อุติ่ง อันที่จริงผมก็สงสัยอยู่ทำไมเรียกว่า อุติ่ง ทำไมไม่เรียกว่า อิ่น ทั้งที่เป็นรูปหญิงชายกอดกันเหมือนกัน แต่ที่พอสังเกตได้คือ อุติ่ง พิเศษจาก อิ่น ตรงที่ อุติ่ง เป็นรูปหญิงชายที่นั่งบนหลังช้าง (ผมไม่แน่ใจว่า ถ้านั่งบนหลังม้า จะเรียกว่า อุติ่ง ไหม แต่ก็คงเรียกเหมือนเดิม) และอีกสิ่งที่ อุติ่ง เหมือน อิ่น คือ อุติ่ง เป็นเครื่องรางของภาคเหนือของไทย ประมาณทางล้านนา ไทยใหญ่
ประวัติ อุติ่ง
ผมพยายามค้นขว้าที่ตำนานของอุติ่ง แต่ก็ยังไม่ค่อย มีข้อมูลสั้น ๆ ประมาณว่า อุติ่ง สร้างตัวละครในเรื่องเล่าของไทยใหญ่ เป็นเจ้าชายที่รบเก่ง ยกทัพช้างไปตีเมืองใด ก็ได้ธิดาเมืองนั้นมาเป็นชายา ประมาณว่าพิชิตทั้งรักชนะทั้งรบ ตอนไปรบนั่งไปบนหลังช้างไปหนึ่ง ตอนกลับมาสอง ไม่มีขาดทุน โบราณจึงมีการสร้างเป็นคนสองคนนั่งบนหลังช้าง หันหน้าเข้าหากันบ้าง กอดกันบ้าง หรือหันหน้าไปทางเดียวกันบ้าง เหมือนกลับเดินทางกลับบนหลังช้าง จะหันหน้าเข้าหากัน หรือหันหน้าไปทางไหนก็ตามแต่สิ่งที่แสดงออกบนหลังช้างคือความสุข ความสมหวังในการเดินทาง
การสร้างและปลุกเสกอุติ่ง
แต่โบราณมาหากต้องการจะทำอุติ่งเพื่อเพื่อใช้ติดตัว ต้องให้ช่างแกะเป็นรูปหญิงชายนั่งบนหลังช้าง ที่เห็นมาโดยมากจะเป็นเนื้องา เนื้อหิน ดิน ไม้ เนื้อโลหะก็พอได้เจอบ้าง แล้วนำอุติ่งนั้นใส่ในถ้วย แล้วขอร้องให้หมอครูทำการปลุกเสกให้ ผู้ที่ทำการปลุกเสกอุติ่งต้องเข้าไปอยู่ในป่า ขัดราชวัตร แล้วเสกเนิ่นนาน จนสัมฤทธิผล กล่าวกันว่าจนได้ยินเสียงโขลงช้างดังกึกก้องไปทั่ว จึงจะใช้การได้ เมื่อได้อุติ่งที่หมอครูประกอบพิธีปลุกเสกให้แล้ว ก็จะเก็บอุติ่งในกระบอกไม้กลึง หรือกระบอกไม้ไผ่ หรือในตลับสีผึ้งเพื่อรักษาเนื้องา เนื้อไม้นั้นไว้ พกติดตัวเป็นเครื่องรางด้านเสน่ห์ ดีทางด้านเจรจา ทวงหนี้
วิธีการใช้ อุติ่ง
หากต้องการให้อุติ่งที่ผ่านพิธีปลุกเสกแล้วช่วยงานเรา วิธีการใช้อุติ่งคือ ให้วางถ้วยแกงผัก กับถ้วยข้าว แล้ววางอู่ติ่งไว้ตรงกลาง กล่าวคำเชิญอุติ่งมากินข้าว ด้วยคำว่า โอมตินนะ ตินนะ หัตติ หัตติ สัตตั๋ง จิ๊นัง จิ๊นัง กับสะหย่ากับ โอม สวา หมุ หุ และกล่าวด้วยภาษาของตน (เหมือนเราเชิญญาติผู้ใหญ่มากินข้าวนี่แหล่ะ) สักพักก็กล่าวว่า “คนมีสัจจะ ผีมีสัจจะ กินแล้วก็ขอให้ช่วยด้วยนะ” จากนั้นก็บอกกล่าวให้อุติ่งช่วย โดยมากจะเป็นเรื่องติดต่อเจรจาการงาน เข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ ค้าขาย หรือเกี่ยวกับความรักเป็นต้น
อานุภาพหรือคุณของ อุติ่ง
- มีเก็บไว้กับตัว จักเป็นที่รักใคร่เมตตาเอ็นดู และได้รับการช่วยเหลือจากเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
- ขจัดปัดเป่าอุปสรรค์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับหน้าที่การงานอาชีพ
- หากเดินทางไกลก็จะปลอดภัย ได้รับความคุ้มครองด้วยดี
