Menu
พระคุ้มครอง
  • Home
  • ทำบุญ
  • ธรรมะ
  • คาถา
  • นิทาน
  • ตำนาน
  • เรื่องผี
  • นำโชค
  • ทายนิสัย
  • เรียกจิต
  • พระเครื่อง
  • เครื่องราง
  • ประเพณี
  • นานาสาระ
  • เกี่ยวกับเว็บไซต์
พระคุ้มครอง

พระพุทธมนต์ ๕ พระองค์ หรือ พระคาถาพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ มนต์แห่งสวัสดิภาพ

Posted on 7 พฤษภาคม 20217 พฤษภาคม 2021 by พระเครื่อง พระคุ้มครอง

“ประวัติพระบุญนาคเที่ยวกรรมฐาน” ซึ่งเป็นหนังสือบันทึกการเที่ยวธุดงควัตรของท่าน ซึ่งตามประวัติท่านเป็นคนเขียนเองหลังจากที่ได้กลับจากธุดงค์ เป็นอีกหนังสือเล่มหนึ่งที่ผมอ่านแล้วไม่รู้สึกเบื่อ หนังสือเล่มนี้ไม่ได้เขียนในทำนองเสนอเรื่องปาฏิหาริย์ แต่ก็มีเรื่องอัศจรรย์ใจอยู่ในตัว และบทความนี้ขอนำเหตุการณ์บางตอนอันเป็นที่มาของ พระพุทธมนต์ 5 พระองค์

พอสว่างตอนเช้าก็เข้าไปบิณฑบาต ก็มีเฉพาะแต่คนภาษาลาวเขาใส่ให้ข้าวก้อนหนึ่งประมาณเท่าไข่เป็ด จึงกลับไปฉันที่ศาลา เสร็จแล้วก็เดินต่อไป เข้าเขาส้มโรงในวันนั้น ข้ามเขาไปได้ ๔ ลูก เลียบไปตามชายเขา

พอประมาณ ๕ โมงเย็นมองหาที่พัก เผอิญมองไปเห็นสามเณรองค์หนึ่ง นั่งนับลูกประคำอยู่ เข้าไปถาม ไม่พูดด้วย เป็นแต่เขียนหนังสือบอกว่า

“ผมอยู่เมืองหงสาวดี เที่ยวธุดงค์ไปกับอาจารย์ บัดนี้อาจารย์ตายเสียแล้ว ยังเหลือแต่ผมคนเดียว บัดนี้อายุผมได้ ๑๗ ปี จะเที่ยวไปไม่อาลัย ผมชื่อเณรจวง”

ดังนี้ จึงพักอาศัยอยู่ในถ้ำเดียวกันในคืนวันนั้นจนตลอดรุ่ง

พอสว่างรุ่งเช้าขึ้น สามเณรรูปนั้นจึงกวักมือเรียกอาตมภาพว่า สามเณรท่านจงเข้ามานี้ ครั้งอาตมภาพเข้าไปถึง สามเณรรูปนั้นจึงพูดว่า ต่อไปนี้บ้านมนุษย์ห่าง เมื่อท่านต้องการอาหารแล้ว รุ่งเช้าขึ้นท่านจงฟังเสียงชะนีมันร้อง เมื่อชะนีร้องมากชุมที่ไหน ท่านจงเข้าไปที่นั้น เพราะชะนีกินผลไม้เป็นอาหาร ท่านไปถึง เมื่อท่านต้องการ ท่านก็จะได้ฉันผลไม้นั้นเป็นอาหาร ว่าแล้วก็นั่งนิ่งอยู่

อาตมภาพจึงขอลาท่านไป สามเณรนั้นจึงพูดว่า “ท่านจะเดินต่อไป ท่านจงเรียนพระพุทธมนต์ ๕ พระองค์ด้วยผมก่อน ท่านจะไปด้วยความสวัสดิภาพ” ดังนี้

อาตมภาพถามว่า พุทธมนต์นั้นอย่างไร

สามเณรจึงบอกว่า “นะเมตตา โมกรุณา พุทปรานี ธายินดี ยะเอ็นดู” ดังนี้ ท่านจงเจริญบ่อย ๆ ท่านจะปลอดภัย ดังนี้

