Skip to content
พระคุ้มครอง

วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง คาถา สิ่งศักดิ์สิทธิ์

  • Home
  • ทำบุญ
  • ธรรมะ
  • คาถา
  • นิทาน
  • นำโชค
  • เรื่องผี
  • ตำนาน
  • หนังสือ
  • เรียกจิต
  • ประเพณี
  • ภาษาวัด
  • ทายนิสัย
  • พระเครื่อง
  • เครื่องราง
  • นานาสาระ
  • ยาสมุนไพร
  • พระสายกรรมฐาน
พระคุ้มครอง

วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง คาถา สิ่งศักดิ์สิทธิ์

ตำนานบั้งไฟพญานาค กับความเชื่อที่อยู่คู่ชาวอีสานมายาวนาน

พระคุ้มครอง, 1 ตุลาคม 202021 กรกฎาคม 2021
เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....

ตำนานบั้งไฟพญานาค กับความเชื่อที่อยู่คู่ชาวอีสานมายาวนาน

ภาคอีสาน ถือเป็นภาคที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมและเรื่องราวอันเป็นตำนาน ที่ชาวบ้านสืบต่อกันมายาวนาน และหนึ่งในความเชื่อที่ยังคงถูกพูดถึง ณ ปัจจุบัน คงหนีไม่พ้น “ตำนานบั้งไฟพญานาค” เพราะเป็นสิ่งที่ยังไม่มีใครสามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ อีกทั้งยังเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ยากเกินอธิบาย ทำให้มีบรรดานักท่องเที่ยว และชาวบ้านต่างพามาชมความสวยงามของบั้งไฟพญานาคเป็นประจำทุกปี เราจึงนำเรื่องเล่าในตำนานของบั้งไฟพญานาค มาบอกกัน

ประวัติบั้งไฟพญานาคตามตำนาน

หากจะพูดถึงตำนานของบั้งไฟพญานาค ต้องย้อนกลับไปตามพุทธประวัติ เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้ พระองค์ได้เผยแผ่ศาสนาไปทั่วชมพูทวีป พญานาคีผู้ยิ่งใหญ่ในสายน้ำได้เกิดความศรัทธา จึงได้จำแลงกายเป็นบุรุษเพื่อขอบวชกับพระพุทธเจ้า แต่ค่ำคืนหนึ่งพญานาคีเกิดเผลอหลับจึงแปลงกายกลับเป็นร่างเดิม เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบ จึงขอให้ลาสิกขา เนื่องจากเดรัจฉานไม่สามารถบวชได้ พญานาคียอมทำแต่โดยดี เพียงแค่ขอให้กุลบุตรที่จะบวชให้เรียกขานว่า “นาค” เพื่อเป็นศักดิ์ศรีของพญานาค จากนั้นต่อมากุลบุตรที่ต้องการจะบวช จะถูกเรียกว่าพ่อนาค จากนั้นเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อกลับมาสู่โลก พญานาคี นาคเทวี และเหล่าบริวารจะจัดทำเครื่องบูชา อีกทั้งพ่นบั้งไฟถวาย จึงเป็นที่มาของ “บั้งไฟพญานาค” ตามความเชื่อของชาวบ้าน

ตำนานบั้งไฟพญานาค กับความเชื่อที่อยู่คู่ชาวอีสานมายาวนาน
ผู้คนจำนวนมากรอชมปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคบริเวณวัดอาฮงศิลาวาส จ.บึงกาฬ ในวันออกพรรษาปี 2563

ปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้

บั้งไฟพญานาค หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า บั้งไฟผี เป็นปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ ที่ทุกวันนี้หลายคนยังหาคำตอบ ถึงการที่มีเปลวไฟพุ่งขึ้นมาจากน้ำ โดยมีลักษณะเป็นลูกไฟสีชมพู ไม่มีเสียง ไม่มีกลิ่น และไม่มีควัน ลอยพุงขึ้นมาจากแม่น้ำโขง อีกทั้งพุ่งขึ้นตั้งแต่ระดับ 1-30 เมตร ลอยไปในอากาศประมาณ 50-150 เมตร เป็นระยะเวลาเกือบ 10 วินาที ซึ่งเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นปีละครั้ง และตรงกับช่วงวันออกพรรษา หรือขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 อาจตรงกับวันแรม 1 ค่ำ หรือขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของประเทศไทย

