พระถ้ำเสือ
พระถ้ำเสือ เป็นอีกหนึ่งพระเครื่องดังแห่งเมืองขุนแผน ถูกพบครั้งแรกที่เขาถ้ำเสือ จึงเรียกตามสถานที่พบว่า “พระถ้ำเสือ” อยู่ในพื้นที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2470 และได้มีการค้นพบเรื่อย ๆ ในปี พ.ศ.2535 พบที่เขาดีสลัก
พระถ้ำเสือ เป็นพระเนื้อดินผสมว่านเกสร ศิลปะออกไปทางอู่ทองล้อทวาราดี พบหลายพิมพ์ใน 3 สี ได้แก่ สีเหลือง สีแดง สีเขียว ต่อมามีผู้พบพระเนื้อดินที่มีลักษณ์ดังกล่าวอีกหลายที่ เช่น ในถ้ำเขานกจอด ในเจดีย์เขาพระ ในเขาวงพาทย์ ในวัดหลวง และบริเวณเขาดีสลัก แต่ก็ยังเรียกว่าพระถ้ำเสือเช่นเดียวกัน
เชื่อกันว่า พระถ้ำเสือถูกสร้างโดยเหล่าฤาษีที่อาศัยอยู่ในถ้ำ ป่าเขา แล้วจึงบรรจุไว้ในสถานที่ต่าง ๆ มีถ้ำ และเจดีย์ เป็นต้น
พระถ้ำเสือเป็นพระที่พบหลายพิมพ์มาก ๆ แต่พอสรุป เป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
1. พระถ้ำเสือ พิมพ์ใหญ่
2. พระถ้ำเสือ พิมพ์กลาง
3. พระถ้ำเสือ พิมพ์เล็ก
4. พระถ้ำเสือ พิมพ์จิ๋ว
พระถ้ำเสือทั้ง 4 พิมพ์นี้ มีพุทธลักษณะโดยรวมคือจะเป็นพระพุทธประทับนั่งปางมารวิชัยทั้งหมด
พุทธคุณ พระถ้ำเสือ
พระถ้ำเสือ ไม่ว่าจะพบที่ใด พิมพ์อะไร และสีอะไร ล้วนมีพุทธเหมือนกันในด้านคุ้มครองป้องกันอันตราย ป้องกันไข้ป่า ป้องกันอาถรรพ์ป่า ป้องกันสัตว์ร้าย