พระร่วง เนื้อชินตะกั่ว หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
สำหรับ พระร่วง เนื้อชินตะกั่ว หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร เป็นพระที่สืบทอดมาจากตระกูลที่เดินทางไปกราบหลวงปู่ฝั้น บวกกับเนื้อหาความเก่าแห้งขององค์พระ
จากที่ฟังกับผู้ที่ติดตามวัตถุมงคลหลวงปู่ฝั้น พระที่หลวงปู่ฝั้นท่านสร้างเองโดยมากเป็นเนื้อชินตะกั่วผสมด้วยปรอท ท่านทำเองกับมือในสมัยที่ท่านยังอยู่ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ จ.สกลนคร ท่านจะผสมเนื้อโลหะเอง ส่วนบล็อกท่านแกะเองบ้าง ถอดพิมพ์มาจากพระองค์อื่นบ้าง ก็ท่านทำเองแจกเอง บล็อกต่าง ๆ จึงไม่เป็นระบบมาตรฐานเหมือนพระยุคศิษย์สร้างถวายอย่างเหรียญรุ่นแรก ราคาเป็นล้าน ท่านก็ไม่ได้ทำเอง เป็นเหรียญที่ศิษย์สร้างถวาย (อาจจะเป็นศิษย์เพื่อที่จะขอสร้างเหรียญก็ได้) แต่พระเครื่องที่ท่านทำเอง ท่านผสมเนื้อโลหะเอง ทำตามความคิดของท่านเอง ท่านได้แบบไหน อย่างไรก็ทำอย่างนั้น
สำหรับพระร่วงเนื้อชินตะกั่วองค์นี้ ท่านน่าจะถอดพิมพ์มาจากพระร่วงองค์ที่ท่านมี หรือศิษย์ที่ช่วยท่าน ดูท่านทำอาจจะมีพระร่วงอยู่แล้วจึงใช้ถอดพิมพ์เพื่อเทเป็นองค์พระ ความพิเศษของพระร่วง เนื้อชินตะกั่วองค์นี้มีม้วนตะกรุดอยู่ข้างใน สอดคล้องกับข้อมูลจากสายตรงหลวงปู่ฝั้นท่านอื่นได้กล่าวไว้ว่า พระชุดเนื้อชินตะกั่ว หรือจะเรียกว่าพระเนื้อตะกั่วผสมปรอท (เพราะผมไม่มีเครื่องมีอวัดค่าโลหะ) ด้านในทุกองค์จะมีตะกรุดอยู่ ข้างในม้วนตะกรุดเข้าใจว่าท่านน่าจะจารคาถาพญานกยูงทอง คือ นโมวิมุตฺตานํ นโมวิมิตฺติยา อันเป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ประจำพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น คาถานี้มีปรากฎอยู่ด้านหลังเหรียญรุ่นแรกหลวงปู่ฝั้น และรุ่นอื่น ๆ อีกหลายรุ่น ตลอดทั้งพระวัดป่ากรรมฐานสายหลวงปู่มั่นอีกหลายรูป
พุทธคุณ พระร่วง เนื้อชินตะกั่ว หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
ในส่วนของพุทธคุณ พระร่วง เนื้อชินตะกั่ว หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ผมขอกล่าวตามความเชื่อความศรัทธานะครับ ผมเองไม่มีเครื่องมือใด ๆ ในการวัดพุทธคุณ สำหรับพระร่วง เนื้อชินตะกั่ว หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ผมเชื่อว่ามีพุทธคุณเด่นด้านส่งเสริมความมั่นคงยั่งยืน ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรือง แคล้วคลาดปลอดภัย โดยเฉพาะพระเครื่องที่สร้างในยุคสงครามก่อนปี 2500 แคล้วคลาดเป็นเยี่ยมครับ