พระเนื้อตะกั่วสนิมแดง ปางห้ามญาติ กรุวัดวังเพิ่ม เมืองขอนแก่น
สถานที่พบ : กรุวัดวังเพิ่ม จังหวัดขอนแก่น
ศิลปะ ยุค : ศิลปะลพบุรียุคปลาย
จำนวนที่พบ : สภาพสมบูรณ์ประมาณ 8,000 องค์
พิมพ์
แบ่งตามขนาดองค์พระ
- พิมพ์ใหญ่
- พิมพ์เล็ก
แบ่งตามปางหรือพุทธลักษณะ
- พิมพ์พนมมือ (พนมกร น่าจะเป็นพระอัครสาวก)
- พิมพ์ห้ามพยาธิ (ห้ามเจ็บห้ามไข้), ห้ามญาติ (ห้ามญาติพี่น้องทะเลาะเบาะแว้งกัน)
เนื้อพระ
- เนื้อชินเงิน
- เนื้อตะกั่วสนิมแดง
- ทราบว่าพบเนื้อสัมฤทธิ์ด้วย
วงการพระเครื่องเรียกกรุวังเพิ่มว่า พระร่วงยืน ไม่ทราบว่าทำไมต้องเรียกว่าพระร่วง ไม่น่าจะเกี่ยวกับพระร่วงเจ้า หรือเมื่อก่อนดินแดนแถบนี้อยู่ภายใต้การปกครองของพระร่วงเจ้า หรือว่าเป็นพระที่สร้างในแผ่นดินยุคสุโขทัยตอนต้น จึงเรียกว่าพระร่วงตามกษัตริย์อาณาจักรสุโขทัยทุกพระองค์
สำหรับพระที่ผมนำมาประกอบบทความนี้ เป็นของพระอาจารย์ท่านหนึ่งซึ่งผมขอถ่ายรูปไว้ ท่านเมตตาเล่าให้ฟังว่า ได้จากถ้ำแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น องค์พระไหลออกมาจากถ้ำ (เลื่อน,ไหล สไลด์ ประมาณนั้น ผมไม่ได้ถามละเอียด) ลักษณะเป็นพระเนื้อตะกั่วสนิมแดง ได้ความเก่า สวยงามมาก (ผมยังไม่ได้อ่านประวัติจากลิงค์ที่แนบมาไม่แน่ใจว่ามีการพบในลักษณะคล้ายกันไหม แต่เข้าใจว่าพระลักษณะแบบนี้มีการพบเจอเรื่อย ๆ ครั้งละไม่มาก)
ที่มา : https://www.web-pra.com/amulet/amulet/พระกรุ-เมืองขอนแก่น/item/show/9001