
วันปีใหม่ของไทยในปัจจุบันตามประกาศของรัฐบาลคือวันที่ 1 มกราคมของทุกปี ซึ่งวันปีใหม่นี้เป็นวันปีใหม่ที่ประกาศขึ้นมาใช้เมื่อ 79 ปีที่ผ่านมา แต่สำหรับชาวภาคใต้แล้ว วันปีใหม่นี้ถือเป็นวันสำคัญมาก เพราะเป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ถึงแม้ว่าจะมีนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก แต่วิถีชีวิตและขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวใต้ก็ยังคงรักษาไว้เช่นเดิม
กิจกรรมวันปีใหม่ของชาวภาคใต้
สำหรับชาวใต้แล้ววันขึ้นปีใหม่ตามหลักสากลนี้ถือเป็นวันแห่งการต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวยังสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของภาคใต้ เช่น เกาะสิมิลัน, เขื่อนรัชชประภา สุราษฎร์ธานี, แหลมกระทิง ภูเก็ต, บ้านคีรีวง นครศรีธรรมราช, เกาะกำตก จังหวัดระนอง, เกาะเขาใหญ่ จังหวัดสตูล เป็นต้น ซึ่งทั้งหน่วยงานเอกชนและรัฐบาลได้มีการจัดกิจกรรมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่สำหรับชาวใต้และนักท่องเที่ยวได้ชมถึงขนบธรรมเนียมประเพณีไทยและสากล ดังนี้
1.การแสดงศิลปวัฒนธรรมของชาวใต้
การแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวใต้ให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้รับชมกัน เช่น การแสดงหนังตะลุง, การแสดงโนรา, เพลงบอก เพลงนา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการแสดงวัฒนธรรมไทยมุสลิมที่อาศัยอยู่ทางภาคใต้ให้ได้รับชมด้วย เช่น รองเง็ง ซำแปง มะโย่ง (การแสดงละคร) ลิเกฮูลู (คล้ายลิเกภาคกลาง) และซิละ เป็นต้น ซึ่งการแสดงจะจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคมจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม เพื่อให้ประชาชนได้ชมศิลปวัฒนธรรมที่สวยงามและหาดูได้ยาก
2.การจัดงานการนับถอยหลังหรือเคาต์ดาวน์
เมื่อถึงคืนวันที่ 31 ธันวาคมจะมีการจัดเวทีให้มีการแสดงทั้งไทยและสากลสลับหมุนเวียน สร้างความบันเทิงให้กับผู้ที่มาร่วมงาน เพื่อรอเวลาการการนับถอยหลังหรือเคาต์ดาวน์ช่วงก่อนเวลา 00.00 น.ของวันที่ 1 มกราคม ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามหลักสากลนั่นเอง และช่วงเข้าสู่ปีใหม่จะมีการจัดแสดงแสง สี เสียงและจุดพลุที่สวยงามเป็นการเฉลิมฉลองปีใหม่ เป็นการเริ่มต้นด้วยความยิ่งใหญ่เป็นขวัญและกำลังใจให้ทุกคนมีความฮึกเหิมในช่วงต้นปี ไม่ว่าจะเริ่มกิจการงานใดก็สำเร็จเป็นพลุแตกนั่นเอง
3.การทำบุญต้อนรับปีใหม่
เมื่อเฉลิมฉลองต้อนรับปีใหม่ในช่วงเที่ยงคืนไปแล้ว เมื่อเข้าสู่ข้าวของวันที่ 1 มกราคม ชาวบ้านต่างเตรียมสำหรับอาหารเพื่อไปทำบุญตักบาตรตามสถานที่ต่าง ๆ ที่หน่วยงานราชการจัดหรือบางครอบครัวก็เดินทางไปทำบุญตักบาตรที่วัด ฟังพระธรรมเทศนา ประพรมน้ำมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล หรือบางครอบครัวยังเดินทางไปยังสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาเพื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นการเริ่มต้นปีด้วยความเป็นสิริมงคลให้กับตนเองอีกด้วย
4.การสวดมนต์ข้ามปี
สำหรับชาวใต้ที่นับถือศาสนาพุทธจะมีการสวดมนต์ข้ามปีเพื่อสร้างความสงบให้กับจิตใจ ซึ่งจัดเป็นกิจกรรมที่สามารถทำร่วมกันได้ทั้งครอบครัว เป็นการสร้างความสามัคคีให้กับคนในครอบครัว นอกจากชาวพุทธแล้ว ชาวใต้ที่นับถือศาสนาอิสลามก็ได้มีการละหมาดต้อนรับปีใหม่ เพื่อสร้างปัญญาและความสงบให้กับผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามด้วย ซึ่งการสวดมนต์ข้ามปีนอกจากช่วยเสริมความเป็นสิริมงคลให้กับตนเองและครอบครัวแล้ว ยังเป็นการช่วยลดอุบัติเหตุทางถนน เพราะการสวดมนต์ไม่มีการดื่มเครื่องดื่มที่แอลกอฮอล์ จึงเป็นการสร้างความสงบสุขให้กับสังคมอีกด้วย จะเห็นว่ากิจกรรมที่วันปีใหม่ที่จัดขึ้นของภาคใต้จะเน้นไปทางสากล เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาจากต่างประเทศเข้ามาท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดยาวเป็นจำนวนมาก แต่ก็ไม่ลืมที่จะสอดแทรกวัฒนธรรมและศิลปะความเป็นไทยเข้าให้คนต่างชาติให้ชมอย่างเหมาะสมด้วย