Skip to content
พระคุ้มครอง

วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง คาถา สิ่งศักดิ์สิทธิ์

  • Home
  • ทำบุญ
  • ธรรมะ
  • คาถา
  • นิทาน
  • นำโชค
  • เรื่องผี
  • ตำนาน
  • หนังสือ
  • เรียกจิต
  • ประเพณี
  • ภาษาวัด
  • ทายนิสัย
  • พระเครื่อง
  • เครื่องราง
  • นานาสาระ
  • ยาสมุนไพร
  • พระสายกรรมฐาน
พระคุ้มครอง

วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง คาถา สิ่งศักดิ์สิทธิ์

นิทานชาดก ทรงยกเรื่องที่เคยเกิดขึ้นมาสอน

พระคุ้มครอง, 18 กันยายน 202218 กันยายน 2022
เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....

นิทาน ชาดก
นิทาน ชาดก

นิทานชาดก ยกเรื่องที่เคยเป็นมาสอน

ชาดก  หมายถึงเรื่องราวในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า  ที่พระองค์ตรัสแสดงเป็นเสมือนนิทานประกอบการเทศน์ เพื่อยกตัวอย่างของพระองค์ในอดีตมาเล่ากำกับการแสดงธรรม เพื่อให้ผู้ฟังได้เข้าใจยิ่งขึ้น  ลักษณะของการตรัสชาดกได้แก่ การยกมาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ปัจจุบันเพื่อให้เข้าใจดีขึ้น  การยกมายืนยันเหตุการณ์ปัจจุบันให้มีน้ำหนักน่าเชื่อถือขึ้น  การกล่าวถึงอดีตให้ผู้ฟังมีจิตคล้อยตาม และเห็นคุณเห็นโทษในสิ่งที่กระทำอยู่  เป็นต้น

ดังนั้น ชาดกที่พระพุทธองค์ตรัสแสดงนั้น เป็นเรื่องในชาติก่อน ๆ ของพระพุทธองค์  ชาติที่ใกล้ปัจจุบันมากที่สุด ได้แก่ ทศชาติ อันเป็นสิบชาติสุดท้าย ก่อนได้เกิดมาเป็นพระสิทธัตถะ เช่น เรื่องพระเวสสันดร  สุวรรณสาม  มหาชนก  มโหสถ  เป็นต้น

พระพุทธเจ้ารู้เรื่องราวต่าง ๆ ในอดีตชาติ ได้อย่างไรนั้น  เพราะพระองค์ได้บรรลุญาณ ๓ เมื่อก่อนตรัสรู้ (หรือวิชชา ๓) และผู้ที่จะได้บรรลุญาณนี้ ไม่เฉพาะแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้น พระอรหันต์ทั่วไปก็บรรลุได้  ญาณทั้งสามนั้น ได้แก่ 

๑) ปุพเพนิวาสานุสติญาณ  สามารถระลึกชาติได้ 

๒) จุตูปปาตญาณ  สามารถรู้อดีตชาติและชาติหน้าของคนอื่นได้ 

๓) อาสวักขยญาณ  ญาณที่สามารถกำจัดอาสวะกิเลสได้ 

ดังนั้นการระลึกอดีตชาติได้นั้นเป็นเรื่องธรรมดาของผู้ได้ญาณดังกล่าว

โดย พระมหาบุญเพียร ปุญญวิริโย จากสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ชุด พุทธประวัติ ฉบับ CD-ROM จัดทำโดย ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ห้องเรียนวัดศรีบุญเรือง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

ชาดก เป็นหนึ่งในนวังคสัตถุศาสน์

นวังคสัตถุศาสน์ คือคำสั่งสอนของพระศาสดา มีองค์ ๙, พุทธพจน์มีองค์ประกอบ ๙ อย่าง, ส่วนประกอบ ๙ อย่างที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ

