เรื่อง การสร้างพระกริ่งจอมสุรินทร์ เหรียญจอมสุรินทร์
การจัดสร้าง
พระกริ่งจอมสุรินทร์ ชัยวัฒน์จอมสุรินทร์ และเหรียญจอมสุรินทร์ จัดสร้างและทำพิธีพุทธา
ภิเษก เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๑๓
ผู้จัดสร้าง
คณะกรรมการการสร้างพระพุทธรูปใหญ่เขาสวาย, อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
วัตถุประสงค์ในการสร้าง
เพื่อสมนาคุณแก่ผู้มีศรัทธาบริจาคเงินสมบททุนสร้างพระพุทธรูปใหญ่ที่เขาสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
ผู้ออกแบบพระกริ่งจอมสุรินทร์
นายช่างเกษม มงคลเจริญ นายช่างชื่อดังแห่งยุค
พุทธลักษณะพระกริ่งจอมสุรินทร์
เป็นพระพุทธรูปแสดงศิลปะสมัยลพบุรี ปางสมาธิ ทรงเครื่องอลังการ (ทรงเครื่องกษัตริย์ อาทิ ทรงหมวกชีโป) ประทับนั่งบนบัลลังก์บัวคว่ำบัวหงาย, ด้านหลังมีอักษรขอมว่า “มะ อะ อุ” ขนาดส่วนกว้างที่บัลลังก์ ๑.๙ ซ.ม. พระกริ่งจอมสุรินทร์สร้างด้วยเนื้อทองคำจำนวน ๓๖๐ องค์ เนื้อเงินอุดกริ่งด้วยทองคำจำนวน
๘๖๐ องค์ เนื้อนวโลหะอุดด้วยเงินจำนวน ๓,๖๐๐ องค์
พุทธลักษณะพระชัยวัฒน์จอมสุรินทร์
พระชัยวัฒน์จอมสุรินทร์มีพุทธลักษณะเหมือนพระกริ่งจอมสุรินทร์ แต่องค์พระมีขนาดเล็กกว่าพระ
กริ่งจอมสุรินทร์ พระชัยวัฒน์จอมสุรินทร์นี้สร้างด้วยเนื้อทองคำจำนวน ๑๐๐ องค์ เนื้อเงินสร้างเฉพาะสมนาคุณ และเนื้อนวโลหะจำนวน ๑,๔๔๐ องค์
พุทธลักษณะเหรียญจอมสุรินทร์
ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ ด้านหน้าเป็นพระพุทธรูป มีพุทธลักษณะแบบเดียวกันกับพระกริ่งจอมสุรินทร์ รอบวงกลมส่วนบนมีอักษรขอมอ่านว่า “อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ” ส่วนด้านล่างมีอักษรขอมอ่านว่า “มะ อะ อุ” ด้านหลังเป็นรูปปราสาท และรอบวงกลมส่วนล่างมีคำว่า “ที่ระลึกการสร้างพระประจำจังหวัดสุรินทร์
๒๐ พ.ย. ๒๕๑๓”
เหรียญจอมสุรินทร์สร้างเป็น ๔ เนื้อ คือสร้างด้วยเนื้อทองคำจำนวน ๒๐๐ เหรียญ เนื้อเงินสร้างเฉพาะสมนาคุณ เนื้อนวโลหะสร้างจำนวน ๕,๐๐๐ เหรียญ เนื้อทองแดงรมดำสร้างจำนวน ๑๐,๐๐๐ เหรียญ (ขณะที่ทำหนังสือนี้ เหรียญนวโลหะและเหรียญทองแดงรมดำ ยังมีเหลืออยู่จำนวนเล็กน้อย จะนำออกให้เช่าในงานช้างแฟร์ ปี ๒๕๑๘)
(หมายเหตุจากเว็บไซต์พระคุ้มครอง : แสดงว่าหนังสือเอกสารการจัดสร้าง พระกริ่งจอมสุรินทร์ พระชัยวัฒน์จอมสุรินทร์ เหรียญจอมสุรินทร์ ที่ทางเว็บไซต์พระคุ้มครองนำมาอ้างอิงนี้ จัดทำขึ้นในระหว่างปี ๒๕๑๗ หรือ ปี ๒๕๑๘ ด้วยเหตุนั้น หนังสือดังกล่าวจึงได้กล่าวถึงสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกถึง ๓ พระองค์ด้วยกัน ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทั้ง ๓ พระองค์นั้น ได้รับการสถาปนาโดยลำดับต่างวาระกัน ฉะนั้น เพื่อป้องกันความสับสนจึงควรใช้สมณศักดิ์ในขณะนั้น)
โลหะสารอันเป็นมงคลที่นำมาสร้างพระจอมสุรินทร์
- แผ่นทองคำลงพระยันต์ โดย
๑. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฺฐายี) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ ๑๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร
