การอ่านคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร มีเทคนิคและข้อควรระวังอะไรบ้าง?
การอ่าน(Reading) คือ กิจกรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์บนโลกนี้ที่สืบทอดกันมาจนกลายเป็นวัฒนธรรม ในอดีตที่ผ่านมา การอ่านไม่เป็นที่ได้รับความนิยมมากนัก เพราะเป็นเพียงกิจกรรมสอดคล้องกับการเขียน คนส่วนมากคนสมัยก่อนไม่ค่อยมีโอกาสได้เรียนเขียนอ่านเท่าไหร่ อีกทั้งหนังสือแต่ละเล่มตำราแต่ละฉบัยในสมัยก่อนกว่าจะผลิตออกมาได้ใช้เครื่องมือมากเป็นสิ่งที่ยุ่งยากและใช้เวลานาน การเขียนอ่านจึงถูกจำกัดอยู่แค่ในกลุ่มบุคคลผู้มีโอกาสมากกว่าเท่านั้น นอกจากหนังสือมีราคาแพงแล้วยังต้องใช้ความเข้าใจในด้านภาษา การสะกดคำอีกด้วย จึงจะทำให้อ่านได้ถูกต้องและเข้าใจในเนื้อหาที่อ่าน
ในอดีตที่ผ่านมาหนังสือแต่ละเล่มตำราแต่ละฉบับจะใช้วิธีเขียนหรือคัดลอกด้วยลายมือเท่านั้น ไม่มีเทคโนโลยีในการพิมพ์ที่รวดเร็วเหมือนในปัจจุบันนี้ และลายมือของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันทำให้อ่านยาก จนกลายเป็นอุปสรรคของการอ่าน ทำให้คนไม่มีความเพลิดเพลินในการอ่าน
จนกระทั่งเมื่อประมาณ 500 ปีก่อน มีการคิดค้นแท่นพิมพ์หนังสือแท่นแรกของโลกขึ้นมา การอ่านจึงเริ่มต้นได้รับความนิยมขึ้นมาเรื่อย ๆ ซึ่งมีจุดกำเนิดของแท่นพิมพ์หนังสืออยู่ในโลกตะวันตก การตีพิมพ์หนังสือก็มาจากต้นกำเนิดนั้นเช่นกัน เมื่อมีเครื่องพิมพ์แล้ว หนังสือ วารสาร ตำราต่าง ๆ จึงได้แพร่หลายออกไปอย่างรวดเร็ว กว้างขวางยิ่งขึ้น และเข้าสู่เมืองไทยราว 100 ปีหลังจากนั้น
ข่าวสารต่าง ๆ จากที่ใช้โดยวิธีการบอกกล่าว หรือให้ฟังเพียงอย่างเดียว ผู้คนก็เริ่มสนใจการอ่านหนังสือมากขึ้นเรื่อย ๆ ผู้คนพยายามแสวงหาความรู้ ความบันเทิงจากสื่อสิ่งพิมพ์ที่เรียกว่าหนังสือพิมพ์ วารสาร ตำราต่าง ๆ แต่ทุกวันนี้มีโทรทัศน์ youtube หรือสื่อช่องทางอื่นเข้ามา กลับทำให้ผู้คนอ่านหนังสือกันน้อยลงอีก โดยเฉพาะคนไทย ว่ากันว่า อ่านหนังสือไม่เกิน 8 บรรทัดต่อครั้ง
แต่อย่างไรก็ตามการอ่านถือว่ามีความสำคัญต่อชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ทำให้รู้ถึงข้อมูลข่าวสารบางอย่างที่เข้าถึงยาก ได้พัฒนาสมอง ทันโลก ทันต่อเหตุการณ์ และยังช่วยพัฒนาความรู้ความสามารถไปในตัว
ประโยชน์ของการอ่าน
1.เป็นการฝึกสมอง
