เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....
วันหนึ่งผมกำลังนั่งส่องพระเครื่องกับเพื่อน ๆ อยู่ แล้วน้องสาวผมก็เข้ามาแล้วถามว่าพระองค์นี้ องค์นั้นราคาเท่าไหร่ เพื่อนมันก็ตอบว่า “องค์นี้แสนสอง องค์นั้นห้าหมื่น ” ทำเอาน้องสาวผมทำหน้าตกใจพร้อมกับอุทานออกมา “แพงขนาดนั้นหรือ วัดความเชื่อซื้อความศรัทธากันด้วยเงินแพงขนาดนั้นหรือ ราคาขนาดนั้นซื้อมอเตอร์ไซค์ได้หลายคันนะ” เพื่อนยังพูดทิ้งท้ายอีกว่า “นี่ราคาถูก ๆ แล้วนะ” จากนั้นน้องสาวผมก็เดินไปแบบไม่สนใจอะไร
จากเรื่องนี้ ทำให้ผมคิดว่า ทำไมพระเครื่องจึงราคาแพง ผมเองก็ไม่ใช่นักวิจัยวิเคราะห์ แต่อยากหาอะไรเขียนไปวัน ๆ หน่อยครับ จากความเข้าใจของผมและศึกษาจากความคิดอ่านของเพื่อน ๆ แล้ว ผมพอสรุปดังนี้
อะไรทำให้พระเครื่องราคาแพง
- คนเป็นผู้กำหนด
– กำหนดจากความต้องการของคนอันเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติของคนทุกคน ผู้ขายส่วนมากก็มีอาชีพขายพระ หรือไม่ได้มีอาชีพขายพระโดยตรง แต่ก็ย่อมอยากได้ราคาแพงเป็นเรื่องธรรมดา จึงต้องขายแพงที่สุดเท่าที่จะขายได้
– เพราะคนซื้อต้องการมาก อยากได้มาก ก็คือความต้องการของมนุษย์อีกเช่นเดิม ผู้ขายรู้จุดอ่อนตรงนี้ก็ขายแพง คนซื้ออยากได้มากก็ต้องยอมจ่าย
– ชอบอวดกัน ชอบนำมาโชว์กันว่าข้ามี ฉันมีรุ่นนี้ สิ่งไหนคนที่นิยม สิ่งไหนที่มีคคนต้องการมากก็ย่อมราคาแพงเป็นธรรมดา ดูอย่างหน้ากากอนามัยสิ ตอนนี้มีคนต้องการมาก ราคาก็แพงขึ้น รัฐเอามาขาย คนยังบ่นว่าแพงเลย
– เพราะความเคารพศรัทธาของผู้ซื้อที่มีมาก เท่าไหร่ก็ยอมจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนศรัทธา จริง ๆ ก็คือความต้องการนั่นแหล่ะครับ - วัตถุมงคลนั้น ๆ เป็นตัวกำหนด (แต่จริง ๆ แล้ว ถ้าคนไม่ต้องการก็เป็นของไม่ราคาอยู่เช่นเดิม)
– เป็นของเก่า ของโบราณ น่าศึกษา น่าสะสม ก็ย่อมราคาแพงเป็นธรรดา
– เป็นของหายาก สร้างน้อย ใครก็อยากได้ อยากมีกันทั้งนั้น
– วัตถุในการจัดสร้างดี มวลสารดี เป็นที่ต้องการ เช่น มวลสารของสมเด็จโต มวลสารผงพรายกุมารหลวงปู่ทิม หรือวัตถุมวลสารที่มีค่าอยู่ในตัวอยู่แล้ว เช่น ทองคำ ก็ย่อมราคาแพง
– พิธีในการจัดสร้าง พิธีดี พิธีใหญ่ ปลุกเสกดี เป็นพิธีที่น่าเชื่อถือได้ อย่างพิธี 25 ศตวรรษ พิธีอินโดจีน
– ได้พระอาจารย์ที่สร้างดี มีคนนิยม มีคนนับถือ อย่างพระเครื่องหลวงปู่ทิม แค่มีชื่อท่านในพิธีก็สามารถอ้างอิงราคาได้แล้ว - กลไกทางตลาด
– อันนี้มันเป็นเรื่องเทคนิค ผมเองก็ไม่ค่อยทราบมากนัก เพราะขายไม่เก่ง ซึ่งแต่ละคนมีเทคนิคในการขายไม่เหมือนกัน บางคนสร้างเรื่อง สร้างกระแสขึ้นมาเพื่อทำให้ขายได้ อย่างที่เขาเรียกว่าปั่นราคาพระเครื่องก็มี
– ธรรมดาพระเครื่องนั้น คนซื้อก็จะพยายามซื้อให้ได้ราคาถูกที่สุด แต่ตอนขาย ก็พยายามขายให้ได้มากที่สุด แน่นอนว่าไม่มีใครคิดอยากขายขาดทุน เช่น นาย ก ซื้อพระมา 1000 บาท หากนาย ก จะขาพระให้นาย ข ก็ต้อง 1200 บาท นาย ข ซื้อไปแล้ว เมื่อจะขายต่อ ก็ขายไป 1300 คนที่ซื้อต่อไปเรื่อย ๆ ก็ต้องขายสูงขึ้นกว่าเดิมจึงทำให้พระเครื่องราคาแพงขึ้นเรื่อย ๆ
– บางคนใช้ระบบการซื้อขายพระเครื่องในการฟอกเงินก็มี อย่างนักการเมืองบางคนแจ้งราคาพระเครื่องเกินความเป็นจริง
เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....