พระแก้วมรกต กรมสรรพสามิต ปี 2549 ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
พระแก้วมรกต กรมสรรพสามิต ปี 2549 จัดสร้างในโอกาสพิเศษอันเป็นมงคล ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พระดีพิธีใหญ่ พระเกจิมากมายร่วมอธิษฐานจิต
วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง
1.เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองครองราชย์ 60 ปี
2.เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมกับรัฐบาลในการถวายพระราชกุศลเนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองครองราชย์ 60 ปี
3.เพื่อจัดสร้างพระบูชา พระเครื่อง สืบต่อพระพุทธศาสนาไว้นำไปสักการะบูชาตามประเพณีแต่โบราณกาล
4.เพื่อนำรายได้ส่วนหนึ่งทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย และนำรายได้อีกส่วนหนึ่งไปใช้ตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ ลด ละ เลิก ให้ประชาชนรู้ถึงพิษภัยของยาเสพติดและอบายมุข ตลอดจนสงเคราะห์ฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากยาเสพติดและอบายมุข
มวลสารศักดิ์สิทธิ์
1.มวลสารผงจิตรลดา ได้รับประทานการสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร
2.ผงจิตรลดา เป็นผงมวลสารศักดิ์สิทธิ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรวบรวมจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอยู่ทุกจังหวัด เพื่อ ทรงสร้างพระพิมพ์ซึ่งเรียกกันว่า “สมเด็จจิตรลดา” สำหรับพระราชทานให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร และประชาชนทั่วไป ตามพระราชอัธยาศัย ตั้งแต่ปีพ.ศ.2508-2513 ซึ่งมวลสารดังกล่าวประกอบด้วย
2.1 มวลสารส่วนพระองค์
2.1.1 ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่ประชาชนทูลเกล้าฯ ถวายในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต และได้ทรงแขวนไว้ที่องค์พระแก้วมรกตคตลอดเทศกาล จนถึงคราวที่จะเปลี่ยนเครื่องทรงใหม่ ซึ่งดอกไม้แห้งนี้โปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมไว้
2.1.2 เส้นพระเจ้า(เส้นผม) ที่เจ้าพนักงานได้รวบรวมได้หลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ทุกครั้ง
2.1.3 ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่แขวนพระมหาเศวตฉัตรและด้ามพระแสงขรรค์ชัยศรี ในพระราชพิธีฉัตรมงคล
2.1.4 สีซึ่งขูดจากผ้าใบที่ทรงเขียนภาพฝีพระหัตถ์
2.1.5 ขันและสีที่ทรงขูดจากเรือใบพระที่นั่ง ขณะที่ทรงตกแต่งเรือใบพระที่นั่ง
2.2 มวลสารจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วราชอาณาจักร
(ผมไม่ทราบแน่ชัดว่ามวลสารเหล่านี้นำมาทำอย่างไร อาจจะบรรจุในองค์ดพระ หรือมีเนื้อผงต่างหาก หรือบรรจุไว้ในองค์ขนาดบูชา)
พิธีพุทธาภิเษก
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เมตตาเป็นประธานในพิธีเททองหล่อพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) จำลองทรงเครื่องฤดูร้อน ณ มณฑลพิธีพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2549
ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) จำลองทรงเครื่องฤดูร้อน ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ในพระบรมมหาราชวัง โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเป็นประธานในพิธีในวันพฤหัสบดีที่ 11 มกราคม 2550 เวลา 17.00 น.
พระมหาเถระ พระเกจิอาจารย์ 108 รูป อธิษฐานจิต
พระแก้วมรกต กรมสรรพสามิต ปี 2543 ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พิธีใหญ่ พระเกจิอาจารย์ 108 รูป อธิษฐานจิต ดังนี้
๑. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) กทม.
๒. สมเด็จพระมหาธิราจารย์ กทม.
๓. สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ กทม.
๔. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (พุฒ สุวฑฺฒโน) กทม.
