
สำหรับบทความเกี่ยวกับพระขุนแผนใบพุทรา กรุวัดใหญ่ชัยมงคล ผมได้เขียนมาแล้วครั้งหนึ่ง ครั้งนี้ผมได้พระขุนแผนใบพุทรา กรุวัดใหญ่ชัยมงคล เนื้อชินเงินมาอีกองค์นี้ ฉะนั้น บทความนี้ผมจะเขียนสรุปโดยย่อเกี่ยวกับพระขุนแผนใบพุทรา กรุวัดใหญ่ชัยมงคล ตามที่ได้อ่าน ๆ มาจากที่ต่าง ๆ ครับ
- พระขุนแผนใบพุทราถูกค้นพบที่กรุวัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา
- พระขุนแผนใบพุทรา กรุวัดใหญ่ชัยมงคล แตกกรุครั้งแรกพร้อมขุนแผนเคลือบเมื่อปี พ.ศ.2445
- พระขุนแผนใบพุทรา กรุวัดใหญ่ชัยมงคล เป็นพระพุทธปางมารวิชัย ประทับบนฐานบัว 2 ชั้น มีพระรัศมีเป็นวงกลมล้อมรอบพระเศียรอยู่เบื้องหลัง ใต้ฐานบัวมีก้านยื่นยาวขึ้นมา เป็นพระลอยองค์โดยไม่มีปีกที่คล้ายใบพุทรา จึงได้เรียกกันว่า พระขุนแผนใบพุทรา หรือพระใบพุทรา
- พระกรุวัดใหญ่ชัยมงคล ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ไหนก็ตาม ถือว่าเป็นพระเครื่องที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์ที่ได้รับการยกย่องว่าทรงเป็นมหาราชที่ยิ่งใหญ่
- พระขุนแผนใบพุทรา กรุวัดใหญ่ชัยมงคล มีอายุการสร้าง 400 กว่าปี
- พระขุนแผนใบพุทรา กรุวัดใหญ่ชัยมงคล มีทั้งเนื้อชินและเนื้อดินเผา
- พระขุนแผนใบพุทรา กรุวัดใหญ่ชัยมงคล เนื้อดินเผาจะได้รับความนิยมมากกว่า
- พระขุนแผนใบพุทรา เป็นพระเครื่องอยุธยาที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
- วัดใหญ่ชัยมงคลเดิมมีชื่อว่าวัดป่าแก้ว เป็นพระอารามหลวงในสมัยของพระเจ้าอู่ทองซึ่งพระองค์ทรงได้สร้างไว้เมื่อปี พ.ศ.1900
- สมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์ได้ชัยชนะในสงครามยุทธหัตถีกับสมเด็จพระมหาอุปราชา และได้ทรงสร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่ขึ้นที่วัดแห่งนี้ ต่อมาได้พระราชทานนามใหม่ว่า วัดใหญ่ชัยมงคล เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะในสงครามยุทธหัตถี และได้สร้างพระเครื่องพิมพ์ต่าง ๆ บรรจุไว้ในพระเจดีย์ในปี พ.ศ.2135-36
- แห่งนี้เคยเป็นที่จำพรรษาของสมเด็จพระพนรัตน์ พระอาจารย์องค์สำคัญของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
- เมื่อปีพ.ศ. 2478 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดใหญ่ชัยมงคลเป็นโบราณสถานของชาติ
- หลังจากที่เป็นวัดร้างมานาน ในปี พ.ศ. 2499 จึงมีพระสงฆ์เข้าไปจำพรรษาในวัดใหญ่ชัยมงคล โดยมี พระครูภาวนารังสี (เปลื้อง เริงเชียร) เป็นผู้เริ่มบูรณะปฏิสังขรณ์
- พุทธคุณ พระขุนแผนใบพุทรา กรุวัดใหญ่ชัยมงคล เด่นทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย และคงกระพันชาตรีตามแบบพระสมัยโบราณ