พระขุนแผน ไข่ผ่าซีก กรุวัดพระรูป จังหวัดสุพรรณบุรี
สุพรรณบุรีเป็นเมืองโบราณเก่าแก่ มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่มีอายุไม่น้อยกว่า 3,500-3,800 ปี โบราณวัตถุที่ขุดพบนั้นมีทั้งยุคหินใหม่ ยุคสำริด ยุคเหล็ก และสืบทอดวัฒนธรรมต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ ฟูนัน อมราวดี ทวารวดี และศรีวิชัย
สุพรรณบุรีมีชื่อเดิมแต่เก่าก่อนมาว่า ทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ หรือ พันธุมบุรี ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าจีน แถบ บริเวณตำบลรั้วใหญ่ไปจดตำบลพิหารแดง
ต่อมาพระเจ้ากาแตได้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ที่ฝั่งขวาของแม่น้ำ แล้วโปรดให้มอญน้อยไปสร้างวัดสนามชัย และบูรณะวัดป่าเลไลยก์ ชักชวนให้ข้าราชการจำนวน 2,000 คนบวชในพระพุทธศาสนา จึงเรียกใหม่ว่า เมืองสองพันบุรี
ต่อมา ครั้นเมื่อถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง ได้มีการสร้างเมืองมาทางฝั่งใต้หรือทางตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ชื่อเมืองเรียกว่า อู่ทอง จวบจนสมัยขุนหลวงพะงั่ว เมืองสองพันบุรีจึงถูกเรียกใหม่ว่า สุพรรณบุรี นับแต่นั้นมา (เพื่อให้คู่กับเมืองอู่ทอง)
ที่มา wikipedia.org
เมื่อเมืองสุพรรณบุรีมีอายุที่ยาวนานเช่นนี้ จึงเป็นแหล่งกำเนิดวรรณคดีชื่อดังอย่างขุนช้างขุนแผน มีวัดวาอารามที่เก่าแก่และโบราณวัตถุ มีพระกรุมากมายหลายกรุและหลายพิมพ์ บางพิมพ์เป็นสุดยอดแห่งพระเครื่องที่นับเนื่องเข้าในชุดพระเบญจภาคี
กล่าวถึงดพระรูป ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดพระขุนแผนพิมพ์ทรงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เรียกว่าพระขุนแผนไข่ผาซีก ตั้งอยู่ ตำบลรั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี เป็นวัดที่เก่าแก่วัดหนึ่ง สร้างในสมัยอู่ทองตอนปลาย มีพระเจดีย์สมัยอู่ทองกับพระพุทธรูปปางไสยาสน์ศิลปะอู่ทองเป็นสัญลักษณ์สำคัญ
ณ วัดพระรูปแห่งนี้ เป็นถิ่นกำเนิดของพระพิมพ์สมัยอู่ทอง เนื้อดินเผา มีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด มีพุทธลักษณะเป็นพระพุทธประทับนั่งอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว พระพักต์จะยาว มองดูคล้ายพระตรีกายองค์กลางหรือองค์ประธานจนมีบางท่านมีความเห็นว่าน่าจะนำแม่พิมพ์เฉพาะองค์กลางของพระตรีกายมาสร้าง ด้านหลังมีลักษณะอูมแทบทุกองค์ มีสัณฐานคล้ายไข่ผ่าซีก ในวงการพระเครื่องจึงเรียกว่าพระขุนแผนไข่ผาซีกและถือว่าเป็นพระขุนแผนที่มีอายุมากที่สุดในบรรดาตระกูลพระขุนแผนทั้งหมด พระขุนแผนกรุวัดพระรูปมีอยู่ด้วยกัน 2 พิมพ์ ได้แก่
1. พิมพ์ไข่ผ่าซีก มีลักษณะใหญ่รูปทรงคล้ายไข่ไก่ผ่าซีก
2. พิมพ์แตงกวาผ่าซีก มีลักษณะเรียวยาว เล็กกว่าพิมพ์ไข่ผ่าซีก
พุทธคุณพระขุนแผนไข่ผาซีก กรุวัดพระรูป
พระขุนแผนไข่ผาซีก กรุวัดพระรูป เป็นพระเก่าแก่ยุคสมัยอุ่ทอง จึงมีพุทธคุณโดดเด่นในด้านคุ้มครองป้องกันภัย แคล้วคลาดปลอดภัย คงกระพันชาตรี
พระขุนแผนไข่ผ่าซีก กรุวัดพระรูป ไม่มีความเกี่ยวข้องกับขุนแผนในวรรณคดีขุนช้างขุนแผน เหตุที่เรียกว่าพระขุแผนนั้น น่าจะเรียกตามทรงของพระเครื่องที่ลักษณะพิมพ์ทรงคล้ายกันคือประทับนั่งในซุ้มเรือนแก้วซึ่งเคยถูกเรียกมาก่อนนั้น เช่น พระขุนแผนบ้านกร่าง (โดยความเป็นจริง ผมไม่ทราบว่าเรียกพระกรุไหนว่าพระขุนแผนก่อน) และเป็นไปได้ว่าเรียกตามแหล่งกำเนิดวรรณคดีขุนช้างขุนแผน
แท้จริงแล้ว พระขุนแผนไข่ผ่าซีกวัดพระรูป มีลักษณะอย่างเดียวกับพระพุทธชินราช คือเป็นพระพุทธประทับนั่งปางมารวิชัยในซุ้มเรือนแก้ว ฉะนั้น พระขุนแผนไข่ผาซีกวัดพระรูปจึงเป็นพระพิมพ์ปางมารวิชัยประทับในซุ้มเรือนแก้ว
ความพิเศษของพระขุนแผนไข่ผาซีก กรุวัดพระรูป
– เป็นพระที่มีอายุเก่าแก่กว่าพระขุนแผนกรุอื่น ๆ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอู่ทอง
– มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือมีรูปทรงเป็นไข่ผ่าครึ่งหรือไข่ครึ่งซีก
– เป็นพระเนื้อดินผา ผสมว่านและแร่ต่าง ๆ มีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด