองค์
ผลงานโดยสรุปของพระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (วัน อุตฺตโม)
พระอาจารย์วัน อตตโม เป็นนักปฏิบัติมาตั้งแต่เริ่มแรกที่เข้าสู่พระธรรมวินัย จึงมิได้มุ่งในการทำงาน แต่ก็ได้ช่วยเหลือเพื่อนสหธรรมิกเมื่อมีการงานเกิดขึ้นในวัดที่ไปอยู่ การก่อสร้างถาวรวัตถุจึงไม่ปรากฏนัก ในระยะต้น ๆ มา มีผลงานขึ้นบ้างสมัยที่ท่านมาอยู่วัดถ้ำอภัยดำรงธรรมเพราะการก่อสร้างใด ๆ บนภูเขาหรือเชิงเขาทำยากกว่าที่พื้นราบเป็นอันมาก ดังนั้นวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จึงไม่มีถาวรวัตถุอะไรมากมายนัก มีเพียงศาลาการเปรียญหลังเดียวเท่านั้นที่ดูใหญ่โต เพราะศาลาการเปรียญเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากมีประชาชนมารับการอบรมฟังเทศน์ในวันพระ เทศกาลเข้าพรรษาวันละ 300-500 คน ส่วนกุฏิที่ค่อนข้างใหญ่ก็มีเพียงหลังเดียวที่คุณธเนศ เอียสกุล สร้างถวาย นอกนั้นเป็นเพียงกุฏิไม้อยู่ได้เพียงองค์เดียว แบบกุฏิกรรมฐานทั่ว ๆ ไป ที่เห็นว่าท่านริเริ่มสร้างที่สำคัญก็คือ การสร้างทางขึ้นถ้ำพวง เพราะท่านเห็นว่าประชาชนในถิ่นนั้นไม่มีอะไรที่เป็นถาวรวัตถุสำหรับเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน เมื่อสร้างทางขึ้นไปแล้วจึงได้ริเริ่มสร้าง พระพุทธรูปปางนาคปรกที่ถ้ำพวง โดยขนานพระนามพระพุทธรูปว่า พระมงคลมุจจลินท์ โดยถือเอานิมิต พระพุทธรูปปางที่พระพุทธเจ้าเสวยวิมุติสุขอยู่ที่ต้นไม้มุจจลินท์ มีพญานาคแผ่พังพานเพื่อกันฝน หลังจากสร้างพระพุทธรูปเสร็จแล้ว ท่านจึงจัดให้มีงานเทศกาลต้นเดือนเมษายนทุก ๆ ปี ซึ่งเป็นการสร้างคนทางใจโดยอาศัยวัตถุเป็นเครื่องนำ ความดำริขั้นต่อไปที่ท่านตั้งใจไว้ คือสร้างเจดีย์บนผาดงก่อ ถัดจากถ้ำพวงขึ้นไป ซึ่งเป็นหลังเขาที่สูงที่สุดในบริเวณนั้น แต่น่าเสียดายท่านมาด่วนจากไปเสียก่อน
ความดำริและการสร้างที่เป็นการอนุเคราะห์แก่ประชาชน
ท่านพระคุณพระอุดมสังวรวิสุทธิเถร(วัน อุตฺตโม) ท่านอยู่ที่วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม เป็นระยะเวลาที่ยาวนานกว่าสถานที่แห่งอื่น ๆ คืออยู่มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 จนถึง พ.ศ. 2523 มีเพียงปี พ.ศ. 2518 เท่านั้นที่ไปจำพรรษาที่อื่น ท่านเห็นความจำเป็นและความลำบากของชาวบ้านจึงได้ริเริ่มโครงการต่าง ๆ คือ
1. สร้างโรงเรียนอภัยดำรงธรรมเพื่อให้เด็กบ้านท่าวัดและบ้านถ้ำติ้วมีที่เล่าเรียน เมื่อดำเนินการสร้างไปแล้วทางราชการจึงได้ช่วยเหลือบ้างและอนุเคราะห์แจกทุนแก่เด็กนักเรียนในโรงเรียนต่าง ๆ หลายโรงเรียน บางโรงเรียนก็ได้อนุเคราะห์สร้างถังเก็บน้ำฝนสำหรับบริโภคโดยให้ปัจจัยค่าอุปกรณ์ แต่ให้ทางโรงเรียนช่วยจัดทำเพื่อจะได้ช่วยกันรักษา เพราะเป็นสมบัติที่เขาช่วยกันสร้าง
2. รับเป็นผู้อุปถัมภ์ ศูนย์เลี้ยงเด็กบ้านเหล่าใหญ่เนื่องจากพัฒนากรและกรรมการหมู่บ้านเหล่าใหญ่ขอร้อง การอุปถัมภ์ศูนย์แห่งนี้ได้มีผู้ร่วมบริจาคจากบุคคลหลายฝ่าย และท่านยังได้อุปถัมภ์ศูนย์เลี้ยงเด็กอีก2 แห่งคือ ศูนย์เลี้ยงเด็กบ้านส่องดาว และศูนย์เลี้ยงเด็กบ้านท่าศิลา
3. สร้างอ่างเก็บน้ำที่เชิงเขาและทำถังกรองไปให้ชาวบ้านใช้โดยไม่ต้องมีเครื่องสูบ เพราะเป็นการต่อน้ำจากที่สูง โครงการแรกที่ทำคือโครงการห้วยมะไฟ สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ นอกจากนี้ยังมีอีก 3 โครงการคือ โครงการคำจวง โครงการห้วยหาด และโครงการคำหลวง
สำหรับโครงการคำจวงได้เริ่มสร้างไปบ้างแล้วสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ส่วนโครงการห้วยหาด และคำหลวงเป็นแต่เพียงดำริไว้ เมื่อท่านมรณภาพแล้ว จึงมีผู้ที่เคารพนับถือและทางราชการช่วยกันจัดทำจนแล้วเสร็จทั้ง 3 โครงการ โดยเฉพาะโครงการคำจวง โครงการห้วยหาด สำเร็จลงได้เพราะพระบารมีปกเกล้าฯ สนองความดำริของพระอาจารย์วัน โดยมีผู้มีจิตศรัทธาโดยเสด็จพระราชกุศลที่สำคัญ 2 ท่านคือ คุณเฉลียว อยู่วิทยา และคุณทวี โกวัฒนะ และยังมีคนอื่น ๆ ช่วยกันสมทบ
เมื่อทั้ง 4 โครงการ สำเร็จลงแล้วอำเภอส่องดาวจะมีน้ำประปาใช้ทุกหมู่บ้าน ทั้งยังขยายไปถึงเขตอำเภอที่ใกล้เคียงอีกหลายหมู่บ้าน เช่นเขตอำเภอวาริชภูมิ อำเภอสว่างแดนดิน กิ่งอำเภอไชยวาน นับว่าเป็นความดำริและการสร้างที่มีประโยชน์แก่ประชาชนเป็นอันมากเมื่อทำสำเร็จแล้วก็มอบให้หมู่บ้านต่าง ๆ ช่วยกันดูแลรักษาซ่อมแซมในโอกาสต่อไป