๒. สมเด็จพระวันรัต (ปุ่น ปุณฺณสิริ) ต่อมาได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ ๑๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
๓. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วาสน์ วาสโน) ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
๔. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพมหานคร
- ชนวนหล่อพระกริ่งต่าง ๆ อาทิ ชนวนหล่อพระกริ่งนเรศวร เมืองงาย จังหวัดเชียงใหม่, ชนวนหล่อพระกริ่งเอกาทศรถ, พระกริ่งรอดภยันตราย วัดพันอ้น จังหวัดเชียงใหม่, ชนวนหล่อพระกริ่งยุทธหัตถี วัดป่าเลไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรี,ชนวนหล่อพระกริ่งหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จังหวัดสิงห์บุรี,ชนวนสร้างเหรียญสมเด็จสุรินทร์, ชนวนสร้างพระกริ่งมหาราช เป็นต้น
พิธีพุทธาภิเษกจอมสุรินทร์
เจ้าพิธีฝ่ายสงฆ์ : พระอาจารย์ไสว สุมโน วัดราชนัดดา กรุงเทพมหานคร
เจ้าพิธีฝ่ายพราหมณ์ : พระครูวามเทพมุนี
คณะกรรมการ ฯ จัดพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลชุดจอมสุรินทร์ที่วัดบูรพาราม อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๑๓ นับว่าเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก (จวน อุฏฺฐายี) วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร เสด็จจุดเทียนชัย
สมเด็จพระวันรัต (ปุ่น ปุณฺณสิริ) (สมณศักดิ์ในสมัยนั้น ต่อมาได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ ๑๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร จุดเทียนพุทธาภิเษก
ทั้งสองพระองค์ได้ทรงเมตตาร่วมอธิษฐานจิตพุทธาภิเษกในพิธี
พระคณาจารย์ ที่เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งจอมสุรินทร์
โปรดททราบรายนามพระที่เถระที่รวมอธิษฐานจิตพุทธาภิเษกพระกริ่งจอมสุรินทร์ที่กล่าววมานี้ เป็นสมณศักดิ์ในขณะนั้น (น่าจะสมณศักดิ์ในระหว่างปี ๒๕๑๓-๒๕๑๗ หรือ ๒๕๑๘ คือปีที่ทำเอกสารชุดนี้)
พระรักขิตวันมุนี วัดป่าเลไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรี
พระพิบูลย์เมราจารย์ วัดตอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
พระราชมุนี วัดประทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร
พระราชโมลี วัตพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร
พระครูสาธุกิจวิธาน (หลวงพ่อพิบูล) วัตหนองจอก กรุงเทพมหานคร
พระราชวิสุทธาจารย์ วัดวชิราลงกรณ์ จังหวัดนครราชสีมา
พระศรีธรรมวงศาจารย์ วัตสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา
พระครูณานาภิรัต วัดชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
พระครูปริยัติยานุโยค วัดนิคมวชิราราม จังหวัดเพชรบุรี
พระครูวชิรรังษี วัดมฤคทายวัน จังหวัดเพชรบุรี
พระครูวชิรรังษี วัดมฤคทายวัน
พระครูบุรีรัตนาจารย์ วัดสว่างบ้านยาง จังหวัดสุรินทร์
พระครูสาธุกิจวิมล วัตหนองดินแตง จังหวัดนครปฐม
พระอาจารย์นคร อังสุมาลี วัดเขาอิติสุคโต จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
