วัตถุมงคล มีพระเครื่อง เครื่องราง เป็นต้น ในยุคแรก ๆ ของการสร้างนั้น สร้างด้วยเจตนาอันดี สร้างเพื่อเป็นพุทธบูชาบ้าง สร้างเพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนาบ้าง สร้างเพื่อบูชาอาราธนาคุ้มครองป้องกันอันตรายบ้าง ไม่ได้สร้างเพื่อการค้าพุทธพาณิชย์แต่อย่างใด จึงไม่ได้มีกำหนดกฎเกณฑ์ว่าสร้างเท่าไหร่ มีพิมพ์อะไรบ้าง เนื้ออะไรบ้าง ในยุคของพระเกจิเองก็มีการสร้างวัตถุมงคลตามแต่โอกาสอันเหมาะสม สร้างเรื่อย ๆ และแจกเรื่อย ๆ ไม่มีการนับจำนวนและตั้งกฎเกณฑ์อะไรมากมาย
ในยุคต่อมา เมื่อวัตถุมงคลเป็นที่ต้องการมากขึ้น เป็นที่เสาะแสวงหามากขึ้น จึงมีการรวบรวมพิมพ์ เนื้อหาของพระรุ่นนั้น ๆ ไว้เป็นทำเนียบหมวดหมู่เพื่อง่ายต่อการศึกษาและสะสมบูชา แม้พระสมเด็จวัดระฆังก็เหมือนกัน ในสมัยที่สมเด็จพระพุฒาจารย์โตท่านสร้าง ท่านก็ไม่ได้กำหนดพิมพ์กำหนดจำนวนอะไร สร้างเรื่อยและแจกไปเรื่อย ๆ จนคนยุคหลังรวบรวมพิมพ์ต่าง ๆ ไว้จากการสอบถามจากบุคคลที่ได้รับจากท่านหรือได้รับเป็นมรดกตกทอดสืบกันมา
พระพุทธ เนื้อตะกั่วผสมปรอท หลวงปู่ฝั้น
พระพุทธ เนื้อตะกั่วผสมปรอท หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดสมพร จังหวัดสกลนคร องค์นี้ก็เหมือนกัน เป็นพระที่เจ้าของเดิมซึ่งเป็นบุคคลที่เชื่อถือได้รับสืบทอดกันมา สามารถยืนยันตัวตนบุคคลผู้เคยครอบครองได้ นอกจากที่จะชัดเจนแล้ว เนื้อโลหะ ความเก่า รอยจาร ก็เป็นสิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาประกอบ
พระพุทธ เนื้อตะกั่วผสมปรอท หลวงปู่ฝั้น อาจาโร องค์นี้ ทราบว่าท่านสร้างสมัยที่ท่านอยู่วัดป่าภูธรพิทักษ์ สร้างประมาณปี 2495 – 2497 ซึ่งสมัยนั้นท่านจำพรรษาที่นั่น และเป็นยุคแรกที่ท่านเริ่มสร้างวัตถุมงคล สำหรับวัตถุมงคลยุคแรก ๆ ของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร โดยมากจะเป็นเนื้อตะกั่วผสมปรอท ทราบว่าท่านสร้างแม่พิมพ์เอง โดยการแกะบ้าง ถอดพิมพ์บ้าง แล้วทำการผสมตะกั่วเอง หล่อขึ้นมาเอง ผู้รู้บอกว่าข้างในมีตะกรุดที่ท่านจารด้วย
พระพุทธ เนื้อตะกั่วผสมปรอท หลวงปู่ฝั้น องค์ที่ผมนำมาเขียนบทความนี้ ผมไม่ได้เป็นเจ้าของพระ ฉะนั้นข้อมูลในการเขียน เป็นข้อมูลที่ได้ฟังมาจากเจ้าของผู้ครอบครอง เป็นผู้รับสืบทอดและยืนยันว่าเป็นพระของหลวงปู่ฝั้น
บทความแนะนำ….
พระร่วง เนื้อชินตะกั่ว หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร
พระกลีบบัว หลังพระปิดตา หลวงปู่ฝั้น จีวร เกศาแท้ ๆ
ฝากไว้เป็นตำนาน ปรอท หลวงปู่ฝั้น ทั้งกันและแก้
พิสมร เครื่องรางสร้างจากใบลานจารเหล็ก เล็กพริกขี้หนู