พบได้ในแถบจังหวัดภาคอีสานเท่านั้น

บั้งไฟพญานาค จะปรากฏขึ้นให้คนเห็นประมาณ 3-7 วัน และจะเกิดขึ้นในจังหวัดแถบภาคอีสาน อย่าง หนองคาย หน้าวัดไทย , บ้านน้ำเป อำเภอโพนพิสัย และวัดอาฮง อำเภอบึงกาฬ เป็นต้น จากปรากฏการณ์นี้มีนักวิทยาศาสตร์ และผู้ศึกษาหลายกลุ่ม พยายามอธิบายถึงที่มา ว่าอาจเกิดจากก๊าซมีเทน-ไนโตรเจน หรือฟอสฟอรัส ที่เกิดจากการย่อยสลายของซากพืชและซากสัตว์ภายในแม่น้ำ และนี่คือตำนานบั้งไฟพญานาค กับปรากฏการณ์ความลึกลับที่น่าค้นหา และรอคอยให้คุณได้เข้าไปสัมผัสด้วยตาของตัวเอง ใครที่ยังไม่มีโอกาสได้ไปเห็นบั้งไฟ ควรลองไปชมสักครั้งในชีวิต


เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตำนานเมดูซา (Medusa) สัตว์ประหลาด กอร์กอนตำนานเมดูซา (Medusa) อสุรกายในเทพนิยายของกรีก นางพรายตานีเรื่องเล่าขาน ตำนานผีตานี ภูตสาวสวยที่สิงสถิตอยู่ในต้นกล้วย ประวัติของบึงบอระเพ็ด กับตำนานเจ้าแม่หมอนทองผู้พิทักษ์บึงอันยิ่งใหญ่ประวัติของบึงบอระเพ็ด กับตำนานเจ้าแม่หมอนทองผู้พิทักษ์บึงอันยิ่งใหญ่ ตำนานผีถ้วยแก้ว การสื่อสารระหว่างมนุษย์กับดวงวิญญาณผ่านถ้วยแก้วตำนานผีถ้วยแก้ว การสื่อสารระหว่างมนุษย์กับดวงวิญญาณผ่านถ้วยแก้ว
ตำนาน ตำนานประวัติเรื่องเล่า

แนะแนวเรื่อง

Previous post
Next post

สวัสดียามเช้า พระคุ้มครอง

  • คลิป VIDEO
  • คอมพิวเตอร์
  • คาถา
  • ดาวน์โหลด
  • ตำนาน
  • ธรรมะคุ้มครอง
  • นานาสาระ
  • นิทาน
  • นิสัยใจคอ
  • บ้านและสวน
  • ประเพณี
  • พระสายกรรมฐาน
  • พระเครื่อง
  • ภาษาวัด ภาษาไทย
  • ยาสมุนไพรโบราณ
  • วัดธรรมยุตในต่างประเทศ
  • ส่งคำอวยพร
  • สังฆทาน
  • สิ่งนำโชค
  • สุขภาพ
  • อาชีพและครอบครัว
  • เครื่องราง
  • เรียกจิต
  • เรื่องผี
  • แนะนำหนังสือ
  • แบ่งปัน
  • ไม้ประดับ ไม้มงคล

เว็บไซต์แห่งนี้ นำเสนอบทความเกี่ยวกับ วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง มนต์คาถา พิธีกรรมต่าง ๆ
ซึ่งทั้งหมด เป็นที่พึ่งทางจิตใจ เป็นความรู้ เป็นความเชื่อที่สืบทอดต่อกันมา
ทางเราไม่อาจจะพิสูจน์ได้ว่า ความเชื่อเหล่านั้นเป็นจริงหรือไม่
ผู้เขียนบทความ ไม่อาจจะรับรองความเชื่อนั้นว่าจะได้ผลจริง หากท่านนำไปปฏิบัติตาม
หน้านโยบายความเป็นส่วนตัว

บทความต่าง ๆ บนเว็บไซต์นี้ แม้ทางเรานำเสนอโดยการศึกษาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ จึงมาเขียน ฉะนั้น ไม่อนุญาตให้คัดลอกบทความโดยพยัญชนะ