พระผงสุพรรณยอดโถองค์นี้ เป็นพระที่เพื่อนนำมาให้ชมครับ ซึ่งตอนนั้นผมเองก็ยังไม่ทราบข้อมูลเท่าไหร่ รู้แต่ว่าพระผงก็ต้องเป็นผง และผงสุพรรณต้องเป็นเนื้อผงว่านหรือดินละเอียดเท่านั้น แต่จากที่อ่านบทความของคุณ พลายชุมพล พอสรุปได้ดังนี้
- พระผงสุพรรณยอดโถมีจริง แต่มีจำนวนน้อยมาก
- พระผงสุพรรณยอดโถ เป็นพระเนื้อชินเงิน
- ที่เรียกว่า พระผงสุพรรณยอดโถ เป็นการเรียกตามสถานที่ที่พบ คือพบพระเนื้อชินพิมพ์นี้บนยอดพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี ซึ่งเป็นกรุที่บรรจุพระผงสุพรรณเนื้อดิน
- พระผงสุพรรณยอดโถ สร้างโดยเหล่าฤาษี โดยการนำแร่ธาตุศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ มาสร้าง
- คุณ พลายชุมพล กล่าวว่า พระผงสุพรรณยอดโถ “ส่วนนูนที่ถูกสัมผัส ออกดำบอกประกาย “ชินเงิน” ส่วนที่อยู่ในซอกลึก พื้นผนัง คราบกรุเหลืองนวลปกคลุม ตามธรรมชาติ ไม่ขัดตา”
พุทธคุณ วิธีใช้ และคาถาบูชาพระผงสุพรรณ
ในจารึกลานทองที่ค้นพบที่พระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี กล่าวถึงการสร้าง พระผงสุพรรณไว้ ความว่า “ศุภมัสดุ ๑๒๖๕ สิทธิการิยะ แสดงบอกไว้ให้รู้ว่าฤาษีทั้งสี่ตนพระฤาษี พิมพิลาไลย์เป็นประธาน เราจะทำด้วยฤทธิ์ทำด้วยเครื่องประดิษฐ์ มีสุวรรณเป็นต้น คือ บรมกษัตริย์พระยาศรีธรรมโศกราช เป็นผู้มีศรัทธา พระฤาษีทั้งสี่ตนจึงพร้อมกันนำเอาแต่ว่านทั้งหลาย พระฤาษีจึงอัญเชิญเทวดามาช่วยกันทำพิธีเป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่งแดง สถานหนึ่งดำ ให้เอาว่านทำเป็นผงก้อน พิมพ์ด้วยลายมือของพระมหาเถระปิยะทัสสะสี ศรีสารีบุตร คือ เป็นใหญ่เป็นประธานในที่นั้น ได้เอาแร่ต่าง ๆ มีฤทธิ์อานุภาพที่ต่างกัน เสกด้วยมนต์คาถาอาคมครบ ๓ เดือน แล้วท่านให้นำไปประดิษฐ์ในสถูปแห่งหนึ่งที่เมืองพันทูม
ถ้าผู้ใดได้พบเห็นให้รับเอาไปไว้สักการบูชาเถิดเป็นของวิเศษนักแล แม้จะมีอันตรายประการใด ให้อาราธนาผูกไว้ที่คอ อาจจะคุ้มครองภยันตรายทั้งปวงได้ อาราธนาพระลงสรงน้ำมันหอม แล้วนั่งบริกรรม พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ๑๐๘ จบ สวดพาหุง ๑๓ จบ ใส่ขันสัมฤทธิ์ นั่งสันนิษฐานเอาตามความปรารถนาเถิดให้ทาทั้งหน้าและผม คอหน้าอก ถ้าจะใช้ทางเมตตา ให้มีสง่า เจรจาให้คนทั้งหลายเชื่อฟังยำเกรง ให้นำพระใส่ไว้ในน้ำมันหอม เสกด้วยคาถานวหรคุณ ๑๓ จบ พาหุง ๑๓ จบ พระพุทธคุณ ๑๓ จบ ให้เอาดอกไม้ธูปเทียนทำพิธีในวันเสาร์ น้ำมันหอมเก็บไว้ใช้ได้เสมอ ทาริมฝีปาก ทาหน้าผาก และผม ถ้าผู้ใดพบพระตามที่กล่าวมานี้ พระว่านก็ดี พระเกสรก็ดี ทำด้วยแร่สังฆวานรก็ดี อย่าประมาทเลย อานุภาพพระทั้ง ๓ อย่างนี้ดุจกำแพงแก้วกันอันตรายทั้งปวงแล้วให้ว่าคาถาทแยงแก้วกันอันตรายทั้งหลายทั้งปวง แล้วให้ว่าคาถาทแยงสันตาจนจบพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณจนจบพาหุงไปจนจบแล้วให้ว่าดังนี้อีก กะเตสิกเกกะระณังมหาไชยังมังคะ สังนะมะพะทะ แล้วให้ว่า กิริมิทิ กุรุมุทุ เกเรเมเถ กะระมะทะ ประสิทธิแล”
สำหรับจารึกลานทองที่ค้นพบที่พระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี น่าจะเป็นการจารึกทีหลัง หมายถึงหลังจากที่เหล่าฤาษีได้สร้างพระผงสุพรรณยุคต้นไว้ อาจจะจารึกในยุคที่มีการบูรณะพระปรางค์และมีการสร้างพระผงเครื่อง วัตถุมงคลต่าง ๆ เสริมเข้าไปอีก เพื่อเป็นการชดเชยส่วนที่ชำรุดเสียหายหรือมีผู้อื่นนำไปบูชาแล้วบางส่วน (คนสมัยก่อนกลัวเป็นบาปกรรม) และเพื่อเป็นพุทธบูชาสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไป