วันนี้ไปเจอเพื่อนมาหลังจากที่ไม่ได้เจอกันนานแล้ว เมื่อถามไถ่สนทนาในเรื่องความเป็นอยู่พอสมควรแล้ว ผมจึงได้ถามว่ามีพระอะไรโชว์บ้างช่วงนี้ เพื่อนจึงได้ควักพระมเหศวรออกมาให้ดู พร้อมกับพูดว่าถูกหวยสามหมื่นจึงไปเช่าพระมเหศวรมา ผมจึงถามต่อว่า เช่ามาเท่าไหร่ เพื่อนก็ตอบว่า เขาเปิดราคามาที่ 25,000 บาท แต่ต่อราคาได้มาที่ 22,000 บาท ไม่รวมตลับพระนะ เป็นพระมเหศวรสุพรรณบุรี เนื้อเชิน ผมเองก็ไม่ได้ถามอะไรต่อ แต่ก็ขอยืมโทรศัพท์เพื่อนถ่ายรูปไว้แล้วให้เขาส่งมาทางไลน์ให้ ผมอาจจะไม่ได้เน้นภาพสวยมากนัก พอได้ภาพมาเขียนอะไรสักอย่างประกอบบทความไปเรื่อย ๆ หากผมจะเขียนบทความตามแบบฉบับเขาคงจะไม่ไหว ฉะนั้น ขอนำมาสรุปเป็นข้อ ๆ ไป เนื่องจากผมนำมาจากหลาย ๆ บางทีอาจจะตกบกพร่องในเรื่องที่มาของข้อมูลครับ
- พระมเหศวรแตกกรุจากพระปรางค์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2456
- ในการแตกกรุครั้งนั้นได้พบพระพิมพ์ต่าง ๆ มากมายรวมถึงพระพิมพ์หนึ่งในชุดเบญจภาคี คือ พระผงสุพรรณ นอกจากนั้นยังมีของมีค่าอื่น ๆ แก้ว แหวน เงิน ทอง ใบลานทอง เป็นต้น
- พระมเหศววรจัดเป็นหนึ่งในชุดเบญจภาคีพระยอดขุนพลเนื้อชิน
- พระมเหศวรขึ้นที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี เท่านั้น ไม่มีที่กรุอื่น ฉะนั้น จึงถือว่าเป็นพระเครื่องเอกลักษณ์เฉพาะของสุพรรณี
- พระมเหศวร มีพุทธลักษณะที่พิเศษคือเป็นพระพิมพ์ 2 หน้า โดยวางรูปแบบให้พระทั้งสองด้านประทับนั่งกลับหัวสวนทางกัน เมื่อก่อนเรียกกันว่า “พระสวน” ตามลักษณะของพิมพ์พระที่เห็นได้ชัด ต่อมาจึงเรียกใหม่ให้ไพเราะ เป็นที่น่าสนใจและดูเข้มขลังยิ่งขึ้นว่า “พระมเหศวร”
- “พระมเหศวร” ที่เป็นชื่อเรียกใหม่ ไม่ได้แปลว่า “สวน หรือ มีลักษณะที่สวนกัน” เพียงแต่เป็นคำพ้องเสียงเท่านั้น
- “พระมเหศวร” ความเข้าใจของผมน่าจะมาจากคำว่า มหา แปลว่า ใหญ่ + อิศวร แปลว่า เจ้า, ผู้เป็นใหญ่ “มเหศวร จึง น่าจะแปลว่า เจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ในเมื่อมาใช้เรียกพระเครื่องในพระพุทธศาสนา ก็ควรจะหมายถึง “พระพุทธเจ้าผู้ยิ่งใหญ่, พระพุทธเจ้าผู้มีอานุภาพมาก, พระเครื่องที่ยิ่งใหญ่, พระเครื่องที่มีพลังพุทธคุณมาก” จะไปหมายถึงเทวดาในศาสนาอื่นได้อย่างไร
- แต่นักวิชาการบางท่านให้ความเห็นว่า “พระมเหศวร” อาจจะสื่อถึงท่านผู้สร้างพระพิมพ์นี้ขึ้นมา ซึ่งหมายถึงพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง
- แต่ก็มีบางท่านให้ความเห็นต่างอีกว่า “พระมเหศวร” มาจากชื่อของ “เสือมเหศวร” ซึ่งเป็นขุนโจรผู้ยิ่งใหญ่แห่งเมืองสุพรรณบุรี คำกล่าวนี้มีไม่มีน้ำหนักเพียงพอ เพราะชื่อของเสือมเหศวรนั้นเพิ่งจะปรากฏขึ้นเมื่อราวสงครามโลกครั้งที่ 2 นี้เอง แต่ชื่อของพระมเหศวรนั้น ได้เรียกกันมาตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เสียอีก เสือมเหศวรนั่นแหล่ะที่น่าจะเอาชื่อพระที่เป็นที่รู้จักกันมาแล้วมาตั้งชื่อเรียกของตนเอง เพื่อให้ดูน่าเกรงขาม สำหรับข่มลูกน้อง ชาวบ้านทั้วไป และเสือด้วยกันในสมัยนั้น
- พระมเหศวร เป็นพระประเภทเนื้อชิน มีทั้งชินเงิน และชินตะกั่ว
- พระมเหศวร มีหลายพิมพ์ แต่ในวงการแบ่งแยกเป็นพิมพ์หลัก ๆ ได้ 5 พิมพ์ ได้แก่
– พระมเหศวร พิมพ์ใหญ่
– พระมเหศวร พิมพ์กลาง
– พระมเหศวร พิมพ์เล็ก
– พระสวนตรง
– พระสวนเดี่ยว - นอกจากนั้นแล้วยังมีพระมเหศวรพิมพ์หลังนาคปรก พิมพ์หลังซุ้มระฆัง แต่มีจำนวนน้อยมาก
พุทธคุณพระมเหศวร
พระในสมัยก่อน พุทธคุณโดยมากจะโดดเด่นด้านแคล้วคลาดปลอดภัย คงกระพันชาตรี มหาอำนาจ คุมคน คุมกองทัพ ศรัตรูเกรงขาม แต่อย่างไรก็ตามไม่ขาดเมตตามหานิยมตามแบบฉบับพระเครื่องเมืองขุนแผน
ขอบคุณ ข้อมูลจากเพจ “สมาคมคนรักษ์พระกรุ ดิน ชิน ผง”
คาถาบูชาพระมเหศวร ประจำบทนี้
หัญญะติ ปาปะเก ธัมเม | หังสาเปติ ปะรัง ชะนัง |
หังสะมานัง มะหาวีรัง | หันตะปาปัง นะมามิหัง |
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงกำจัดธรรมทั้งหลายอันเป็นบาปเสียได้ ยังชนอื่นให้ร่าเริง (ในธรรมอันเป็นกุศล) ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้มีพระหฤทัยร่าเริงกล้าหาญยิ่งใหญ่กำจัดบาปได้
ภาวนาคาถานี้ผู้คนเกรงขาม ภาวนาเข้าสู่สงคราม ข้าศึกศัตรู หมู่นักเลง ใจหู่เกรงกลัวเรา ไม่คิดพยาบาท ทำร้ายเรา เป็นคาถามหาอำนาจอีกบทหนึ่ง
คำว่า พระมเหศวร เป็นชื่อเรียกพระเครื่องพิมพ์หนึ่งที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี ไม่ใช่ชื่อเรียกเทพเจ้าหรือขุนโจรแต่อย่างไร