การทำฝนเทียมเป็นกรรมวิธีดัดแปรสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝนตกลงมาในบริเวณพื้นที่ที่ต้องการให้ตก การทำฝนเทียมเป็นกรรมวิธีการเลียนแบบธรรมชาติ โดยทำจากเมฆซึ่งมีลักษณะพอเหมาะที่จะเกิดฝนได้ จากนั้นจึงเร่งให้เกิดการควบแน่นของเมฆ ด้วย 3 ขั้นตอน คือ
1. ก่อกวน
2. เลี้ยงให้อ้วน
3. โจมตี
การทำฝนเทียมมักทำใน 2 สภาวะ
1. การทำฝนเมฆเย็น เมื่อเมฆมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส
2. การทำฝนเมฆอุ่น เมื่อเมฆมีอุณหภูมิสูงกว่า 0 องศาเซลเซียส
การทำฝนเทียมในสองสภาวะนี้จะใช้สารในการดัดแปรสภาพอากาศที่แตกต่างกัน
สารเคมีที่ใช้ทำฝนเทียมนั้นมีหลายประเภท ซึ่งแยกประเภทได้ดังนี้
1. สารเคมีประเภททำให้อุณหภูมิสูงขึ้นได้แก่ แคลเซียมคาร์ไบด์ แคลเซียมคลอไรด์ แคลเซียมออกไซด์
2. สารเคมีประเภทที่ทำให้อุณหภูมิต่ำลงนั้น จะได้แก่ ยูเรีย แอมโมเนียไนเตรด น้ำแข็งแห้ง
3. สารเคมีที่ทำหน้าที่ดูดซับความชื้น ได้แก่ เกลือ เป็นต้น
การทำฝนเทียมนั้น ได้รับการคิดค้น พัฒนา และนำมาใช้กันในต่างประเทศตั้งแต่่ปี ค.ศ. 1946 หรือ ปี พ.ศ.2489 แล้ว และมีการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เป็นต้นว่า การเกษตร ดับไฟป่า หรือกระทั่งเพื่อป้องกันการตกของฝนในวันที่กำหนด เช่น ในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่ประเทศจีน
ในเรื่องของการทำฝนเทียมนี้ยังจะต้องทำการศึกษาค้นคว้ากันอีกมาก ขณะนี้มีนักวิทยาศาสตร์ เข้าใจว่า การทำฝนเทียมอาจจะเพิ่มปริมาณฝนได้มากกว่าฝนตกตามธรรมชาติประมาณร้อยละ 10 ถึง 20 แต่เรื่องนี้ก็ยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่แน่ชัด เพราะการที่จะแยกปริมาณน้ำฝนจากฝนที่ตกตามธรรมชาติและฝนเทียมนั้น ทำได้ยากยิ่ง
ที่มา