แต่การสร้างที่สำเร็จได้ดังกล่าว ท่านผู้อ่านพึงทราบว่ามิใช่ว่าพระอาจารย์วัน หรือวัดถ้ำอภัยดำรงธรรมมีปัจจัยมากมายหรือร่ำรวยแต่ประการใด ทุกท่านก็คงเข้าใจแล้วว่า พระเจ้าพระสงฆ์มิใช่พ่อค้า การเลี้ยงชีพทุกอย่างต้องอาศัยชาวบ้าน แต่เหตุที่มีปัจจัยไปช่วยเหลือในกิจการนั้น ๆ ก็เนื่องจากความเคารพนับถือในพระอาจารย์วัน เมื่อมีผู้ที่เคารพนับถือมาหา การอบรมศีลธรรม นั่งสมาธิภาวนาผู้นิมนต์พระสงฆ์ไปแสดงธรรมมักจะจัดให้พระอาจารย์วัน ขึ้นแสดงธรรมเป็นองค์สุดท้ายเสมอเนื่องจากพระธรรมเทศนาของท่านเป็นที่สนใจของประชาชน และสาเหตุ ที่ประชาชนให้ความเคารพนับถือในท่านก็เพราะได้รับการอบรม ได้ฟังธรรมจากท่านเป็นประการสำคัญ ถ้ามองดูผิวเผินคล้ายกับว่าท่านเห็นแก่ลาภสักการะ แต่โดยข้อเท็จจริงแล้วท่านมีความเมตตาอยากจะสงเคราะห์ แนะนำให้ประชุมชนมีความเข้าใจในหลักปฏิบัติ เวลาไปเทศน์ในวัดต่าง ๆ ลาภสักการะที่ทายกทายิกาบูชาพระธรรมเทศนาท่านจะมอบให้บำรุงวัดนั้น ๆ เสมอ โดยเฉพาะวัดในชนบท จึงเป็นการไปเพื่อให้มิใช่ไปเพื่อรับ ถ้าหากท่านมุ่งลาภสักการะจริง ๆ เพียงอยู่ประจำที่วัดก็มีประชาชนไปหามาก จนแทบไม่มีเวลาพักผ่อนอยู่แล้ว ลาภสักการะก็มีมากกว่าการไปกิจนิมนต์นอกวัด สุขภาพร่างกายก็ไม่ได้รับความลำบาก
ผลงานทางการคณะ
สมัยที่มีพระธรรมทูต ท่านก็รับภาระออกแสดงธรรมทุกปีเป็นการให้ความร่วมมือด้วยดี งานสอบนักธรรมประจำปีที่วัดคามวาสี บ้านตาลโกน ท่านก็ไปช่วยเหลือและนำนักเรียนพระเณรที่วัดไปสอบทุกปี โดยมิได้ถือว่า วัดถ้ำอภัยดำรงธรรมเป็นสำนักปฏิบัติ เพราะการเรียนการสอบเป็นการเพิ่มความรู้ เมื่อรู้แล้วการแนะแนวในทางปฏิบัติก็สะดวกขึ้น ท่านจึงสนับสนุน
ปฏิปทาพระอาจารย์วัน
พระอาจารย์วัน เป็นผู้ที่โชคดีมากในการเข้ามาสู่พระธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะก่อนจะออกบรรพชาเป็นสามเณรก็มียายออกบวชเป็นชีอยู่ก่อนแล้วในสำนักปฏิบัติ เมื่อท่านออกบรรพซาก็ไปอยู่ในสำนักที่ยายบวชอยู่ และได้รับการอบรมในทางปฏิบัติตั้งแต่เริ่มแรกก่อนที่จะไปรับการศึกษานักธรรมและบาลี ในขณะที่เรียนนักธรรมและบาลีก็อยู่ในสำนักปฏิบัติ แต่เพิ่มการเรียนเข้ามาเท่านั้น เพื่ออนุวัตตามทางการคณะสงฆ์เพราะฉะนั้นท่านจึงยึดมั่นในหลักปฏิบัติมาโดยตลอด และได้เข้าศึกษาอบรมจากครูบาอาจารย์ที่สำคัญ ๆ ในสายปฏิบัติเช่น พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล พระอาจารย์พรหม จิรปุญฺโญ พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต และอาจารย์องค์สำคัญอื่นอีกเป็นอันมาก พระอาจารย์วัน จึงได้ยึดแนวทางในการปฏิบัติมาโดยตลอดของชีวิตพรหมจรรย์ พูดถึงอุปนิสัยท่านเป็นผู้ที่พูดน้อยแต่พูดจริงทำจริง อ่อนน้อมต่อผู้ที่มีอายุพรรษามากกว่า.เป็นผู้ที่หนักในคารวะ ชอบความเป็นระเบียบ ให้ความอนุเคราะห์แก่สหธรรมิกที่อ่อนกว่า การวางตัวของท่านเสมอต้นเสมอปลายจึงได้รับคำยกย่องสรรเสริญจากพระเถระผู้ใหญ่ และเป็นที่เคารพนับลือของผู้น้อย ผู้ที่ได้เคยอยู่ร่วมสำนักหรือคบหาสมาคมกับท่านทุกคนคงทราบดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระอาจารย์วันเป็นผู้ที่ฝึกตนได้ดี เรียบร้อยงดงามในทุกอิริยาบถ ทั้งยืนเดิน นั่ง นอน มีผู้วิจารณ์ว่า ท่านพระอาจารย์วันเป็นผู้ที่พอดี ไม่ช้า ไม่เร็ว พอเหมาะเสมอในทุกโอกาส
กล่าวถึงทางวาจา ไม่เคยได้ยินท่านใช้คำพูดที่เป็น ผรุสวาจา เมื่อลูกศิษย์ทำผิดหรือล่วงเกินในบางกรณีก็ไม่ใช้คำด่า แต่เป็นคำเทศน์ให้สติ และผู้ที่ถูกเทศน์ก็มีความกลัว จนบางคนถึงกับตัวลั่น ลักษณะของท่านพระอาจารย์วันลูกศิษย์ฝ่ายบรรพชิตก็ดี ญาติโยมที่อยู่ใกล้ชิดก็ดูจะมีความเคารพนับถือ เกรงกลัวท่านมากกว่าผู้ที่อยู่ห่าง มิใช่กลัวถูกด่า แต่กลัวในลักษณะที่ยำเกรง เพราะความเคารพในตัวท่าน
พระอาจารย์วันเป็นผู้ที่ทำตัวของท่านให้เป็นตัวอย่างที่ดี แก่ศิษย์หรือจะพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือเป็นผู้ที่ ทำให้ดูมากกว่าบอกให้ทำ จึงเป็นที่เคารพรักของศิษย์ทั่วไป
กิจวัตรส่วนตัวของท่าน ที่ท่านถือปฏิบัติเมื่อเวลาประจำอยู่ที่วัดคือ
1. พอสว่างเข้าสู่ทางเดินจงกรมเมื่อเวลา 6.00 น.
