Menu
พระคุ้มครอง
  • Home
  • ทำบุญ
  • ธรรมะ
  • คาถา
  • นิทาน
  • นำโชค
  • เรื่องผี
  • ตำนาน
  • หนังสือ
  • เรียกจิต
  • ประเพณี
  • ภาษาวัด
  • ทายนิสัย
  • พระเครื่อง
  • เครื่องราง
  • นานาสาระ
  • ยาสมุนไพร
  • พระสายกรรมฐาน
พระคุ้มครอง

พระร่วง เนื้อชินตะกั่ว หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร

Posted on 30 สิงหาคม 20219 มกราคม 2023 by พระเครื่อง พระคุ้มครอง
พระร่วง เนื้อชินตะกั่ว หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร
พระร่วง เนื้อชินตะกั่ว หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร

พระร่วง เนื้อชินตะกั่ว หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

สำหรับ พระร่วง เนื้อชินตะกั่ว หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร เป็นพระที่สืบทอดมาจากตระกูลที่เดินทางไปกราบหลวงปู่ฝั้น บวกกับเนื้อหาความเก่าแห้งขององค์พระ

จากที่ฟังกับผู้ที่ติดตามวัตถุมงคลหลวงปู่ฝั้น พระที่หลวงปู่ฝั้นท่านสร้างเองโดยมากเป็นเนื้อชินตะกั่วผสมด้วยปรอท ท่านทำเองกับมือในสมัยที่ท่านยังอยู่ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ จ.สกลนคร ท่านจะผสมเนื้อโลหะเอง ส่วนบล็อกท่านแกะเองบ้าง ถอดพิมพ์มาจากพระองค์อื่นบ้าง ก็ท่านทำเองแจกเอง บล็อกต่าง ๆ จึงไม่เป็นระบบมาตรฐานเหมือนพระยุคศิษย์สร้างถวายอย่างเหรียญรุ่นแรก ราคาเป็นล้าน ท่านก็ไม่ได้ทำเอง เป็นเหรียญที่ศิษย์สร้างถวาย (อาจจะเป็นศิษย์เพื่อที่จะขอสร้างเหรียญก็ได้) แต่พระเครื่องที่ท่านทำเอง ท่านผสมเนื้อโลหะเอง ทำตามความคิดของท่านเอง ท่านได้แบบไหน อย่างไรก็ทำอย่างนั้น

สำหรับพระร่วงเนื้อชินตะกั่วองค์นี้ ท่านน่าจะถอดพิมพ์มาจากพระร่วงองค์ที่ท่านมี หรือศิษย์ที่ช่วยท่าน ดูท่านทำอาจจะมีพระร่วงอยู่แล้วจึงใช้ถอดพิมพ์เพื่อเทเป็นองค์พระ ความพิเศษของพระร่วง เนื้อชินตะกั่วองค์นี้มีม้วนตะกรุดอยู่ข้างใน สอดคล้องกับข้อมูลจากสายตรงหลวงปู่ฝั้นท่านอื่นได้กล่าวไว้ว่า พระชุดเนื้อชินตะกั่ว หรือจะเรียกว่าพระเนื้อตะกั่วผสมปรอท (เพราะผมไม่มีเครื่องมีอวัดค่าโลหะ) ด้านในทุกองค์จะมีตะกรุดอยู่ ข้างในม้วนตะกรุดเข้าใจว่าท่านน่าจะจารคาถาพญานกยูงทอง คือ นโมวิมุตฺตานํ นโมวิมิตฺติยา อันเป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ประจำพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น คาถานี้มีปรากฎอยู่ด้านหลังเหรียญรุ่นแรกหลวงปู่ฝั้น และรุ่นอื่น ๆ อีกหลายรุ่น ตลอดทั้งพระวัดป่ากรรมฐานสายหลวงปู่มั่นอีกหลายรูป

พุทธคุณ พระร่วง เนื้อชินตะกั่ว หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

ในส่วนของพุทธคุณ พระร่วง เนื้อชินตะกั่ว หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ผมขอกล่าวตามความเชื่อความศรัทธานะครับ ผมเองไม่มีเครื่องมือใด ๆ ในการวัดพุทธคุณ สำหรับพระร่วง เนื้อชินตะกั่ว หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ผมเชื่อว่ามีพุทธคุณเด่นด้านส่งเสริมความมั่นคงยั่งยืน ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรือง แคล้วคลาดปลอดภัย โดยเฉพาะพระเครื่องที่สร้างในยุคสงครามก่อนปี 2500 แคล้วคลาดเป็นเยี่ยมครับ

เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....

