สีผึ้งเขียวและ สีผึ้งน้ำตาลหลวงปู่ทาบ ที่เจ้าของได้จัดเก็บไว้สำหรับพกติดตัวบูชาในรูปลักษณ์ของหยิน-หยาง (Yin and yang) ดูแล้วก็เข้าทีน่ามีไว้บูชา เขาได้จัดแบ่งสีผึ้งเขียวและสีผึ้งน้ำตาล (สีผึ้งชายหง่อยเมียหก) ออกในอัตราส่วนที่เท่ากันอยู่ในสัญลักษณ์ที่ทรงพลังอำนาจที่มีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนชีวิตชายหญิง นั่นก็คือ หยิน-หยาง (Yin and yang)
ความหมายของ หยิน-หยาง (Yin and yang)
หยิน-หยาง (Yin and yang) เป็นสัญลักษณ์ประจำลัทธิเต๋า หมายถึง พลังอำนาจที่มีบทบาทต่อกันของจักรวาล
ปราชญ์ชาวจีนเชื่อกันมาแต่โบราณว่า หยิน-หยาง (Yin and yang) เป็นตัวแทนของพลังแห่งจักรวาล 2 ด้าน คือ เครื่องหมายหยิน
และหยางนี้พัฒนามาจากปรากฎการณ์ทางธรรมชาติของจักรวาล
สีดำ คือ หยิน (Yin) หมายถึง ดวงจันทร์ เป็นสัญลักษณ์หรือตัวแทนของการเต็มใจ รับหรือยอมเป็นฝ่ายถูกกระทำ เป็นพลังแห่งสตรี ที่มีความเยือกเย็น สงบนิ่ง การเคลื่อนลงต่ำ การเก็บรักษา การยับยั้ง
สีขาว คือ หยาง (yang) หมายถึง ดวงอาทิตย์ เป็นตัวแทนของพลังแห่งบุรุษ การเคลื่อนไหว ความกระตือรือร้น การขับเคลื่อนขึ้นไปด้านบน การเจริญเติบโต เจริญรุ่งเรือง ความร้อนแรง
ดังนั้น สัญลักษณ์แห่ง หยิน-หยาง (Yin and yang) จึงเป็นสัญลักษณ์แทนความสมดุลของพลังในจักรวาล
เมื่อพิจารณาดูคุณสมบัติของอำนาจแห่งหยินและหยางแล้ว จะเห็นได้ว่าไม่มีทางที่จะเหมือนกันได้คือมีความตรงกันข้ามกัน แต่เมื่อ
นำสิ่งทั้งสองรวมกันแล้ว ก็จะเกิดความสมดุล ความสมบูรณ์ ความพอดี ถ้ามีพลังหยินมากเกินไป ทุกสิ่งทุกอย่าง จะสงบนิ่งมากเกินไป จนดูกลายเป็นเฉื่อยชา แต่ถ้ามีพลังหยางมากเกินไป ทุกสรรพสิ่งก็จะถูกเปลี่ยนไปในด้านความก้าวร้าว ความรุนแรง ซึ่งจะทำให้เกิดความโกลาหลวุ่นวายได้
มีผู้ให้คำเปรียบเทียบหยิน-หยาง ไว้ดังนี้
หยาง เปรียบเหมือนดัง ผู้ชาย แน่นอนว่า หยินเปรียบเหมือน ผู้หญิง
หยาง ไม่อาจเติบโตเจริญขึ้นได้ หากปราศจาก หยิน และหยินเองก็ไม่สามารถให้กำเนิดชีวิตใหม่ได้หากปราศจาก หยาง
ที่มา : https://www.finearts.go.th/mahavirawongmuseum/view/12432-เครื่องหมายหยิน—หยาง
ตามที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า หยิน และ หยาง ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน จะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปไม่ได้ และต้องมีความสมดุลกัน ห่างร่างกาหรือธาตุขันธ์มีหยิน และ หยาง ไม่สมดุลกันก็เกิดการเจ็บป่วย หากความรัก หรือ คู่รัก มีหยิน และ หยางไม่สมดุลกัน ก็เกิดความหวาดระแวงต่อกันและกันจนถึงขั้นแตกร้าวได้