หลวงพ่อภิรมย์ สิริจนฺโท วัดประชาโฆสิตาราม จังหวัดสมุทรสงคราม
พระอาจารย์สงัด คณิสสโร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร
พระเทพมงคลเมธี วัดมณีวนาราม จังหวัดอุบลราชธานี
หลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี
พระมหาอมร เขมจิตฺโต จังหวัดอุบลราชธานี
พระอาจารย์อุดม กิติญาโณ วัวัดคลองจันดี จังหวัดนครศรีธรรมราช
พระอาจารย์สมวงศ์ วัดวังแดงเหนือ จังหวัดอยุธยา
พระมหาช่วงชัย วัดราชนัดดาราม กรุงเทพมหานคร
พระอาจารย์ประยูร วัดเลา กรุงเทพมหานคร
พระครูปลัดบุญมาก วัดราชนัดดาราม กรุงเทพมหานคร
พระครูสมุห์สำราญ วัดราชนัดดาราม กรุงเทพมหานคร
พระมหาบุญสม วัดราชนัดดาราม กรุงเทพมหานคร
พระอาจารย์กนิต วัดราชนัดดาราม กรุงเทพมหานคร
พระครูใบฎีกาพิมพ์ วัดราชนัดดาราม กรุงเทพมหานคร
พระมหาทองคุณ วัดราชนัดดาราม กรุงเทพมหานคร
หลวงพ่อเปี่ยม วัดเทพธิดาราม กรุงเทพมหานคร
หลวงพ่อคง วัดกลาง จังหวัดบุรีรัมย์
หลวงพ่อจันทร์ วัดห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์
หลวงพ่อเปลื้อง วัดทุ่งคอก จังหวัดสุพรรณบุรี
พระปลัดเละ ฐานิสฺสโร วัดใต้บูรพาราม จังหวัดสุรินทร์
พระสมุห์ประสงค์ สนฺตจิตฺโต วัดใต้บูรพาราม จังหวัดสุรินทร์
หลวงพ่อม่น (ไม่แน่ใจว่าสะกดถูกไหม) วัดโพธิ์ทรายทอง จังหวัดบุรีรัมย์
หลวงพ่อสุข ธมฺมโชโต วัดโพธิ์ทรายทอง จังหวัดบุรีรัมย์
พระสิทธิการโกศล วัดกลาง จังหวัดสุรินทร์
หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอร์ จังหวัดศรีสะเกษ
พระราชจินดามุนี วัดมหาพุทธาราม จังหวัดศรีสะเกษ
หลวงพ่อริม รัตนมุนี วัดอุทุมพร จังหวัดสุรินทร์
พระครูประจักษ์ธรรมประเวท วัดสระบัว จังหวัดสุรินทร์
พระรัตนากรวิสุทธิ์(หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) วัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์
พระครูสถิตสารคุณ วัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์
พระครูรัตนบุรานุรักษ์ วัดกลางรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
เจ้าอธิการนู วัดท่าอัมพวัน บ้านดงเปือย จังหวัดสุรินทร์
หลวงปู่พระครูโสภณสังฆรักษ์ วัดแจ้งบ้านแก จังหวัดสุรินทร์
หลวงพ่อเชื้อ หนูเพชร วัดสะพานสูง บางซื่อ กรุงเทพมหานคร
พระครูนิเทศธัมมาจารย์ วัดคันธารมณ์นิวาส จังหวัดสุรินทร์
หลวงพ่อทองอินทร์ วัดสว่างอารมย์ อ.เมือง จังหวัดสุรินทร์
พระครูประศาสน์สารกิจ วัดบัลลังก์ศิลาอาสน์ จังหวัดสุรินทร์
หลวงปู่ลี โชติโก วัดป่าธรรมรังษี อำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี
พระอาจารย์ประยูร จิตฺตสนฺโต วัดป่าธรรมรังษี จังหวัดอุบลราชธานี
พระอาจารย์ตา สุภโร วัดป่าธรรมรังษี จังหวัดอุบลราชธานี
พระอาจารย์อุดม ภูริปญฺโญ วัดป่าธรรมรังษี จังหวัดอุบลราชธานี
พระอวยพร อคฺวโร วัดป่าธรรมรังษี จังหวัดอุบลราชธานี
พระอาจารย์จันดี โคสิโก วัดธรรมรังษี จังหวัดอุบลราชธานี
หลวงปู่มา ทิตฺตสโร วัดป่าธรรมรังษ จังหวัดอุบลราชธานี
พระสงัด กตปญฺโญ วัดป่าธรรมรังษี จังหวัดอุบลราชธานี
พระบุญมา เขมธโร วัดป่าธรรมรังษี จังหวัดอุบลราชธานี