- แช่น้ำประพรมของที่จะขาย ทำให้ขายดี ขายคล่อง
- แช่น้ำส้มป่อย 7 ฝัก อาบก่อนไปหาผู้ใหญ่ ติดต่อราชการ ติดต่อการงาน จักราบรื่น
- หากมีไว้ประจำบ้านเรือน หมั่นสวดมนต์ภาวนา ตั้งอยู่ในศีลธรรม ย่อมนำมาซึ่งโภคะทรัพย์ ลาภผลพูนทวี เจริญงอกเงยไม่อดอยาก
ว่ากันมาในกล่มชาวไทยใหญ่ว่า อุติ่ง ที่เป็นของเก่า ที่ผ่านการปลุกเสกมาจากหมอครูแล้ว หากใครได้เก็บไว้ มักจะหวงแหนจนถึงวันตาย บางคนสั่งลูกหลานไว้ ให้นำอุติ่งเผาไปตัวตนด้วยก็มี เราจึงไม่ค่อยได้เห็นอุติ่งที่เป็นของเก่ามากนัก
อุติ่งในเชิงสัญลักษณ์
หากจะกล่าวถึงในด้านเชิงสัญลักษณ์แล้ว อุติ่ง สื่อความหมายได้ดังนี้
- มีฐานเป็นช้าง หมายถึงความรักที่มั่นคง มีความเจริญก้าวหน้าในชีวิตรัก ในหน้าที่การงาน
- หญิงชายนั่งเสมอกันบนหลังช้าง หมายถึงความเท่าเทียม ความเสมอภาคของหญิงชายในด้านความรักที่ไม่มีขอบเขต ไม่มีพรมแดน ไม่มีสิ่งขวางกั้น ความสมดุลของหยินหยาง
- หญิงชายกอดกัน หมายถึงความรักที่มีต่อกัน ความเจริญ การกำเนิดใหม่ การเกิดสิ่งดี ๆ การเริ่มต้นในสิ่งดี ๆ
คาถาบูชา อาราธนาอุติ่ง
ใช้ตอนเรียกอุติ่งมากินข้าว หรือตอนที่ต้องการให้อุติ่งช่วยเหลือ หรือว่า ก่อนนำอุติ่งพกติดตัว
โอม ตินนะ ตินนะ หัตติ หัตติ สัตตั๋ง จิ๊นัง จิ๊นัง กับสะหย่ากับ โอม สวา หมุ หุ
เกี่ยวกับภาพหญิงกับช้างที่มีผู้พาดพิงถึงในคอมเมนต์
เกี่ยวกับภาพ หญิงกับช้าง (ผมได้ลบออกแล้ว)
ต้องขออภัยที่ตอบช้า และขออนุญาตชี้แจ้งเกี่ยวกับภาพนะครับ ภาพหลัก ๆ ที่นำมาประกอบบทความ ผมได้จากการซื้อบ้าง จากการถ่ายภาพเองบ้าง จากเว็บไซต์แจกภาพฟรีบ้าง ตามที่ได้ชี้แจงใน https://prakumkrong.com/about-us/
ส่วนภาพหญิงกับช้างผมได้มาจากเว็บไซต์ https://pixabay.com/images/id-1822525/ ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เจ้าของภาพอัพโหลดภาพขึ้นเพื่อให้สมาชิกหรือบุคคลทั่วไปนำไปใช้ฟรีโดยไม่ต้องระบุที่มาก็ได้ หรือไม่ต้องแจ้งเเจ้าของภาพก็ได้ (ผมไม่รู้ว่าเขาเปลี่ยนกฎใหม่หรือยัง) ซึ่งเจ้าของภาพก็ต้องยินยอมจึงได้อัพขึ้นไป
ผมเองก็เป็นสมาชิกเว็บไซต์ดังกล่าว และได้อัพโหลดภาพขึ้นไว้ https://pixabay.com/th/users/naturepost-1467357/
ซึ่งภาพที่ผมอัพนั้น ผมถ่ายเองทั้งหมด แต่ต้นฉบับอาจจะไม่อยู่แล้ว เพราะไม่ได้คลุกคลีกกับกล้องนานหลายปีแล้ว ภาพที่ผมอัพนั้น ใครจะไปไปใช้ก็นำไปใช้ได้เลย โดยที่ไม่ต้องขออนุญาตจากผม ไม่มีการไปทวงถามใคร เพราะผมถือว่าผมยินยอมให้นำไปใช้และอนุญาตแล้วตั้งแต่ผมอัพขึ้นไป
อย่างไรก็ตามทางเราได้ลบภาพของหญิงกับช้างออกจากบทความนี้แล้ว อีกทั้งยังได้ส่งข้อความแจ้งเจ้าของคอมเมนต์ ผู้อัพโหลดภาพบน pixabay.com แล้วครับ
ขอบคุณที่แจ้งเข้ามาครับ
ที่มาของของภาพ https://pixabay.com/images/id-1822525/
ขอบคุณครับ