๑. สุตตะ คำสอนที่เป็นพระสูตรทั้งหลาย รวมทั้งพระวินัยปิฎกและนิทเทส
๒. เคยยะ คำสอนที่มีร้อยแก้วและร้อยกรองผสมกัน ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด
๓. เวยยากรณะ ไวยากรณ์ คือความร้อยแก้วล้วน ได้แก่ พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด และพระสูตรที่ไม่มีคาถา เป็นต้น
๔. คาถา คำสอนที่เป็นบทร้อยกรองล้วน เช่น ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา เป็นต้น)
๕. อุทาน ได้แก่ พระคาถาพุทธอุทาน ๘๒ สูตร
๖. อิติวุตตกะ ได้แก่ พระสูตรที่เรียกว่าอิติวุตตกะ ๑๑๐ สูตร
๗. ชาตกะ คำสอนที่เป็นชาดก ๕๕๐ เรื่อง
๘. อัพภูตธรรม เรื่องอัศจรรย์ คือพระสูตรที่กล่าวถึงข้ออัศจรรย์ต่าง ๆ
๙. เวทัลละ พระสูตรแบบถามตอบที่ให้เกิดความรู้และความพอใจแล้ว ซักถามยิ่ง ๆ ขึ้นไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร เป็นต้น
นวังคสัตถุศาสน์เขียนอย่างบาลีเป็น นวังคสัตถุสาสน์

ฉะนั้น ชาดก จึงเป็นหนึ่งในคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยแท้

ควาหมายของคำว่า นิทาน

นิทาน (นิ + ทาน = ให้) แปลตรงตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ให้ผล” “สิ่งที่ให้ความกระจ่าง” “สิ่งเป็นเครื่องกำหนด” ความหมายคือ บ่อเกิด, แหล่งกำเนิด, เหตุเกิด, เรื่องเดิม, ข้ออ้าง

อ่านเพิ่มเติม…เรื่องที่เกิดมานาน อย่าเหมาว่าเป็น “นิทาน” ไปทั้งหมด


เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....

บทความที่เกี่ยวข้อง

คาถาพระพุทธเจ้าเรียกเทพยดาทั้งเก้าโกฏิ คาถาขอบารมีเทวดาพระพุทธเจ้าไม่ได้สอนอริยสัจ ๔ อย่างเดียว พระพุทธรูปพระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่ มีเหตุผลอย่างไรที่พอจะให้เชื่อได้ว่าพระพุทธเจ้ามีอยู่จริงๆ? กราบพระพุทธรูปทำไมการที่ชาวพุทธรับไตรสรณคมน์นั้น หมายความว่าอย่างไร ? พระพุทธเจ้าเป็นคนสู้พระเจ้าในศาสนาเทวนิยมไม่ได้การแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้า
ธรรมะคุ้มครอง คำสอนชาดกพระพุทธเจ้า

แนะแนวเรื่อง

Previous post
Next post

สวัสดียามเช้า พระคุ้มครอง

  • คลิป VIDEO
  • คอมพิวเตอร์
  • คาถา
  • ดาวน์โหลด
  • ตำนาน
  • ธรรมะคุ้มครอง
  • นานาสาระ
  • นิทาน
  • นิสัยใจคอ
  • บ้านและสวน
  • ประเพณี
  • พระสายกรรมฐาน
  • พระเครื่อง
  • ภาษาวัด ภาษาไทย
  • ยาสมุนไพรโบราณ
  • วัดธรรมยุตในต่างประเทศ
  • ส่งคำอวยพร
  • สังฆทาน
  • สิ่งนำโชค
  • สุขภาพ
  • อาชีพและครอบครัว
  • เครื่องราง
  • เรียกจิต
  • เรื่องผี
  • แนะนำหนังสือ
  • แบ่งปัน
  • ไม้ประดับ ไม้มงคล

เว็บไซต์แห่งนี้ นำเสนอบทความเกี่ยวกับ วัตถุมงคล พระเครื่อง เครื่องราง มนต์คาถา พิธีกรรมต่าง ๆ
ซึ่งทั้งหมด เป็นที่พึ่งทางจิตใจ เป็นความรู้ เป็นความเชื่อที่สืบทอดต่อกันมา
ทางเราไม่อาจจะพิสูจน์ได้ว่า ความเชื่อเหล่านั้นเป็นจริงหรือไม่
ผู้เขียนบทความ ไม่อาจจะรับรองความเชื่อนั้นว่าจะได้ผลจริง หากท่านนำไปปฏิบัติตาม
หน้านโยบายความเป็นส่วนตัว

บทความต่าง ๆ บนเว็บไซต์นี้ แม้ทางเรานำเสนอโดยการศึกษาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ จึงมาเขียน ฉะนั้น ไม่อนุญาตให้คัดลอกบทความโดยพยัญชนะ