พระบานเย็น ฉนฺธาโร (ไม่แน่ใจว่าสะกดถูกไหม) วัดป่าธรรมรังษี จังหวัดอุบลราชธานี
พระแก้ว ธนติธโร วัดป่าธรรมรังษี จังหวัดอุบลราชธานี
หลวงพ่อมอน ปจิตฺโต อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
พระครูประสิทธิวุฒิคุณ วัดราษฎร์นิยม จังหวัดสุรินทร์
หลวงพ่อทองอินทร์ วัดสว่างอารมณ์ จังหวัดสุรินทร์
พระครูวรรณรังษีโสภณ วัดวรรณรังษี จังหวัดสุรินทร์
พระครูประภัตรคณารักษ์ วัดโพธิพฤกษาราม จังหวัดสุรินทร์
พระครูบวรวิชาญาณ วัดพรหมสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
พระครูวิมลศีลพรต วัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์
การจัดสมนาคุณเหรียญจอมสุรินทร์
เนื่องจากมีเหรียญจอมสุรินทร์เหลืออยู่จํานวนเล็กน้อย ถูกเก็บรักษาไว้ ณ ห้องคลังจังหวัดสุรินทร์ ดังนี้
เนื้อทองแดงรมดำ ประมาณ ๒,๐๐๐ เหรียญ
เนื้อนวโลหะประมาณ ๑,๐๐๐ เหรียญ
ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ในขณะนั้น (นายสุธี โอบอ้อม) ได้พิจารณาเห็นว่า ควรที่จะได้นำออกมาสมนาคุณแก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินทำบุญ เพื่อสมทบทุนสร้างพระพุทธรูปใหญ่ที่เขาสวาย ซึ่งกำลังดำเนินการสร้างอยู่ขณะนี้ นอกจากนั้นจะได้นำรายได้ส่วนหนึ่งไปจัดซื้อเครื่องตรวจโลหิตให้แก่โรงพยาบาลจังหวัดสุรินทร์ โดยมอบให้สโมสรไลออนส์สุรินทร์ จัดดำเนินการ จึงขอเชิญท่านได้ร่วมสร้างกุศลในโอกาสนี้
เอกสารอ้างอิงการจัดสร้างพระกริ่งจอมสุรินทร์ พระชัยวัฒน์จอมสุรินทร์ เหรียญจอมสุรินทร์
เอกสารอ้างอิงการจัดสร้างพระกริ่งจอมสุรินทร์ พระชัยวัฒน์จอมสุรินทร์ เหรียญจอมสุรินทร์ พิธีปี ๒๕๑๓ ผมนำจากเพจหลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ซึ่งจำไม่ได้ว่าใครเป็นผู้ถ่ายสำเนาและทำการโพสต์ไว้
ในนามเว็บไซต์พระคุ้มครอง และผู้ศึกษานิยมวัตถุมงคลพระกริ่งจอมสุรินทร์ พระชัยวัฒน์จอมสุรินทร์ เหรียญจอมสุรินทร์ ขอบคุณผู้จัดทำเอกสาร ผู้ทำสำเนา และผู้โพสต์เผยแพร่ ณ โอกาสนี้ด้วย
ข้อสังเกตเกี่ยวกับเอกสารพระกริ่งจอมสุรินทร์ พระชัยวัฒน์จอมสุรินทร์ เหรียญจอมสุรินทร์
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่า ผมไม่ได้มีเจตนาลบหลู่ดูหมิ่น โจมตี หรือกล่าวร้ายฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่อย่างใด และเอกสารนี้ ถือว่าเป็นเอกสารเก่าที่สุดที่ผมเจอมา จึงขออนุญาตตั้งข้อสังเกต หรือวิจารณ์โดยอ้างอิงตามเอกสารนี้
1. หนังสือพระกริ่งจอมสุรินทร์ พระชัยวัฒน์จอมสุรินทร์ เหรียญจอมสุรินทร์ เล่มที่นำมาอ้างอิงนี้ น่าจะไม่ได้จัดทำขึ้นแจกในงานพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งจอมสุรินทร์ในปี พ.ศ.๒๕๑๓ เข้าใจว่าน่าจะรวบรวมจัดทำขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ เพราะในหนังสือระบุว่าจะนำเหรียญที่เหลือจำนวนเล็กน้อยนั้นออกให้เช่าในงานช้างแฟร์ ปี ๒๕๑๘ แสดงว่าหนังสือได้ออกภายในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ แต่หลังปี พ.ศ. ๒๕๑๖ แน่นอน เนื่องจากหนังสือดังกล่าวได้เอ่ยถึงสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ซึ่งพระองค์ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๗ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