2. ลงไปศาลาการเปรียญทำกิจวัตรและออกบิณฑบาต เวลา 7.00 น.
3. ฉันเสร็จเรียบร้อยขึ้นกุฏิทำความเพียรจนถึง เวลา 12.00 น.
4. พักผ่อนจนถึง เวลา 14.00 น
5. ทำความเพียรจนถึง เวลา 16.00 น. จากเวลา 16.00 น. เป็นต้นไปเป็นเวลาที่รับแขกและทำกิจอย่างอื่น เช่น กวาดลานวัด และทำการงานด้านอื่น ๆ ภายในวัด
6. อบรมพระภิกษุสามเณร เวลา 19.00 น.
7. พักผ่อนร่างกาย เวลา 22.00 น
8. ตื่นนอน เวลา 2.00 น. แล้วทำความเพียร
กิจวัตรส่วนตัวดังกล่าว ในสมัยที่ท่านขึ้นไปอยู่ถ้ำอภัยดำรงธรรมตอนต้น ๆ รู้สึกว่าสะดวกสบายดีเพราะประชาชนยังไปมาหาสู่ไม่มากนัก ต่อมาเมื่อมีประชาชนไปหามากจึงทำให้เปลี่ยนแปลงไปบ้างตามเหตุการณ์ แต่เรื่องการนอนท่านเคยฝึกมาแล้วสมัยที่ท่านปฏิบัติท่านพระอาจารย์มั่น ท่านบันทึกไว้ว่า พักผ่อนคืนหนึ่งอย่างมากที่สุดไม่เกิน 4 ชั่วโมง
ปฏิปทาทางมักน้อยสันโดษ
พระอาจารย์วัน เป็นผู้ที่มีอัธยาศัยไม่มักใหญ่ใฝ่สูงมาตั้งแต่เป็นสามเณร ตามที่ท่านบันทึกไว้ จะเห็นได้ว่าท่านมีความตั้งใจจะอุปสมบทเป็นพระก็ต่อเมื่อมีอายุ 25-26 ปี คือต้องการเป็นผู้มีอายุพรรษาน้อยกว่าเพื่อนพระภิกษุที่มีอายุรุ่นเดียวกัน แต่เหตุการณ์ก็ไม่เป็นไปดั่งคิด การสะสมลาภสักการะก็ไม่มี มีแต่การเฉลี่ยอนุเคราะห์เพื่อนสหธรรมิก ถ้ามีผู้บริจาคเป็นการส่วนตัวก็ได้อนุเคราะห์ไปยังวัดต่าง ๆ ที่ขาดแคลน แต่ท่านอนุเคราะห์ไปมากก็มีผู้ถวายมาก เข้าในลักษณะที่ว่า มีทางไหลเข้า ก็มีทางไหลออก พระอาจารย์วัน จึงไม่มีสมบัติอะไรนอกจากสมณบริขาร บางท่านอาจจะเข้าใจว่า พระอาจารย์วันเป็นพระที่ร่ำรวย จะว่ารวยก็ถูกอยู่เหมือนกัน เพียงแต่รวยในทางสงเคราะห์ จนบางทีไม่มีอะไรจะให้ เพราะฉะนั้นอะไรจะมีเหลือ เพราะไม่ได้สะสม
ปฏิปทาอีกอย่างหนึ่งก็คือความอดทน ไม่เคยได้ยินท่านบ่นว่าร้อนมาก หนาวมาก ท่านคงคิดว่าพูดออกไปแล้วก็ไม่ทำให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงได้กระมังจึงเงียบเลีย และคำว่าเหนื่อยมาก หิวมาก กระหายมาก ก็ไม่เคยได้ยิน ท่านคงคิดในลักษณะที่ว่า พูดไปแล้วก็คงไม่หายเหนื่อย พูดไปแล้วคงไม่หายหิวหายกระหาย นอกจากจะพักผ่อนเพื่อบรรเทาความเหนื่อย และรับประทานเสีย หรือ ดื่มเสียเพื่อแก้หิว แก้กระหาย และเวลาพระเณรถวายการนวดหรือจับเส้นก็ไม่เคยได้ยินท่านบ่นว่า นวดหนักไปหรือเบาไป มีแต่ถึงเวลาสมควรก็บอกให้เลิก นับว่าท่านเป็นผู้ที่อดได้และทนได้จริง ๆ
สำหรับปฏิปทาที่เป็นส่วนภายในท่านก็ไม่เคยนำมาเล่า นอกจากผู้เป็นศิษย์จะเรียนถามเมื่อมีความขัดข้องทางภาวนา หรือเวลาท่านแสดงธรรม ผู้เขียนไม่สามารถที่จะอาจเอื้อมนำมาเขียนว่า ท่านพระอาจารย์วัน มีคุณธรรมอย่างนั้นอย่างนี้เพราะเป็นการเหลือวิสัยของผู้เขียน จึงขอมอบให้สานุศิษย์ทั้งหลายนำไปพิจารณาไตร่ตรองเองเถิด และอีกประการหนึ่งในการเขียนประวัตินี้ ท่านผู้อ่านทั้งหลายคงจะผิดหวังที่ไม่ได้เขียนเรื่องปาฏิหาริย์ ลงในหนังสือเล่มนี้ เพราะผู้เขียนได้ยินคำพูดที่ท่านพระอาจารย์วันพูดไว้ว่า การเขียนประวัติ ถ้าให้บุคคลอื่นเขียน มีทางเสียอยู่ 2 ทางคือมากเกินไป หมายความว่ายกย่องเกินไป และน้อยเกินไปคือขาดตกบกพร่อง ผู้เขียนจึงนำมาเล่าสู่กันฟังเฉพาะในเรื่องที่มองเห็นกันง่าย ๆ เท่านั้น
คุณลักษณะอีกอย่างหนึ่งก็คือการวางตัว ท่านไม่แสดงออกให้เห็นเลยว่า โปรดคนนั้นคนนี้ในบรรดาสานุศิษย์ ไม่ว่าบรรพชิตหรือคฤหัสถ์หรือแม้แต่พระเณรที่เป็นผู้อุปัฏฐาก เพื่อความเข้าใจดีของทุกฝ่าย ผู้เขียนจึงขอคัดจากลายมือของพระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (พระอาจารย์วัน อุตฺตโม) ที่ท่านเขียนไว้มาให้พิจารณาเอง ดังนี้
