เหรียญธรรมจักร ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
เหรียญธรรมจักร ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เนื้อเงินกะไหล่ทอง ตามประวัติสร้างแจกกรรมการ พระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธี และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในยุคนั้นเท่านั้น ไม่ได้ออกให้บุคคลทั่วไปได้บูชา
เป็นที่ทราบกันดีว่า พิธี 25 ศตวรรษนั้น เป็นพิธีเฉลิมฉลองพระพุทธศาสนาและพิธีมหาพุทธาภิเษกที่ใหญ่ที่สุด เป็นการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและคณะสงฆ์ในการจัดพิธีดังกล่าวขึ้น ซึ่งนอกจากเฉลิมฉลองพระพุทธศาสนาแล้ว ทางภาครัฐยังได้จัดสร้างพระเครื่องขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อเป็นการสมโภชพระพุทธศาสนาครบ 2500 ปี มีการนิมนต์พระเถระทั่วไทยมาร่วมงานในพิธี ซึ่งท่านสามารถอ่านได้ที่บทความ.. ด้านล่างนี้
สำหรับเหรียญธรรมจักร ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เนื้อเงินกะไหล่ทอง สร้างเป็นกรณ๊พิเศษ แจกเฉพาะ กรรมการ พระเกจิอาจารย์ที่นิมนต์มาร่วมพิธี และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในยุคนั้นเท่านั้น จึงเป็นเหรียญพิเศษ พบเจอยากในยุคนี้ เป็นความภาคภูมิใจของผู้ที่ได้รับในสมัยนั้นว่าตนเองเป็นผู้มีส่วนร่วมสำคัญในงานฉลอง 25 ศตวรรษ เหรียญธรรมจักร ฉลอง 25 พุทธศตวรรษจึงเป็นเหรียญที่เคยอยู่ในย่ามพระเกจิอาจารย์หรือพระเถระผู้ใหญ่ พบในกุฏิของท่าน หรือในบ้านข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เหมาพระมาหลายสิบบ้านยังไม่เคยเจอเลยครับ
ความหมายของธรรมจักรในพระพุทธศาสนา
ธรรมจักรนั้น เป็นสัญลักษณ์หรือวัตถุมงคลยุคแรก ๆ ของพระพุทธศาสนา มีมาก่อนที่จะมีการสร้างพระพุทธรูปหรือรอยพระพุทธบาทจำลองเสียอีก
ในทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรใช้เพื่อสื่อถึงพระธรรมของพระพุทธเจ้า, บางครั้งเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และใช้แทนหนทางสู่การตรัสรู้ ปรากฏใช้เช่นนี้นับตั้งแต่ศาสนาพุทธในยุคแรก บางครั้งปรากฏเชื่อมโยงธรมจักรเข้ากับอริยสัจสี่, อริยมรรคแปด และ ปฏิจจสมุปบาท
ธรรมจักรที่ปรากฏใช้ในยุคก่อนศาสนาพุทธถือว่าเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์อัษฏมงคล และเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่เก่าแก่ที่สุดของศิลปะอินเดีย
พระพุทธเจ้าทรงเริ่มหมุนกงล้อแห่งธรรมครั้งแรกเมื่อทรงแสดงปฐมเทศนา ดังที่ปรากฏใน ธัมมจักกัปปวัตนสูตร การ “หมุนกงล้อแห่งธรรม” นี้เป็นการแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่มีผลต่อจักรวาล
พระพุทธโฆษาจารย์ พระอรรถกถาจารย์รูปสำคัญ ท่านได้อธิบายว่า “กงล้อ” ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงหมุนนี้ เข้าใจหลัก ๆ ในแง่ว่าเป็นปัญญา ความรู้ และญาณ ปัญญาที่ว่านี้มีสองแง่มุม คือ ปฏิเวธญาณ (paṭivedha-ñāṇa) หรือปัญญาแห่งการรู้ตนถึงความจริง และ เทศนาญาณ (desanā-ñāṇa) ปัญญาของการประกาศความจริง
ธรรมจักรนั้นมีการสร้างเป็นกงล้อหลายซี่ ซึ่งมีการตีความหมายที่แตกต่างกันไป ธรรมเนียมทิเบตตีความกงล้อ 8 ซี่ว่าแทนมรรคแปด และองค์ประกอบสามส่วนของจักร คือ ดุมล้อ, ขอบ และ ซี่ แทนการปฏิบัติสามประการของพระพุทธเจ้า (ศีล, สมาธิ และ ปัญญา) หรือในคติเถรวาทแบบไทย ตีความจักร 12 ซี่ หมายถึงปฏิจจสมุปบาทสิบสอง หรือ 31 ซี่ หมายถึง ภูมิทั้ง 31 (กามภูมิ 11 รูปภูมิ 16 และอรูปภูมิ 4) เป็นต้น นอกจากนี้ยังปรากฏการแทนความหมายของวงล้อที่หมุนไปในฐานะวงล้อของการเวียนว่ายตายเกิด (สังสารวัฏ) ซึ่งเรียกจักรในความหมายนี้ว่า “สงสารจักร” หรือ “สังสารจักร” และ “ภวจักร
ที่มา :ธรรมจักร
พุทธคุณเหรียญธรรมจักร ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
สำหรับเหรียญธรรมจักร ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ทำเป็นกงล้อธรรมจักร 8 ซี่ สื่อความหมายถึงมรรคมีองค์แปด คือหนทางที่ดำเนินไปสู่ความสำเร็จในทางพระพุทธศาสน ภาพรวมของกงล้อธรรมจักรประกอบด้วย ดุมล้อ ขอบ และซี่ อันหมายถึง ศีล สมาธิ ปัญญา
ในด้านแห่งสัญลักษณ์ที่จะสื่อถึงความหมายหรือพุทธคุณนั้น มีดังนี้
- สื่อถึงการหมุนไปข้างหน้า ความเจริญรุ่งเรือง
- สื่อถึงแสงสว่าง การขจัดความมึดบอด ขจัดอุปสรรคทั้งมวล
- สื่อถึงความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
- สื่อถึงความสำเร็จ ดังที่พระพุทธองค์ทรงประการศความสำเร็จด้วยธรรมจักรกัปปวัตนสูตร
- สื่อถึงการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี
- สื่อถึงมหาอำนาจ พระเจ้าจักรพรรดิหมุนล้อรถไปทิศทางใด ยังกษัตริย์น้อยใหญ่และมหาชนให้เกรงขามในทิศนั้น ส่วนธรรมจักรหมุนไปในทางทิศใด ยังแสงสว่าง ความสงบสุขให้เกิดขึ้นในทิศนั้น
เหรียญธรรมจักร ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เป็นวัตถุมงคลที่พกติดตัวได้ง่าย เหน็บกระเป๋าเสื้อ กระเป๋าเดินทาง ไว้ในรถ เดินทางปลอดภัย เป็นที่น่าเกรงขาม ผู้คนให้การต้อนรับ แขวนไว้ที่สูงในบ้าน ส่งเสริมความรักสามัคคีต่อกัน แขวนไว้ในร้าน กิจการค้าขายดี มีคนหมุนเวียนมาไม่ขาดสาย ไว้ในบริษัท ไม่ติดขัดสิ่งใด มีแต่ความเจริญก้าวหน้า นักเรียนนักศึกษาพกติดตัว สิ่งเสริมในการเรียนรู้ มีความคิดสร้างสรร ทันโลกทันเหตุการณ์