ช่วยฝึกสมองให้มีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งต่าง ๆ เพียงอย่างเดียวได้นานขึ้น แม้ว่าจะเต็มไปด้วยสิ่งเร้ารอบด้านก็ตาม
2.กระตุ้นสมอง
กระตุ้นการทำงานของสมอง การอ่านคือการใช้สมองสะกดคำ ทำความเข้าใจ และคิดจินตนาการตาม ทำให้เซลล์สมองทำงาน สุขภาพดี เรียกได้ว่าเป็นการออกกำลังกายสมองอย่างหนึ่ง
3.ช่วยให้ผ่อนคลาย
หนังสือช่วยผ่อนคลายความเครียดและทำให้จิตใจสุขสงบมากขึ้นภายหลังจากการทำงานหนักมาตลอดทั้งวัน ด้วยการอ่านหนังสือดี ๆ สักเล่มที่ชอบ จะทำให้รู้สึกเหมือนหลุดไปอยู่อีกโลกที่เงียบสงบ
4.ได้รับรู้สิ่งใหม่ ๆ
การอ่านเป็นเสมือนการเปิดรับความรู้ใหม่ เพิ่มเติมจากสิ่งที่รู้อยู่แล้ว ยิ่งอ่านมากก็ยิ่งทำให้รู้มากขึ้น ได้เปรียบคนอื่นในการศึกษาพัฒนาตัวเอง
5.เป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง
เป็นตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารให้ดีขึ้นกว่าเดิม ยิ่งอ่านหนังสือมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้ชีวิตมีแง่คิด มีการใช้เหตุและผลมากกว่าอารมณ์
6.กระตุ้นความคิดให้เกิดปัญญา
กระตุ้นการคิดวิเคราะห์ โดยเฉพาะเมื่อเผชิญปัญหาต่าง ๆ ซึ่งนำมาใช้จากการอ่านหนังสือ เช่น การวิเคราะห์หาตัวคนร้าย, การเก็บข้อมูลรายละเอียด เป็นต้น
7.ได้รับรู้ศัพท์ใหม่ ๆ
ทำให้ได้เรียนรู้คำศัพท์แปลกใหม่ที่อาจไม่เคยเห็นหรือไม่ค่อยคุ้นหูคุ้นตามาก่อน นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
8.เป็นแรงบันดาลใจในชีวิต
การอ่านหนังสือที่มีแรงบันดาลใจอยู่ด้านใน เป็นเหมือนแรงผลักดันช่วยให้กล้าเผชิญหน้ากับปัญหาและแก้ไขได้ด้วยสติปัญญาอย่างเงียบสงบ ไม่กระวนกระวาย
9.เหมือนได้ไปสัมผัสเหตุการณ์จริง
ได้สัมผัสเรื่องราวที่อ่านจากหนังสือ เมื่อวางหนังสือลงแล้ว ความรู้สึกต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก็ยังคงหลงเหลืออยู่ หากพบเจอสภาพแวดล้อมที่ใกล้เคียงกัน จะช่วยให้คุณเชื่อมโยงกับสิ่งเหล่านั้นได้ เข้าใจสิ่งรอบตัวมากกว่าเดิม
7.เป็นการฝึกสมาธิหรือบริหา่รจิตอย่างหนึ่ง
การอ่านเปรียบเสมือนการทำสมาธิ ทำให้สมองปลอดโปร่งจากความวุ่นวาย และวางความคิดที่เต็มไปด้วยความกังวลลงไปชั่วขณะ
8.ทำให้เข้าสังคมได้ดี
การอ่านทำให้พูดคุยกับคนอื่นได้รู้เรื่อง โดยเฉพาะในเรื่องที่คุณและพวกเขาสนใจ
9.ทันโลกทันเหตุการณ์
ทำให้เป็นคนทันโลก ทันเหตุการณ์ เพราะปัจจุบันที่เทคโนโลยีอยู่ในมือ สามารถอ่านจากหนังสือ หรือผ่านช่องทางสมาร์ทโฟน โซเชี่ยลมีเดียทดแทนได้
10.เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มากกว่าการนอนดูโทรทัศน์ หรือเล่นมือถือ
เทคนิคอ่านให้เข้าใจและจำได้ดี
1.อ่านแบบคร่าว ๆ ก่อน
การเริ่มต้นอ่านแบบผ่าน ๆ หรือที่เรียกว่า Survey ซึ่งคือการอ่านที่ย่อหน้าแรก และย่อหน้าสุดท้าย พลิกดูหัวข้อในสารบัญและคำนำ ซึ่งช่วยให้เห็นภาพรวมว่ากำลังจะอ่านหนังสือเกี่ยวกับอะไร เนื้อหาเป็นไปในทิศทางไหน
2.ตั้งข้อสังเกต
หากมีข้อสงสัย ให้ลองตั้งคำถามที่เป็นประโยชน์กับหัวข้อนั้น เช่น การนำเอาข้อแนะนำเหล่านี้ไปใช้ได้แบบไหนบ้าง ซึ่งจะช่วยให้เกิดการจดจำเนื้อหาได้ดี เพราะการมีคำถามอยู่ในใจ จะทำให้โฟกัสกับการหาคำตอบ มีสมาธิอยู่กับการอ่านมากขึ้น
3.จดบันทึก
จดบันทึกหรือขีดเส้นในส่วนที่สำคัญ เพื่อช่วยให้คุณกลับมาอ่านซ้ำใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยไม่ต้องคอยเปิดหา และการทำไฮไลท์แบบนี้เอาไว้ สมองจะจดจำเนื้อหาสำคัญนั้นได้ง่ายขึ้นด้วย
4.จินตนาการตาม
หากเป็นส่วนเนื้อหาที่มีประโยชน์ ให้พยายามนึกตามในใจว่าอ่านอะไรไปแล้ว มีการเชื่อมโยงกับเนื้อหาที่กำลังอ่านอยู่อย่างไรบ้าง เพื่อให้รู้ว่าส่วนไหนที่เข้าใจ และส่วนไหนที่ไม่เข้าใจ จะได้ย้อนกลับไปอ่านทบทวนอีกรอบ
5.อ่านทบทวนอีกครั้ง
เมื่ออ่านจบแล้วให้ลองทบทวนในสิ่งที่อ่านไปทั้งหมด เหมือนสรุปเนื้อหาให้กับตัวเอง ซึ่งจะช่วยให้เกิดการจดจำที่ดี นำไปใช้ประโยชน์ในระยะยาวได้โดยไม่ลืม
ข้อควรระวังในการอ่าน
1.ควรอ่านหนังสือเงียบ ๆ ในใจ ไม่ควรอ่านออกเสียง โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณนั้นมีคนอื่นใช้ร่วมด้วย เช่น ห้องสมุด, ร้านกาแฟ, ร้านอาหาร เป็นต้น
2.หลีกเลี่ยงการอ่านในที่ ๆ มีแสงสว่างไม่เพียงพอ เพราะจะทำให้เกิดอาการป่วยเมื่อยล้าดวงตา และดวงตาเสื่อมสภาพตามมา
3.ไม่ควรอ่านหนังสือสลับกับการเล่นมือถือไปด้วย เพราะจะทำให้ไม่มีสมาธิ อ่านหนังสือไม่เข้าหัว
4.ถ้าอ่านบน สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ ไม่ควรใช้เวลาจ้องหน้าจอนานจนเกินไป อาจจะทำให้เสียสายตาได้
การอ่านเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์มาช้านาน ก่อนหนังสือเล่มแรกจะถือกำเนิดขึ้นบนโลก ดังนั้น กิจกรรมนี้ถือว่าเป็นตัวช่วยให้สมองได้รับการพัฒนา และยังช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตได้อย่างที่คนส่วนใหญ่คาดไม่ถึง