2. ตามเอกสารนี้ ไม่มีรายนามพ่อแม่ครูอาจารย์สายกรรมฐานอื่น พระเกจิดังตามที่เราเชื่อกันมา เป็นต้นว่า หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่สาม วัดป่าไตรวิเวก, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
3. เอกสารเล่มนี้ รู้แม้กระทั้งว่า วัตถุมงคลเหลือเท่าไหร่ เก็บไว้ที่ไหน และจะนำออกให้เช่าที่ไหน เมื่อไหร่ แต่เป็นไปได้หรือที่จะไม่รู้ว่าในงานมีพระเกจิสำคัญร่วมงานด้วย หรือว่าพระเกจิเหล่านั้นไม่ได้มางานแต่ต้น
4. จากเอกสารนี้ หลวงปู่ดูลย์ ไม่ได้เป็นผู้จัดสร้างพระกริ่งจอมสุรินทร์ แต่เป็นคณะกรรมการจัดสร้างพระใหญ่เขาสวาย และไม่ใช่โครงการของวัดบูรพาราม วัดบูรพารามเป็นแต่สถานที่ในการจัดทำพิธีพุทธาภิเษกเท่านั้น
5. หลวงปู่ดูลย์ไม่ใช่เจ้าพิธี ไม่ใช่ประธานในพิธี ไม่ใช่ผู้จุดเทียนชัย เจ้าพิธี ประธานพิธี ผู้จุดเทียนชัยมีระบุในเอกสารอยู่แล้ว หลวงปู่ดูลย์เหมือนพระเถระที่ได้รับนิมนต์มาในพิธีที่จัดขึ้นในวัดของตนเอง
6. อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นพิธีที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน แต่อาจจะไม่ใช่พิธีที่มีพระเถระพระเกจิอาจารย์ที่มามากที่สุดในภาคอีสานก็เป็นได้ ที่เรียกว่าพิธีใหญ่ ด้วยเหตุว่า 1.สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกเสด็จ 2.ทราบว่าผู้ว่าราชการจังสุรินทร์ก็มาร่วมงาน (ผิดพลาดขออภัย) 3.เป็นการหาทุนเพื่อจัดสร้างพระใหญ่ 4. ก่อนหน้านั้นทางภาคอีสานก็ไม่ค่อยได้จัดงานอะไร 5. จัดทำพิธีที่วัดบูรพาราม ซึ่งเป็นวัดใหญ่ มีหลวงดูลย์เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งท่านมีผู้เคารพนับถือมากมาย 6. บุคคลผู้มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่ย่อมรับในวงการพระเครื่องเกี่ยวข้องในพิธี เช่น พระอาจารย์ไสว นายช่างเกษม
7. พระจากวัดราชนัดดาราม มาร่วมงานหลายรูป ซึ่งก็ไม่แปลก เพราะพระอาจารย์ไสว วัดราชนัดดาราม เป็นเจ้าพิธีฝ่ายสงฆ์ และท่านน่าจะเป็นผู้จัดหาพระมาร่วมงานพิธีพุทธาภิเษก
8. เซียนพระหลายท่านกล่าวว่า งานพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งจอมสุรินทร์ เป็นงานที่พิธีใหญ่ที่สุด มีพระเกจิสายกรรมฐานมาร่วมมากมาย เป็นต้นว่า หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่สาม วัดป่าไตรวิเวก, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี แต่โปรดรับรู้ว่า เซียนพระที่กล่าวเช่นนั้น ก็ไม่ได้มาร่วมงานในพิธี กล่าวตาม ๆ กันมาเท่านั้น
9. จากข้อที่ 8 เป็นไปได้ไหมที่เซียนพระต้องการโปรโมทพระชุดนี้ให้มีราคาสูงขึ้น โดยอาศัยข้อจำกัดด้านจำนวนพระ พุทธศิลป์ และพระเกจิบางรูป
10. ทั้งหมดที่กล่าวมา ไม่ใช่เป็นการลบหลู่ดูหมิ่น โจมตี หรือกล่าวร้ายฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่อย่างใด หรือเป็นการดิสเครดิตแต่อย่างไร เพราะผมก็ยังเช่า บูชา เคารพนับถือ และขายพระกริ่งจอมสุรินทร์เหมือนเดิมทุกประการ