
สารทไทย เป็นเทศกาลทำบุญในวันสิ้นเดือน 10 คือวันแรม 15 ค่ำ ของทุกปี (ส่วนวันสารทจีน ขึ้น 15 เดือน 9) ในวันสารทไทย ชาวบ้านครัวเรือนชาวไร่ชาวนาจะนำพืชพรรณธัญญาหารที่เก็บเกี่ยวแล้วมาปรุงทำเป็นข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาสเพื่อถวายแด่พระสงฆ์ คำว่านั้น “สารท” เป็นคำภาษาโบราณของทางอินเดีย ซึ่งหมายถึง “ฤดู” ชาวบ้านจึงรู้สึกยินดีที่พ์ชพรรณธีญญาหารของตนผลิตดอกออกผลบริบูรณ์ จึงนำผลผลิตแรกนำมาทำบุญถวายพระกัน สารทจึงถือว่าเป็นเทศกาลแห่งความรื่นเริง ซึ่งนอกจากทำบุญตามปกติแล้ว ก็มีการอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพชนผู้ล่วงลับไปด้วย
กิจกรรมในวันสารทไทย
กิจกรรมที่จะกล่าวต่อไปนี้ บางกิจกรรมเป็นประเพณีท้องถิ่นซึ่งจะมีในเฉพาะท้องถิ่นหรือภาคเท่านั้น เช่น พิธีการชิงเปรตเป็นประเพณีท้องถิ่นของภาคใต้ แต่ที่เหมือนกันทุกภาคนั่นก็คือการทำบุญในพระพุทธศาสนา มีการทำบุญตักบาต สมาทานศีล และฟังธรรมเป็นต้น
- ทำบุญตักบาตรในเทศกาลวันสารทไทย
- มีประเพณีจัดหมรับ
- พิธีการชิงเปรต
- ประเพณีทำบุญอุทิศตายาย
- ตักบาตรด้วยขนมกระยาสารท

สิ่งที่ควรทำและรักษาประเพณีวันสารทไทย
- ทำกระยาสารทเพื่อทำบุญตักบาตรและเลี้ยงญาติมิตร
- กวนข้าวทิพย์หรือข้าวมธุปายาส
- ทำบุญตักบาตร
- บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์
กิจกรรมวันสารทไทยให้อะไรบ้าง
- เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพชนแม้ล่วงลับไปแล้วก็ตาม
- เป็นการผูกมิตรไม่ตรีกับเพื่อนบ้านแม้ต่างถิ่นก็ตาม
- เพื่อเป็นจรรโลงพระพุทธศาสนาไว้ด้วยประเพณีที่ไม่ขัดกับการบำเพ็ญบุญ
- เป็นการแสดงความเคารพกตัญญูต่อพระแม่โพสพซี่งมีข้าวเป็นสัญลักษณ์
คำอธิษฐานบุญ อุทิศบุญ ทำบุญวันสารท
หากท่านได้ทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทานเนื่องในวันสารทแล้ว เพื่อที่จะอุทิศบุญแก่เหล่าวิญญาณ พึงอธิษฐานว่า
“ขอให้ผลบุญที่เกิดขึ้นจากการ…………….นี้ จงเป็นผลสำเร็จแก่เหล่าวิญญาณทุกตนที่อยู่ในบริเวณนี้ หรือรับทราบการทำบุญนี้แม้ในภายหลังก็ตาม ขอให้เหล่าดวงวิญญาณโปรดได้อนุโมทนาส่วนบุญนี้ ถ้าท่านมีทุกข์ ขอให้พ้นจากทุกข์ ถ้ามีสุขแล้ว ขอให้สุขยิ่งขึ้นไปด้วยเทอญ”