จะเป็นด้วยกรรมอะไรของข้าพเจ้าก็ไม่ทราบ เมื่อมาอยู่ในสถานที่ถ้ำอภัยดำรงธรรมแห่งนี้ ทำให้อยู่ได้นานกว่าสถานที่แห่งอื่นทั้งหมด ทั้งยังคิดวางโครงการอยากจะปรับปรุงให้มีความเจริญเกิดขึ้นในท้องถิ่นนี้ ถึงกับนำญาติโยมทำทางจากบ้านมาหาที่พัก และยังคิดสร้างพระพุทธรูปไว้ที่ถ้ำพวง เพื่อเปลี่ยนพิธีกรรมเซ่นสรวงผีสางในภูเขาประจำปีของชาวบ้านให้หันมากราบไหว้บูชาพระพุทธรูปแทน ซึ่งยังจะได้มีส่วนแห่งบุญของตนเท่าที่ควร จึงได้มีการทำทางขึ้นหลังเขาสู่ถ้ำพวง และเลยลงไปถึงหมู่บ้านภูตะคาม ตามที่พวกชาวบ้านนั้นขอร้อง งานการก่อสร้างยังต้องทำต่อไปเรื่อย ๆ และจัดให้มีงานนมัสการปูชนียวัตถุองค์พระปฏิมากร พระมงคลมุจจลินท์เป็นประจำทุกปีไป แม้ว่าการเงินในการก่อสร้างจะJร้างจะไม่มีตัวเงินงบประมาณก็ตาม คงจัดทำการก่อสร้างไปตามได้ตามมี เท่าที่ท่านสาธุชนทั้งหลายมีศรัทธานำมาบริจาคข้าพเจ้าคิดว่า เมื่อคนส่วนมาก ยังยินดีพอใจสนับสนุนการก่อสร้างอยู่แล้ว ต้องพยายามทำตามโครงการที่วางไว้แล้วนั้นจนเป็นผลสำเร็จ เพราะทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และทำไว้เพื่อเป็นสมบัติของบ้านเมือง ไม่ได้หวังกอบโกยเพื่อผลประโยชน์ส่วนบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ส่วนจำพวกไม่พอใจ ไม่มองเห็นผลประโยชน์ด้วยมีเพียงจำนวนน้อย ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาแต่บางคนอาจจะเพ่งมองข้าพเจ้าในแง่ผิดบ้างก็มี เช่นหวังเพื่ออำนาจ อิทธิพลยากดัง อยากใหญ่ อยากเด่น อยากรวย อยากปฏิวัติอะไรทำนองนี้ ท่านผู้ปัญญามีจิตเป็นธรรม ปราศจากอคติ จงพิสูจน์หาความจริงได้ทุกโอกาส อย่าหลับตามองดู จงลืมตามองดูแบบคนตาดีอย่าอุดหูฟัง จงเงี่ยหูทั้งสองฟังเหมือนคนมีหูทิพย์ อย่าคิดเหมือนคนวิกลจริต จงใช้ความคิดให้ลึกซึ้งต่อเหตุผลเหมือนนักปราชญ์บัณฑิต
เมื่อท่านผู้อ่านได้อ่านบันทึกของพระอาจารย์วัน ที่ยกมานี้ คงจะเข้าใจปฏิปทาของท่านได้เป็นอย่างดีผู้เขียนขอสรุปลงอย่างสั้น ๆ ว่า พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร หรือพระอาจารย์วัน อุตฺตโม เป็นพระที่ประกอบด้วยองค์คุณของพระสงฆ์ คือ
สุปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติดี
อุชุปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติตรง
ญายปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม
สามีจิปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ
ท่านจึงเป็นพระสงฆ์ที่น่าเคารพนับถือ บูชา กราบไหว้ได้อย่างสนิทใจรูปหนึ่งอย่างแน่นอน หากมีความบกพร่องผิดพลาดประการใด ผู้เขียนขอประทานอภัย และขอรับผิดเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หากมีความดีใด ๆ อันจะพึงบังเกิดเพื่อน้อมบูชาพระคุณของพระอาจารย์วัน อุตฺตโม ผู้ล่วงลับไปแล้วด้วยคารวะ
ธรรมโอวาท พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร
(หลวงปู่วัน อุตฺตโม) เรื่อง คารวะธรรม
22 กันยายน 2521
คารวะธรรมมี 6 ประการคือ ความเคารพในพระพุทธเจ้า เคารพในพระธรรม เคารพในพระสงฆ์ เคารพในการศึกษา เคารพในการปฏิสันถาร เคารพในความไม่ประมาท ความเคารพเป็นสิ่งที่ทำให้จิตใจมีความอ่อนน้อม ไม่แข็งกระด้าง ความที่จิตมีความอ่อนน้อมเป็นจิตที่ยังความเจริญให้เกิดขึ้น เหมือนกันกับต้นไม้ที่มีรากอ่อน เปลือกอ่อน มีกระพี้อ่อน มียอดอ่อน เรียกว่าส่วนของต้นไม้ เป็นการรับความเจริญ ทำให้ต้นไม้มีความเจริญ มีความสดชื่น มีความเขียวชอุ่ม ลำต้นก็ย่อมมีความเจริญเติบโต มีความเจริญขึ้นโดยลำดับ หากว่าขาดความอ่อน ต้นไม้หมดความเจริญ จะต้องอยู่ตัว และจะยังความอับเฉาลงไปโดยลำดับ คือหมดความเจริญ เมื่อหมดความเจริญแล้วไม่เพียรแต่เท่านั้น มันจะต้องทุพลภาพลงไปตามลำดับ ถึงกับต้องตายต้องโค่น ต้องล้มลงไป ฉันใดก็ดีคนเราที่มีจิตแข็งกระด้างเป็นคนที่หมดความเจริญ มีแต่ความเสื่อม มีแต่ความเสีย เกิดแต่ความผิด คิดแต่ความชั่ว เป็นคนที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมอย่างเดียว ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงสอนให้เป็นผู้ที่ตั้งอยู่ในความเคารพ
