ความเชื่อมั่นศรัทธานำมาซึ่งรูปแบบต่าง ๆ ของการแสดงออกต่อบุคคลที่เราเคารพศรัทธา งาช้างขนาดใหญ่ได้ถูกนำมาแกะเป็นวัตถุมงคลรูปเหมือนเหรียญหลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร
วัตถุมงคลชิ้นนี้มีขนาดใหญ่ ขนาดประมาณ 6×5 ซ.ม. ผมไม่ทราบชัดว่าผู้แกะคือใครเป็นพระสงฆ์หรือฆราวาสหรือแกะออกมาเมื่อใด ด้านหน้าจะไม่เหมือนหลวงปู่ฝั้นที่อยู่ในเหรียญรุ่นเจ็ดมากนัก แต่เห็นได้ชัดถึงความตั้งใจของผู้ที่ทำขึ้นมา
ด้านหน้าเป็นรูปหลวงปู่ฝั้น ครึ่งองค์ หันข้าง เหมือนอย่างเหรียญหลวงปู่ฝั้น รุ่น 7 ด้านล่างมีข้อความว่า “พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร” ไม่ผิดอาจารย์แน่
ด้านหลังมีคาถานกยูงทอง แกะนูนด้วยอักขระขอม อ่านว่า “นะโม วิมุตตานัง นะโมวิมุตติยา”
ความพิเศษของพระงาแกะหลวงปู่ฝั้นนี้
- ไม่สามารถระบุผู้แกะได้
- ไม่สามารถระบุยุคในการจัดสร้างได้
- แกะด้วยงาชิ้นใหญ่
- แกะเป็นอักขระนูน ซึ่งยากและใช้เวลานานพอสมควร
- แกะเหมือนเหรียญหลวงปู่ฝั้น รุ่นที่ 7
- มีคาถานกยูงทองอันเป็นพระคาถาประจำพระสายกรรมฐานหลวงปู่มั่น
บทความนี้ และบทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ ผู้เขียนมีเจตนาในการนำเสนอความเชื่อความศรัทธาของคนในยุคหนึ่ง หรือของกลุ่มชนหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาให้ท่านทำการแสวงหามาเพื่อบูชาแต่อย่างใด ผมเองก็มีแต่เพียงภาพถ่ายเท่านั้น