ต่อนั้น อาตมภาพจึงลาเณร แล้วเที่ยวต่อไปอีก ๓ วันยังไม่พบบ้านคน ฉันผลไม้เป็นอาหาร วันคำรบ ๔ เดินไปมองขึ้นไปบนยอดภูเขาเห็นต้นยาใหญ่ มองไกลคล้าย ๆ กับเจดีย์ เพราะฤดูนั้นเป็นฤดูใบยาร่วงเสียหมด เป็นพัก ๆ คล้ายกับต้นมะพร้าว แต่ต้นมันใหญ่ปลายต้นเล็ก คล้ายกับยอดเจดีย์ อาตมภาพจึงอุตส่าห์ขึ้นไปดู เห็นใบพร้อมทั้งเปลือกเข้าใจแน่ได้ว่าเป็นยาแท้ จึงเก็บเอาใบแห้งมาสูบดู ก็เป็นรสเมาอย่างยาที่มีอยู่ตามบ้านคน อาตมภาพจึงเอามีดโต้เล่มเล็ก ๆ ที่ติดย่ามไปนั้นบากต้นยาได้สองกีบก็ถือไป จวนค่ำก็ถึงบ้านแห่งหนึ่ง ๖ หลังคาเรือน ไม่รู้ชื่อบ้าน เพราะคนเหล่านั้นเป็นข่าไม่รู้ภาษากัน อาตมภาพจึงแวะเข้าจำวัด อาศัยเงือบหินที่ชายเขา

รุ่งเช้า ก็เข้าไปบิณฑบาต เห็นคนแก่คนหนึ่งนั่งหลามข้าวโพดสาลีอยู่ ผ้าก็ไม่นุ่งห่มเลย อาตมภาพจึงไปยืนหน้าบ้านแก ๆ ก็คว้าไม้ท่อนฟืนตรงเข้ามาหา ทำท่าจะตีอาตมภาพ ๆ มองเห็นเช่นนั้นก็หลับตายืนตรงอยู่กับที่ ไม่ช้าแกตรงเข้าไปจับชายจีวร แล้วพูดขึ้น แต่ไม่รู้ภาษา อาตมภาพจึงตรงเข้าจี้มือลงในกระบั้งหลามข้าวโพด  แกก็เอามาให้หมดทั้งกระบั้ง อาตมภาพก็หลีกไปนั่งฉันอยู่ ณ ลานหินทิศตะวันออกบ้านของคนเหล่านั้น แกก็ตามไปดู แล้วก็คลานเข้ามาจับฝ่าเท้าของอาตมภาพแสดงความรักใคร่ คือแกหัวเราะขึ้นแล้วก็กลับเข้าไปในบ้าน เรียกเพื่อนบ้านมาดูทั้งหญิงทั้งชาย แต่ไม่มีผ้านุ่งห่มทั้งนั้น

ที่มา : http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/pra-boonnak/pra-boonnak-05.htm

ความคิดเห็นส่วนตัวผม

  • สามเณรจวงนั่งนับลูกประคำ สอดคล้องกับที่พระทางเหนือหรือทางพม่านิยมใช้ลูกประคำ
  • สามเณรจวงเป็นคนหงสาวดีแต่ที่น่าแปลกใจคือสามารถเขียนภาษาไทยได้ (ในเรื่องไม่ได้บอกว่าเขียนด้วยภาษาอะไร แต่น่าจะเป็นภาษาไทย)
  • พระพุทธมนต์ ๕ พระองค์ที่สามเณรจวงบอกก็เป็นมนต์แบบไทย ๆ มีภาษาไทยอยู่ด้วย
  • พระพุทธมนต์ ๕ พระองค์นี้ แท้จริงก็คือมนต์พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ซึ่งเป็นมนต์คาถาที่ได้รับความนิยมโดยทั่วไป
  • สามเณรบอกว่า เมื่อเรียนพระพุทธมนต์ ๕ พระองค์นี้แล้วจะเดินทางด้วยสวัสดิภาพ และเป็นเช่นนั้นจริง ๆ สำหรับพุทธคุณหรืออานุภาพแห่งพระพุทธมนต์ ๕ พระองค์นี้ที่เราทราบมา คือเด่นด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย แต่อันที่จริงมีพุทธคุณครอบจักวาล
  • ทุกอย่างเป็นไปตามที่สามเณรจวงกล่าวคือ เมื่อไปจะไม่มีบ้านคนอาศัยอยู่ หากต้องการอาหารให้ฟังเสียงชะนีร้อง และให้ท่านเรียน พระพุทธมนต์ ๕ พระองค์นี้เสียก่อนแล้วท่านจะไปโดยสวัสดิภาพและปลอดภัย จะด้วยบุญบารมีของท่านอาจารย์บุญนาคหรือด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธมนต์ ๕ พระองค์ แต่ก็ทำให้ท่านปลอดภัยได้รับการคุ้มครองเป็นเมตตามหานิยมแก่ผู้พบเห็น แม้คนที่ไม่รู้ภาษาไม่มีศาสนา คนปาคนเถื่อนก็ไม่ทำร้ายท่านกลับเป็นเมตตาให้ความรักเอ็นดูท่าน ดังบทพระพุทธมนต์ ๕ พระองค์ ที่ว่า
    “นะเมตตา โมกรุณา พุทปรานี ธายินดี ยะเอ็นดู”
เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ โปรดแชร์....
  • amulet gatha
  • Amulet Katha
  • katha amulet
  • Khatha
  • thai katha
  • กราบพระก่อนนอน
  • การบูชา
  • คาถา
  • คู่มือ
  • บทสวด
  • มนตรา
  • มารดาบิดา
  • วิชา
  • สวดมนต์
  • อาคม
  • ไหว้พระ
  • ไหว้พระขอพร
  • สวัสดียามเช้า พระคุ้มครอง

