
เสนาสนะ เป็นศัพท์บาลี มาจากศัพท์ว่า “เสน” (ที่นอน) และ “อาสน” (ที่นั่ง) เป็น เสนาสนะ ใน วิภังคปกรณ์ แห่ง พระไตรปิฎก เล่มที่ 35 พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ 2 กล่าวไว้ว่า เสนาสนะ ได้แก่ เสนาสนะคือเตียงบ้าง เสนาสนะ คือตั่งบ้าง เสนาสนะคือที่นอนบ้าง เสนาสนะคือหมอนบ้าง เสนาสนะคือวิหารบ้าง เสนาสนะคือเพิงบ้าง เสนาสนะคือปราสาทบ้าง เสนาสนะคือป้อมบ้าง เสนาสนะคือโรงบ้าง เสนาสนะคือที่เร้นลับบ้าง เสนาสนะคือถ้ำบ้าง เสนาสนะ คือโคนไม้บ้าง เสนาสนะคือพุ่มไม้ไผ่บ้าง หรือภิกษุยับยั้งอยู่ในที่ใด ที่นั้นทั้งหมด ชื่อว่า เสนาสนะ พอสรุปได้ว่าที่นั่งที่นอน จะเป็นที่นั่งที่นอนประจำหรือถาวรก็ตาม ที่นั่งที่นอนที่เคลื่อนที่ได้หรือเคลื่อนที่ไม่ได้ก็ตาม (ยกเว้นรถ) ถือว่าเป็นเสนาสนะ
อิมานิ มะยัง ภันเต เสนาสะนานิ อาคะตานาคะตัสสะ จาตุททิสัสสะ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ เสนาสะนานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายเสนาสนะเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ผู้มีในทิศทั้ง ๔ ที่มาแล้วก็ดี ยังไม่มาก็ดี ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับเสนาสนะเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ
อานิสงส์ของการถวายเสนาสนะนั้นมีมากมาย เพราะถือว่าให้ที่นั่งที่นอนที่อยู่อาศัย เหมือนดังให้ทุกสิ่งอย่าง ซึ่งท่านสามารถอ่านอานิสงส์วิหารทานได้ ในที่นี้ผมขออนุญาตเพิ่มเติมอานิสงส์ของการถวายเสนาสนะตามความคิดเห็นของผมนะครับ