๕. พระวิสุทธาธิบดี ภทุทจารี กทม.
๖. พระธรรมกิตติเวที กทม.
๗. พระราชภาวนาวิกรม กทม.
๘. พระราชพัฒนาทร กทม.
๙. พระราชพิพัฒน์โกศล กทม.
๑๐, พระครูพิศาลพัฒนพิธาน กทม.
๑๑. พระพิพัฒนปริยัตสุนทร กทม.
๑๒. พระครูสิริธรรมวัต สิริธัมโม กทม.
๑๓. พระครูปลัด อ.วราห์ ปุญญวโร กทม.
๑๔. หลวงปู่ทิม อตฺตสนุโต พระนครศรีอยุธยา
๑๕. หลวงพ่อสวัสดิ์ ปสาทิโส พระนครศรีอยุธยา
๑๖. หลวงปู่เพิ่ม พระนครศรีอยุธยา
๑๗. หลวงพ่อพูน พระนครศรีอยุธยา
๑๘. หลวงพ่อเอียด พระนครศรีอยุธยา
๑๙. หลวงพ่อสวัสดิ์ พระนครศรีอยุธยา
๒๐. หลวงพ่อเพี้ยน อัคธัมโม ลพบุรี
๒๑. หลวงพ่อถม ลพบุรี
๒๒. หลวงพ่อสาวันต์ ลพบุรี
๒๓. พระครูวิมลญาณอุดม ลพบุรี
๒๔. พระครูวินัยธร ขันติวโร ลพบุรี
๒๕. หลวงพ่อชำนาญ อัตตมปัญโญ ปทุมธานี
๒๖. หลวงพ่อศักดิ์ชัย อ่างทอง
๒๗. พระเสซิน อ่างทอง
๒๘. หลวงพ่อพร้า อตฺตสนฺโต ชัยนาท
๒๙. หลวงพ่อบุญเกิด ปัณฑิโต ชัยนาท
๓๐. หลวงปู่นะ ชัยนาท
๓๑. หลวงปู่เก๋ นนทบุรี
๓๒. หลวงพ่อประสิทธิ์ นนทบุรี
๓๓. พระราชนันทมุนี นนทบุรี
๓๔. หลวงพ่อบุญส่ง กุสลปัญโญ สิงห์บุรี
๓๕. พระครูวินิฐธรรมชันธ์ นครสวรรค์
๓๖. พระอาจารย์รุ่ง ระยอง
๓๗. พระญาณวิศิษฐ์ จนุทสึริ สมุทรปราการ
๓๘. หลวงพ่อพูนทรัพย์ ชลบุรี
๓๙. หลวงพ่อโทน กันตสีโล ชลบุรี
๔๐. พระมงคลสุทธิคุณ ฉะเชิงเทรา
๔๑. พระครูวีรญาณประยุต ปราจีนบุรี
๔๒. หลวงพ่อเสริฐ เขมะโก ระยอง
๔๓. หลวงพ่อสาคร มนุญโญ ระยอง
๔๔. หลวงพ่อดำ สระแก้ว
๔๕. พระอาจารย์กาหลง สระแก้ว
๔๖. หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ นครราชสีมา
๔๗. หลวงพ่อจอน นครราชสีมา
๔๘. หลวงพ่อเขียว นครราชสีมา
๔๙. ครูบากฤษณะ นทวัณโณ นครราชสีมา
๕o. หลวงปู่ธรรมรังษี สุรินทร์๕๑. หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ
๕๒. พระครูมงคลธรรมวุฒิ
๕๓. พระมหาวิชัย เตชะวโร
๕๔. หลวงพ่อพวง อมุมสาโร บุรีรัมย์
๕๕. พระมหาประดิษฐ์ อุตุตโม
๕๖. หลวงปู่ศรี มหาวิโร ร้อยเอ็ด
๕๗. พระอาจารย์ยกพล โรจนธัมโม ชัยภูมิ
๕๔. พระราชสารโกศล นครพนม
๕๙. หลวงปู่บุญหนา ธรรมทินโน สกลนคร