    • คลิป VIDEO
    • คอมพิวเตอร์
    • คาถา
    • ดาวน์โหลด
    • ตำนาน
    • ธรรมะคุ้มครอง
    • นานาสาระ
    • นิทาน
    • นิสัยใจคอ
    • บ้านและสวน
    • ประเพณี
    • พระสายกรรมฐาน
    • พระเครื่อง
    • ภาษาวัด ภาษาไทย
    • ยาสมุนไพรโบราณ
    • วัดธรรมยุตในต่างประเทศ
    • ส่งคำอวยพร
    • สังฆทาน
    • สิ่งนำโชค
    • สุขภาพ
    • อาชีพและครอบครัว
    • เครื่องราง
    • เรียกจิต
    • เรื่องผี
    • แนะนำหนังสือ
    • แบ่งปัน
    • ไม้ประดับ ไม้มงคล

    บทความล่าสุด

    • ถวายหมวกไหมพรมพระ หน้าหนาว

      ถวายหมวกไหมพรมพระ หน้าหนาว

    • การห่มผ้าพระธาตุคืออะไร ได้บุญอย่างไร

      การห่มผ้าพระธาตุคืออะไร ได้บุญอย่างไร

    • ถวายชักโครก หมดทุกข์โศกโรคภัย

      ถวายชักโครก หมดทุกข์โศกโรคภัย

    • ถวายป้ายวัด ป้ายบอกทาง อานิสงส์ไม่หลงทาง ทำอะไรก็สำเร็จ เหมือนมีผู้ชี้นำ

      ถวายป้ายวัด ป้ายบอกทาง อานิสงส์ไม่หลงทาง ทำอะไรก็สำเร็จ เหมือนมีผู้ชี้นำ

    • พระกริ่งนารายณ์แปลงรูป พระอาจารย์นอง วัดทรายขาว ปี 2542

      พระกริ่งนารายณ์แปลงรูป พระอาจารย์นอง วัดทรายขาว ปี 2542

    บทความนิยมสุด

    บทความแนะนำ

    • ปล่อยปลาหน้าเขียง
    • พระคาถา หัวใจ ๑๐๘
    • 10 อันดับพระปิดตายอดนิยม
    • ที่สุดของพระเครื่อง เรื่องต้องรู้
    • การเรียกจิตคนรักให้กลับมามีจริงไหม

    รวมคาถา

    • รวมวิธีเรียกจิต
    • รวมคาถาเสกสีผึ้ง
    • รวมคาถาบูชาขุนแผน
    • รวมคาถาบูชาปลัดขิก
    • รวมคาถาหลวงพ่อกวย

    เว็บไซต์แนะนำ

    • สื่อการสอน
    • ยามอุบากอง
    • ปฏิทินวันพระ
    • ส่งภาพสวัสดียามเช้า
    • ดาวน์โหลดแบบเอกสาร
    เนื้อหาที่ปรากฏบนเว็บไซต์นี้ เป็นความเชื่อที่สืบทอดกัน เป็นความเชื่อเฉพาะกลุ่ม หรือเฉพาะบุคคล : นักเขียนหรือทางเว็บไซต์เป็นแค่ผู้เสนอความรู้เหล่านั้นมาเผยแพร่ต่อ นักเขียนหรือทางเว็บไซต์จะไม่รับผิดชอบหากท่านนำไปใช้แล้ว ไม่เป็นไปตามความประสงค์ โปรดใช้วิจารณญาณ ภาพวัตถุมงคลที่นำมาประกอบบทความนี้ เป็นแต่เพียงภาพประกอบบทความเท่านั้น ยังไม่สามารถยืนยันความแท้หรือไม่แท้ของวัตถุมงคลนั้น ๆ ได้ เว็บไซต์นี้ไม่ได้ขายพระเครื่อง หากท่านสนใจบูชาพระเครื่องชมได้ที่เว็บไซต์ prakumkrong.99wat.com สงวนลิขสิทธิ์ Copyright www.prakumkrong.com