สตฺถครุ เคารพในพระพุทธเจ้า ธมฺมครุ เคารพในพระธรรม สงฺฆครุ เคารพในพระสงฆ์ หรือเป็นความเคารพในพระไตรสรณาคมน์ของเรา คือเราถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะ แล้วก็เราน้อมระลึกถึงพระพุทธ พระธรรมพระสงฆ์อยู่เสมอ แสดงความเคารพอ่อนน้อม จึงได้มีการกราบ การไหว้ การสักการบูชา เมื่อพระองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว เรามาระลึกถึงพระคุณของพระองค์ โดยความที่เป็นอตีตารมณ์ คือ ระลึกถึงคุณเมื่อสมัยพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ตลอดถึงพระองค์ได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนา เป็นหลักคำสอนสืบมาจนถึงพวกเครา ที่เราได้รู้จักบาปบุญคุณโทษ หรือจะดีชั่วได้จากศึกษา ได้ยิน ได้ฟัง ตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั่นเอง และผู้ที่ปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เรียกว่าผู้มีศีลธรรม
เมื่อบุคคลมีศีลธรรมแล้วย่อมยังความร่มเย็นเป็นสุขให้เกิดขึ้น จะได้บำเพ็ญประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้สมบูรณ์บริบูรณ์ขึ้น จึงเป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตของผู้มีศีลธรรมนั้น เป็นชีวิตที่เป็นไปด้วยสารประโยชน์ ไม่ได้ประกอบกรรมทำความชั่ว เป็นคนที่ไม่มัวหมอง เป็นคนที่มีแต่คุณความดี ประโยชน์ในปัจจุบันก็จะเกิดขึ้น ประโยชน์ในชาติหน้าก็จะเกิดขึ้น เพราะเรารับเอาธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านำไปประพฤติปฏิบัติ ฉะนั้นเราจึงได้เคารพในพระพุทธเจ้า จึงได้เกิดการสร้างพระปฏิมากรขึ้นเป็นอุทเทสิกเจดีย์เพื่ออุทิศต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วกราได้กราบไหว้สักการะบูชาระลึกต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้
ฉะนั้นในพระพุทธรูปที่เป็นอุทเทสิกเจดีย์ เราจึงได้มีความเคารพนับถือแสดงความคารวะ เคารพต่อองค์ปฏิมากร หรือพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุอันเป็นพระอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้า เราก็ได้กราบไหว้สักการบูชา แสดงความเคารพในสถานที่ ในวัตถุสิ่งนั้น ไม่ทำสิ่งที่เป็นความประมาท เป็นความไม่เคารพ ทั้งทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางใจก็ดี เมื่อเวลาเราเข้าหาพระพุทธรูป เราก็แสดงความเคารพ อย่างเราเข้าใกล้ สิ่งใดที่ไม่เคารพ เราก็ไม่ทำสิ่งนั้น แสดงกิริยามารยาทอย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างเราเหยียดเท้าเข้าไปหาพระพุทธรูป อันนี้เรียกว่าเราไม่เคารพ หรือนอนเอาเท้าของเราไปทางพระพุทธรูปก็เป็นการไม่เคารพ หรือเราทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งในบริเวณใกล้เคียง เรียกว่าเขตพุทธาวาสนั้น เราไม่เคารพ ก็เป็นการไม่เคารพในพระพุทธเจ้า เราพูดคำที่ไม่ควรพูดในสถานที่นั้นก็เป็นการไม่เคารพ หรือทางจิตทางใจเราคิดชั่วขึ้นมา ก็เรียกว่าเราไม่เคารพทางใจ ฉะนั้นเราจะต้องเคารพ เรียกว่าเคารพในพระพุทธเจ้า
เคารพในพระธรรม พระธรรมคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่จารึกไว้เป็นตำรับตำรา จะเป็นใบลานหรือกระดาษก็ดี เราก็แสดงความเคารพ เก็บไว้ในที่อันเหมาะสม คือ ที่สูง ไม่ทิ้งเกะกะเพราะเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แม้เราถือไปก็ต้องระวังถือไปด้วยความเคารพ นี้ก็เรียกว่าเราเคารพในพระธรรม นี้เราจะกล่าวถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เราก็กล่าวด้วยความเคารพ จะกล่าวแนะนำสั่งสอนคนอื่นก็ดี หรือจะสาธยายการไหว้พระสวดมนต์เราก็ต้องว่าด้วยความเคารพ มีความอ่อนน้อมไปด้วย และไม่นำเอาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไปกล่าวเป็นคำล้อเลียน อย่างใดอย่างหนึ่ง การกล่าวล้อเลียนเรียกว่าไม่เป็นการแสดงความเคารพในพระธรรม รู้จักเคารพในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอย่างนั้นเรียกว่าเคารพในพระธรรม