บทความที่เกี่ยวข้อง

พระนางพญา หลวงปู่ฝั้นพระนางพญา หลวงปู่ฝั้น พระนางพญาหัวใจพระไตรปิฎก พระนางพญาสายกรรมฐาน ระหว่างพระกรุอายุพันปีกับพระเกจิ หลวงปู่ครูอาจารย์ ห้อยบูชาพระไหนดีระหว่างพระกรุอายุพันปีกับพระเกจิ หลวงปู่ครูอาจารย์ ห้อยบูชาพระไหนดี พระปิดตา หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เนื้อตะกั่วผสมปรอท หลังจาร ปี 2516พระปิดตา หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เนื้อตะกั่วผสมปรอท หลังจาร ปี 2516 ที่สุดแห่งพระเนื้อผงรูปเหมือนหลวงปู่ฝั้น อาจาโร พิมพ์โต๊ะหมู่บูชาที่สุดแห่งพระเนื้อผงรูปเหมือนหลวงปู่ฝั้น อาจาโร พิมพ์โต๊ะหมู่บูชา
  • พระร่วง
  • พระหลวงปู่ฝั้น
  • สวัสดียามเช้า พระคุ้มครอง

    • คลิป VIDEO
    • คอมพิวเตอร์
    • คาถา
    • ดาวน์โหลด
    • ตำนาน
    • ธรรมะคุ้มครอง
    • นานาสาระ
    • นิทาน
    • นิสัยใจคอ
    • บ้านและสวน
    • ประเพณี
    • พระสายกรรมฐาน
    • พระเครื่อง
    • ภาษาวัด ภาษาไทย
    • ยาสมุนไพรโบราณ
    • วัดธรรมยุตในต่างประเทศ
    • ส่งคำอวยพร
    • สังฆทาน
    • สิ่งนำโชค
    • สุขภาพ
    • อาชีพและครอบครัว
    • เครื่องราง
    • เรียกจิต
    • เรื่องผี
    • แนะนำหนังสือ
    • แบ่งปัน
    • ไม้ประดับ ไม้มงคล

    บทความนิยมสุด

    บทความแนะนำ

    • ปล่อยปลาหน้าเขียง
    • พระคาถา หัวใจ ๑๐๘
    • 10 อันดับพระปิดตายอดนิยม
    • ที่สุดของพระเครื่อง เรื่องต้องรู้
    • เกี่ยวกับเรา

    รวมคาถาแนะนำ

    • รวมวิธีเรียกจิต
    • รวมคาถาเสกสีผึ้ง
    • รวมคาถาบูชาขุนแผน
    • รวมคาถาบูชาปลัดขิก
    • รวมบทความทั้งหมด 5,000 กว่าบท

    เว็บไซต์แนะนำ

    • สื่อการสอน
    • ยามอุบากอง
    • ปฏิทินวันพระ
    • ส่งภาพสวัสดียามเช้า
    • ดาวน์โหลดแบบเอกสาร
    เนื้อหาที่ปรากฏบนเว็บไซต์นี้ เป็นความเชื่อที่สืบทอดกัน เป็นความเชื่อเฉพาะกลุ่ม หรือเฉพาะบุคคล : นักเขียนหรือทางเว็บไซต์เป็นแค่ผู้เสนอความรู้เหล่านั้นมาเผยแพร่ต่อ นักเขียนหรือทางเว็บไซต์จะไม่รับผิดชอบหากท่านนำไปใช้แล้ว ไม่เป็นไปตามความประสงค์ โปรดใช้วิจารณญาณ ภาพวัตถุมงคลที่นำมาประกอบบทความนี้ เป็นแต่เพียงภาพประกอบบทความเท่านั้น ยังไม่สามารถยืนยันความแท้หรือไม่แท้ของวัตถุมงคลนั้น ๆ ได้ เว็บไซต์นี้ไม่ได้ขายพระเครื่อง หากท่านสนใจบูชาพระเครื่องชมได้ที่เว็บไซต์ prakumkrong.99wat.com สงวนลิขสิทธิ์ Copyright www.prakumkrong.com