คาถาหัวใจตรีนิสิงเหนี้สื่อความหมายถึงชื่อของคัมภีร์ตรีนิสิงเห อันเป็นคัมภีร์ที่แสดงวิธีการลงเลขยันต์ โดยในคัมภีร์นี้ระบุถึงคําว่า ตรีนิสิงเห นี้ใช้แทนเลข ๓ ซึ่งจํานวน ๓ นี้มาจากอักษรย่อ (ตีนิอกฺขรานิ) คือ ม อ อุ ที่ใช้ในหลายหัวใจ เช่น หัวใจพระรัตนตรัย เป็นต้น
ส่วนอักษรย่อในหัวใจตรีนิสิงเหนี้พบว่า บางแห่งเขียนเป็น ส ห ชา ตรี บ้าง ส ช ฏ ตรี บ้าง ซึ่งเป็นการเขียนที่ผิดไปจากคัมภีร์ตรีนิสิงเห อักษรย่อในหัวใจนี้ที่ถูกต้อง คือ ส ห ช ฏ ตรี ซึ่งอักษรทั้ง ๕ ตัวนี้ใช้แทนเลข ๕ จํานวน ๕ นี้สื่อถึงท้าวสหัมบดีพรหมทั้ง ๕
ความหมายของหัวใจตรีนิสิงเห
ตรีนิสิงเห เป็นคัมภีร์หรือตำเกี่ยวกับการสร้างเลขยันต์ไทย ซึ่งในสูตรของคัมภีร์นี้ได้กล่าวถึงคําว่า ตรีนิสิงเห นี้เป็นจํานวนเลข ๓ ซึ่งใช้แทนอักขระ ๓ ตัว ได้แก่ ม อ อุ (อ่านว่า มะ อะ อุ) เดิมทีถอดมาจากเทพเจ้าตรีมูรติในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ๓ องค์ ได้แก่ พระพรหม พระศิวะ และพระวิษณุ
แต่คติของโบราณาจารย์ไทยนํามาปรับใช้เสียใหม่ คือใช้สื่อถึงพระรัตนตรัย ส่วนอักษรย่อในหัวใจนี้สื่อถึงปัญจสหัมบดีพรหม หมายถึง ท้าวสหัมบดีพรหมทั้ง ๕ คือ พรหมโลกชั้นสุทธาวาส (ที่อยู่ของผู้บริสุทธิ์อันเป็นที่เกิดของพระอนาคามี) พรหมชั้นนี้เป็นชั้นที่สูงที่สุดในรูปพรหม สุทธาวาส ได้แก่ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา
อักษรย่อและศัพท์เต็มของหัวใจตรีนิสิงเห
อักษรทั้ง ๕ ในหัวใจตรีนิสิงเหนี้ไม่ใช่เป็นอักษรย่อของคัมภีร์หรือตัวคาถา แต่เป็นอักษรที่โบราณาจารย์ท่านนํามาจากพยัญชนะ
วรรคและอวรรคในภาษาบาลีแล้วนําผสมกับคําไทย คือคำว่า ตรี เป็น ส ห ช ฏ ตรีเพื่อใช้สื่อถึงพรหมสุทธาวาส ๕ ดังนี้
ส นำมาจาก พยัญชนะ อวรรค ย ร ล ว ส ห ฬ อํ
ห นำมาจาก พยัญชนะ อวรรค ย ร ล ว ส ห ฬ อํ
ช นำมาจาก พยัญชนะ จ วรรค จ ฉ ช ฌ ญ
ฏ นำมาจาก พยัญชนะ ฏ วรรค ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
ตรี มาจาก ตรีนิสิงเห มาจาก ม อ อุ (ตรี หมายถึง ๓ หรือ อักษร ๓ ตัว ม อ อุ)
พุทธคุณ หัวใจตรีนิสิงเห
โบราณาจารย์ท่านได้นําอักษรย่อที่เป็นหัวใจตรีนิสิงเหในด้านอานุภาพหรือพุทธคุณในแง่ต่าง ๆ หลายประการ เช่น เสกของกินหรือเสกนํ้ามันทาตัวทําให้อยู่ยงคงกระพัน อาวุธทั้งปวงไม่สามารถทําอันตรายได้ (เทพย์สาริกบุตร, 2538, น. 213)
ขอบคุณที่มา : วิจัยของอาจารย์ของธีรโชติ เกิดแก้ว การศึกษาอักษรย่อในคัมภีร์หัวใจ108 ในฐานะสื่อการสอนพระพุทธศาสนา