เคารพในพระสงฆ์ คือ พระสงฆ์ที่ล้วนแล้วแต่เป็นอริยสงฆ์ที่ท่านดับขันธ์ไปสู่ปรินิพพานแล้วก็ตาม หรือพระสงฆ์ที่อยู่ในปัจจุบันนี้ก็ดี เราก็แสดงความเคารพตามสมควร ฉะนั้นผู้ที่บวชมาจึงเคารพในพรรษาที่บวช ผู้ที่เป็นอุปัชฌาย์ก็แสดงความเคารพตามฐานะนั้นๆ อันนี้เป็นการแสดงความเคารพในพระสงฆ์ คือ พระสงฆ์นั้นยังมีอยู่ก็มี ที่มรณภาพตายไปแล้วก็มี ทั้งที่ล่วงลับไปแล้วและที่ยังมีชีวิตอยู่เราก็แสดงความเคารพ แม้แต่สัตว์ดิรัจฉานเขาเห็นผ้ากาสาวพักตร์อันนี้ ตัวที่รู้สำนึกก็ยังแสดงความเคารพขึ้นมา เราเป็นมนุษย์ เราก็ควรจะเคารพ รู้จักเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็มีความเจริญ
เคารพในการศึกษา คือ เราจะศึกษาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า คือ เราตั้งใจศึกษาด้วยดี มีความตั้งอกตั้งใจ เราหมั่นท่องบ่นจดจำ เราก็ท่องบ่นจดจำได้ดี เราจะสาธยาย เราก็ตั้งใจสาธยาย เราจะทำความเข้าอกเข้าใจ เราก็ต้องมีความเคารพเหมือนกัน เรียกว่าค้นคิดให้เป็นไม่คิดประมาท ในการศึกษาของเรารู้คุณค่าของพระธรรม เช่นจะศึกษาศีล เราก็ศึกษาด้วยความเคารพ คือมีความนับถืออยู่เสมอ ศึกษาเรื่องจิตเรื่องปัญญาเราก็ต้องแสดงความเคารพ ผู้ที่เคารพในการศึกษา ถือว่าพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านี้เป็นสิ่งที่มีคุณค่าที่หาประมาณมิได้ ฉะนั้นเราจึงต้องแสดงความเคารพการศึกษา
ทีนี้เราจะประกอบการพากเพียร ทำจิตทำใจของเรา เราก็ต้องมีความเคารพ ฉะนั้นเวลาที่เราจะนั่งสมาธิก็ดี เราก็นึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือเวลาที่เราจะเดินจงกรม เราก็ระลึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างเราไม่ได้กราบไว้ เราก็ยกมือประนมระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์แล้วเราจึงนั่งสมาธิหรือเดินจงกรม ประกอบความพากเพียรด้วยตั้งใจ ไม่ได้เป็นการทำเล่น ไม่ได้เป็นการทำอวด ไม่ได้เป็นการทำหลอกลวงผู้อื่น ความเป็นผู้ที่ทำจริง หวังความดีความชอบในการประกอบความพากเพียร จะเพียรละความชั่วก็ดี จะเพียรทำความดีก็ดี จะเพียรรักษาความดีที่มีอยู่ก็ดี เราก็ต้องเคารพในความเพียรเหล่านั้น นี้เรียกว่า เคารพในความเพียรในการบำเพ็ญความดีความชอบของเรา
เคารพในการปฏิสันถาร คือการต้อนรับ เราก็ต้องทำด้วยความเคารพ คือทำด้วยดีนั่นเอง อย่างพระเจ้าพระสงฆ์ก็เรียกว่าอาคันตุกวัตร วัตรที่เราต้องต้อนรับขับสู้แก่พระผู้ที่มาถึงเราเรียกว่ามาใหม่ เราก็รู้จักการต้อนรับ ทำอะไรบ้างคือให้ความสะดวก เป็นการบริการ ในเวลาที่อาคันตุกะมาถึง การปฏิสันถารตลอดไป แม้ญาติโยมก็มีการปฏิสันถาร รู้จักการต้อนรับขับสู้ การต้อนรับทำอะไรบ้าง ธรรมดาก็ต้องมีการไหว้กัน มีการเชื้อเชิญกัน มีการให้ที่นั่ง มีการให้น้ำให้อะไรเหล่านี้เรียกว่าเป็นการปฏิสันถาร
ฉะนั้นในการปฏิสันถารนี้เราจะต้องรู้จัก สถานที่ เราใช้เก้าอี้ ต้อนรับในทางเก้าอี้ก็มี ต้อนรับในการปูสาดปูเสื่อก็มีแล้วแต่สถานที่ แล้วแต่ความเหมาะ ตามแต่กาลเทศะ เราจะต้องรู้จักการปูเสื่อ เราก็รู้จักวิธีปูข้างไหนขึ้น เอาข้างไหนลง การให้น้ำ การต้อนรับ อย่างนั้นเราก็จะเก้อเขิน เป็นแต่เพียรเมินดูอยู่เฉยๆ ไม่รู้สึกสิ่งที่จะทำ คือไม่รู้จักการปฏิสันถารนั่นเอง การทำด้วยความละมุนละไมนั้น เรียกว่าเป็นการแสดงออกซึ่งความเคารพ เคารพในปฏิสันถาร ปฏิสันถารด้วยการถามข่าวคราวต่างๆ หรือการชี้แจ้งบอกโน้นบอกนี้หรือปฏิสันถารด้วยธรรม อามิสปฏิสันถาร ธรรม-ปฏิสันถาร