๖๐. พระครูสิริสุขวัฒน์ มหาสารคาม
๖๑. ครูบาธรรมนุนี ฐิตธัมโม มหาสารคาม
๖๒. หลวงปู่ลี กุสลธโร
๖๓. พระราชสิทธินายก เชียงราย
๖๔. ครูบาดวงดี สุภัทโท เชียงใหม่
๖๕. พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป เชียงใหม่
๖๖. ครูบาเทือง นาถสีโล เชียงใหม่
๖๗. ครูบาน้อย เตชะปัญโญ เชียงใหม่
๖๘. พระอาจารย์พรชัย เชียงใหม่
๖๙. พระครูรัตนประภากร ลำปาง
๗o. พระอาจารย์ไพบูลย์ สุมังคโล พะเยา
๗๑. พระครูธรรมสารรักษา สุพรรณบุรี
๗๒. พระมหาวิบูลย์ พุทธญาโณ ตาก
๗๓. หลวงพ่อจ้อย อินทสุวัณโณ นครสวรรค์
๗๔. พระครูนิเวฐปัญญาภรณ์ นครสวรรค์
๗๕. หลวงพ่อบุญช่วย ฐานธมฺโม เพชรบูรณ์
๗๖. พระครูสถิตวีระธรรม พิษณุโลก
๗๗. หลวงพ่อโฉม อุทัยธานี
๗๘. หลวงพ่อประเทือง อติกุกนฺโต เพชรบูรณ์
๗๙. หลวงพ่อจืด นิมมโล นครปฐม
๘๐. หลวงพ่ออั้บ เขมจาโร นครปฐม
๘๑. หลวงพ่อเจือ ปียะสิโล นครปฐม
๘๒. พระครูอนุกูลวิสารกิจ นครปฐม
๘๓. หลวงพ่อแผ้ว ปวโร
๘๔. หลวงพ่อเอนก ปัญญธโร เพชรบุรี
๘๕. พระครูวินัยวัชรกิจ เพชรบุรี
๘๖. พระครูบวรกิจโกศล เพชรบุรี
๘๗. หลวงพ่อจิ สมจิตโต เพชรบุรี
๘๘. พระครูพิศิษฐ์ประชานาถ สมุทรสงคราม
๘๙. พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ สมุทรสงคราม
๙๐. พระครูสุนทรจริยาวัตร ราชบุรี
๙๑. พระมงคลญาณมุนี ราชบุรี
๙๒. หลวงพ่อชม ชุมพร
๙๓. พระอาจารย์ชุม ฐิตตปัญโญ
๙๔. หลวงพ่อจ่าง ชุมพร
๙๕. หลวงพ่อท้วม สุราษฎร์ธานี
๙๖. พระครูไพศาล วิริยกิจ สุราษฎร์ธานี
๙๗. พระครูธรรมธราธิคุณ นครศรีธรรมราช
๙๘. หลวงพ่อเอื้อม กตปุญโญ นครศรีธรรมราช
๙๙. พระครูวิเศษศาสนกิจ นครศรีธรรมราช
๑๐๐. พระเทพศีลวิสุทธิ์ ยะลา
๑๐๑. พระพิศาลพิพัฒนพิราน สงขลา
๑๐๒. พระครูขันตยาภรณ์ พัทลุง
๑๐๓. พระครูถิรธรรมมานันท์
๑๐๔. พระมหาชวน เตชธมโม พัทลุง
๑๐๕. พระครูสังฆรักษ์ ครุธมโม พัทลุง
๑๐๖. หลางพ่อคล้อยล อโนโม พัทลุง
๑๐๗.หลวงพ่อท่านเขียว ปัตตานี
๑๐๘. หลวงพ่อดำ จนฺทสโร นราธิวาส
แหล่งข้อมูล : พระแก้วมรกต กรมสรรพสามิต ปี 2549 ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี