การตั้งชื่อลูกนั้น ได้มีแม่บทกฏหมายรองรับ ซึ่งก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะตั้งชื่อลูกนั้น ควรที่จะมีความรู้เรื่องการตั้งชื่อลูกก่อน เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. ๒๕๐๕/๒๕๓๐.๑๒.๒๘ ซึ่งมีข้อกำหนดไว้ ดังที่สรุปไว้ดังนี้
๑. ชื่อที่ตั้งต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม
๒. ชื่อที่ตั้ง ต้องไม่มีคำที่หยาบคายหรือความหมายที่ออกมาหยาบคาย
๓. สำหรับผู้ที่เคยได้รับหรือเคยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์มาแล้ว แต่ได้ออกจากบรรดาศักดิ์นั้นโดยมิได้ถูกถอน จะใช้ราชทินนามตามบรรดาศักดิ์เป็นชื่อตัวหรือชื่อรองก็ได้
๔. ชื่อที่ตั้งมีคำรวมกันไม่เกิน 5 พยางค์ (5 พยางค์ เช่น เบญจกัลยาณี, พิทักธราพงศ์)
๕. ชื่อต้องมีที่มาหรือมีความหมายที่ดี ซึ่งความหมายไม่ได้จำกัดเฉพาะที่ปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานเท่านั้น แต่ให้หมายรวมถึงพจนานุกรมที่ใช้กันอยู่ทั่วไป (พูดง่าย ๆ คือหาความหมาย มีที่มาที่ไปของคำได้) และเป็นชื่อที่ตรงตามเพศของเจ้าของ เช่น หากเป็นผู้ชายไม่ควรที่จะตั้งชื่อที่อ่านหรือฟังดูแล้วเข้าใจว่าเป็นเพศหญิง หากเป็นผู้หญิงก็ไม่ควรที่จะตั้งชื่อที่ทำให้เข้าใจว่าเป็นผู้ชาย (ชื่อบางชื่ออ่านแล้วบ่งบอกวามเป็นหญิงเป็นชายชัดเจน เช่น เบญจกัลยาณี เป็นชื่อสำหรับผู้หญิง, พิทักธราพงศ์ ชื่อนี้เหมาะกับผู้ชาย)