การปฏิสันถารมี 2 อย่าง อามิสปฏิสันถาร คือการต้อนรับด้วยอามิส คือที่นั่ง ที่พัก ที่ไป ที่มา น้ำ เหล่านี้เรียกว่าอามิสปฏิสันถาร ธรรมปฏิสันถาร คือปฏิสันถารด้วยความละมุนละไมแสดงความเอื้อเฟื้อ หรือแนะนำในทางที่เป็นประโยชน์ เอาธรรมะออกใช้กับคนที่มา ต้องการการศึกษา เราก็ให้การศึกษาได้ คนที่มีปัญหาที่จะต้องถามเรา ก็แก้ปัญหาข้อคิดเห็นซึ่งกันและกัน นี้เรียกว่าธรรมปฏิสันถาร คือให้กันด้วยดี มีความมุ่งหวังดีโดยความที่มุ่งหวังดีมีความละมุนละไม มีการให้ความสะดวกหรือให้ความเป็นไปนั้น เรียกว่าเคารพในปฏิสันถาร
ในคารวะทั้ง 6 ประการนี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า อภพฺโพ ปริหานาย เป็นผู้ที่ไม่เสื่อม จะเป็นไปเพื่อความเจริญนั้นเอง นิพฺพานสฺเสว สนฺติเก ได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติใกล้พระนิพพาน เป็นข้อปฏิบัติที่ใกล้พระนิพพาน เมื่อเรามีธรรมะคือธรรมปฏิสันถารนี้ เรียกว่าเป็นผู้ใกล้หลุดพ้นไปได้ จึงเป็นธรรมะที่เราจะต้องนำมาปฏิบัติเหมือนกัน
ฉะนั้นสิ่งใดที่เรายังไม่เข้าใจ เราก็ต้องศึกษา สิ่งใดที่ยังไม่เป็น เราก็ต้องฝึก ต้องอบรมให้เป็น กราบไม่เป็น เราก็ต้องฝึก ไหว้ไม่เป็น เราก็ต้องฝึก กราบคือการใช้วิธีที่เรากราบนี้เอง คือนั่งกระย่งเท้าขึ้นแล้วพนมมือยกขึ้นระหว่างคิ้ว แล้วก็เอามือลงไปโน้มศีรษะลงไประหว่างมือที่ราบพื้นนั้น เรียกว่าการกราบเบญจางคประดิษฐ์ คือ มีเข่าสอง มือสอง ศีรษะหนึ่ง โดยที่เข่านี้จะต้องห่างออกจากกันนิดหน่อยหว่างคืบ เวลากราบลงไปเอาศอกจดเข่ามือราบกับพื้น หัวแม่มือห่างกันนิดหน่อยแล้วก็เอาศีรษะลงไป ช่องมูกลงช่องกลางนั้น นี้เรียกว่าเบญจางคประดิษฐ์ เรียกว่าการกราบ
การไหว้เป็นแต่เพียงพนมมือขึ้นในระหว่างคิ้ว น้อมศีรษะลงไปพอสมควร นี้เรียกว่าการไหว้ ถ้าหากเรายกมือสูงกว่านั้นก็เรียกว่าไหว้เกิน ถ้ายกไม่สูงกว่านั้นก็เรียกว่าขาด บางคนที่ไหว้ยกมือสูงๆ นั้นเรียกว่าทำเกินแล้ว ทำเกินไหว้ ก็แสดงถึงว่าไม่ถูกลักษณะการไหว้ และอีกอย่างหนึ่งไม่แสดงการไว้ใจ เพราะมันเรื่องไม่พอดีแล้วอาจจะมีเล่ห์เหลี่ยมมายาสาไถยอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ เป็นคนที่ไม่น่าไว้ใจ เพราะทำไม่พอดี ไม่ขาดก็เกิน ไม่เกินก็ขาด เรียกว่าคนไม่เหมาะสมแล้ว อันนี้เป็นกิริยาที่ส่อพิรุธในทางที่เสียหาย ถ้าหากเราไม่เจตนาก็จริงอยู่ แต่เขาก็มองดูว่า ถ้าไม่มีเจตนาในทางอื่นก็ทำด้วยความโง่ แสดงความโง่ของเราประจานให้คนอื่นรู้
ฉะนั้นเราก็ต้องรู้จักกิริยาไหว้ นั่งไหว้ก็มี นอนไหว้ก็มี คือ เวลาที่เจ็บไข้ได้ป่วยจำเป็นลุกไม่ได้ ก็จำเป็นต้องนอนไหว้ บางทีเรานั่งอยู่ เราก็นั่งไหว้ ยืนก็ยืนไหว้ เดินไหว้ก็มี การไหว้มีได้หลายอย่าง ฉะนั้นเราก็ต้องรู้จักการกราบไหว้ คนละอย่าง ไหว้เรียกว่าอัญชลี อัญชลีก็คือการไหว้ อภิวาทก็คือการกราบ เราก็ทำให้ถูกต้อง แต่นี่สมัยใหม่ผู้หญิงนั่งราบกราบ อันนี้มันพูดตามสมัยนิยมต่างๆ แต่หลักเดินก็เหมือนกันนั่นแหละเหมือนผู้ชาย เหตุที่เปลี่ยนแปลงตามกาลสมัย ก็เนื่องจากสมัยนี้ผู้หญิงนุ่งผ้าสั้นเกินไป ถ้าไม่นั่งเผยอกราบแล้วมันไม่เหมาะสม เพราะผ้าข้างหลังมันจะเขินขึ้น เป็นอย่างนั้นจึงว่ากันไปใหม่เท่านั้น เรื่องเป็นอย่างนี้ จึงเปลี่ยนกันเป็นลักษณะผู้หญิง ลักษณะผู้ชาย ความจริงแล้วเดิมมีอย่างเดียว ไม่ได้บอกว่าผู้หญิงต้องกราบอย่างนั้น ผู้ชายต้องกราบอย่างนี้ไม่มี ความเดิมมีอยู่อย่างนี้
ฉะนั้นการกราบไหว้เป็นลักษณะที่แสดงออกถึงความเคารพ เมื่อพวกเราทั้งหลายสร้างความเคารพในตัวของเราเองเพื่อสร้างความเจริญ จะไม่เป็นไปเพื่อความเสื่อม เพราะการแสดงความเคารพพร้อมด้วยไตรทวาร คือ กายมีความเคารพ วาจาเคารพ จิตเคารพ ฉะนั้นเราต้องศึกษา กายเคารพมีลักษณะอย่างไร วาจาเคารพมีลักษณะอย่างไร จิตใจเคารพมีลักษณะอย่างไร อันนี้จะต้องสำเหนียกศึกษาในตัวของเราให้เข้าใจ
กายนี้อาจจะมียืน มีเดิน มีนั่ง มีนอน ในอิริยาบถทั้ง 4 และกิริยาอื่นๆอีกที่ส่อแสดงออกทางกาย ลักษณะไหนเป็นลักษณะที่เคารพ ถ้าจิตของเรามีความเคารพเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว เราก็จะรู้จักในตัวของเรา ที่เราใช้คำพูด เราก็ต้องศึกษาเรื่องไวพจน์หรือไวยากรณ์ของภาษาอีก เพื่อให้รู้จักคำที่ควรใช้เป็นอย่างไร คือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อยอีกอย่างหนึ่ง คำแทนตัวของผู้พูด คำแทนตัวของผู้ฟัง นี่เราก็ต้องรู้จัก ผู้น้อยพูดกับผู้ใหญ่อย่างนี้ มันก็อยู่ที่เราจะต้องใช้ เพราะฉะนั้นคำพูดที่แทนตัวเรียกว่าท่าน คือ เขา มันหรือเอ็ง มึง อย่างนี้เป็นแทนตัวของคนอื่น คำแทนตัวของเรามันก็มีอีกอย่างหนึ่ง เช่นเราจะพูดว่าผม คำว่าผมควรพูดกับคนฐานะเช่นใด เกล้ากระผมควรพูดกับบุคคลฐานะเช่นใด อย่างนี้เราก็ต้องศึกษา เพื่อเราจะใช้คำพูดได้ถูกตามหลักของไวยากรณ์ คำบางอย่างที่เราพูดกับผู้ใหญ่ ท่านห้ามคำที่เป็นเชิงบังคับ เช่น จงไป จงอยู่ จงทำ จงกิน จงดื่ม ถ้าใช้คำจงเข้าไปเรียกว่าเป็นคำบังคับ ทั้งนี้คำบังคับด้วยการบอกกล่าวมีคำเชื้อเชิญ คำอ้อนวอน คำร้องเรียน คำขอร้อง นี้เราจะต้องมาแต่งการพูดการจาของเราให้เหมาะสมตามฐานะ ตามชั้น ตามภูมิ อันนี้มีคำที่เราจะต้องใช้ มิใช่ว่าจะเป็นคำเสมอไปหมด ถ้าอย่างนั้นก็จะเสียความเคารพในคำพูด
เสียงพูดก็เหมือนกัน เราก็ต้องใช้เสียงพูดที่อ่อนโยนนิ่มนวล บางคนว่าเสียงอ่อนโยนคือเสียงกระซิบ อันนั้นเสียงกระซิบนั้นอย่างหนึ่ง เสียงกระซิบกระซาบ แต่เสียงอ่อนโยนคือเสียงที่เหมาะสมแล้วแต่ว่าผู้ฟัง ถ้าหากผู้ฟังหูตึง เราก็ต้องใช้เสียงดังขึ้นหน่อย หรือว่าเราอยู่ไหลก็ใช้เสียงดับพอที่จะได้ยิน หรือเวลาที่มีเสียงอื่นรบกวนเราจะต้องใช้เสียงขนาดไหนผู้ฟังจึงจะได้ยิน อันนี้เราก็ต้องรู้จักการใช้เสียง คือใช้คำพูดอย่างหนึ่ง ใช้เสียงอย่างหนึ่ง เสียงกระโชกโฮกฮากอันนั้นเป็นเสียงที่ไม่เคารพ เสียงกล้า เสียงสูง เสียงสูงคือการขึ้นเสียงเป็นลักษณะที่ว่าไม่สุภาพ เสียงกระโชกโฮกฮาก เสียงกล้าเป็นเสียงกล้าแข็ง เสียงกล้าแข็งเป็นเสียงประชดประชัน ถ้าอย่างนั้น ถ้าพูดกับบุคคลที่ควรเคารพ ก็เรียกว่าไม่มีความเคารพ อันนี้เราก็ต้องรู้จัก ฉะนั้นเราก็ต้องศึกษา
ทีนี้จิตของเรา เราคิดลบหลู่บุญคุณ คิดโกรธ คิดเกลียด คิดชัง คิดอิจฉาพยาบาท คิดดูหมิ่นดูแคลน เหล่นนี้เรียกว่าเป็นความคิดที่ไม่เคารพขึ้นมา เราก็จะต้องแต่งความคิดที่ดีกว่าจึงจะเรียกว่าเคารพ ฉะนั้นหลักของการเคารพก็คือเคารพทางกาย เคารพทางวาจา เคารพทางจิตใจ หากว่าเรามีคุณธรรมอันนี้ไว้ที่ตัวของเราแล้ว ความประพฤติปฏิบัติของเราก็มีความเจริญก้าวหน้า ได้รับความเมตตาอารีจากผู้อื่น ได้รับความเอื้อเฟื้อ ได้รับความอนุเคราะห์ สงเคราะห์ในทางประพฤติปฏิบัติของเรา เราก็จะเป็นที่เย็นอกเย็นใจ ยังข้อปฏิบัติของเราให้ดำเนินไปด้วยความสะดวกสบาย ฉะนั้นหลักของความเคารพ จึงเป็นคุณธรรมที่พวกเราทั้งหลาย จะต้องนำมาประพฤติปฏิบัติ ฉะนั้นในการแสดงธรรมะ จึงขอยุติไว้เท่านี้
พระปริยัติสารสุธี
เรียบเรียงในนามคณะศิษย์
13 สิงหาคม พ.ศ. 2465 บ้านตาลโกน ตำบลตาลโกน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร บิดาชื่อ นายแหลม สีลารักษ์ มารดา นางจันทร์ (มาริชิน)นายแหลมและนาง สีลารักษ์จันทร์ มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ
1. พระอาจารย์วัน อุตฺตโม
2. นายผัน สีลารักษ์
เมื่อมารดาคลอดบุตรคนที่สองได้ไม่กี่วันก็ถึงแก่กรรม ต่อมาบิดาได้แต่งงานใหม่กับ นางพิมพ์ สารทอง มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ
1. นายบุญโฮม สีลารักษ์
2. นายนิยม สีลารักษ์
3. นายดำ สีลารักษ์
ขณะที่บิดาของพระอาจารย์วันแต่งงานกับนางจันทร์ใหม่ ๆ บิดาของท่านได้ไปอยู่ที่บ้านของพ่อตาแม่ยาย ต่อมาเมื่อมารดาของพระอาจารย์วัน ถึงแก่กรรมแล้ว จึงกลับมาอยู่กับปู่ ย่า ตามเดิม และพระอาจารย์วัน ก็ติดตามบิดามาอยู่ด้วยขณะนั้นพระอาจารย์วัน มีอายุเพียงย่างเข้า 3 ขวบเท่านั้น แต่ท่านพระอาจารย์วัน ก็เป็นที่รักของตระกูลทั้งสองฝ่ายุคือ ทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา