พระท่ากระดาน เป็นพระเครื่องที่มีประติมากรรมแบบ แบน นูนสูง คือมีภาพด้านหน้าด้านเดียว ด้านหลังแบนเรียบ ถูกสร้างสมัยอู่ทองราว ๆ ปี พ.ศ. 1800 – พ.ศ. 2031 พระเกศของพระท่ากระดานนั้นเข้าใจว่ายุคที่สร้างมีพระเกศแบบเดียวคือมีพระเกศยาว แต่เนื่องด้วยอายุพระ การถูกกดทับในกรุจึงพบว่ามีพระเกศมีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
- พระท่ากระดานเกศตรง คือเป็นพระที่มีเกศสมบูรณ์แบบ ไม่สึกหรือหัก ไม่ถูกกดทับจนทำให้เกศคดงอ
- พระท่ากระดานเกศคด คือพระที่เกิดจากการบิดงอหรือถูกทับบิดจนทำให้เกศเสียรูปทรงบิดงอไป
- พระท่ากระดานเกศบัวตูม คือพระที่มีเกศหักตั้งแต่อยู่ในกรุ อันเนื่องมาจากการชำรุดตามอายุจึงทำให้เกศเหลือสั้นลง
พระท่ากระดานเป็นพระที่สร้างจากเนื้อตะกั่ว เมื่อมีอายุนานเข้าหลายร้อยปี ตะกั่วจะขึ้นสนิมแดง ส่วนที่นูนเด่นจะมีสีแดงเข้ม โดยเฉพาะบริเวณพระเนตรทั้งสองข้าง จนทำให้เกิดความเข้าใจว่า พระท่ากระดานต้องตาแดงและเกศคด แต่ความเป็นจริงพระท่ากระดานตาแดงและเกศคดเฉพาะบางองค์เท่านั้น
พระท่ากระดานเป็นพระสมัยอู่ทองเชื่อกันว่าสร้างโดยเหล่าฤาษี ซึ่งฤาษีในสมัยนั้นเป็นผู้ที่ปลีกตัวอาศัยอยู่ในป่ามีพระเวทย์แก่กล้าจริง มีความรู้ด้านสรรพวิชา การเล่นแร่แปรธาตุ และทางด้านว่านยาต่าง ๆ ซึ่งต่างจากฤาษีสมัยนี้มีลูกมีเมียไม่มีอะไรที่ชัดเจนเลย
พระท่ากระดานกรุต่าง ๆ
พระท่ากระดานที่พบในกรุต่าง ๆ ดังนี้
- พระท่ากระดานกรุถ้ำลั่นทม ถูกพบเมื่อปี พ.ศ. 2497 ประมาณ 200 องค์
- พระท่ากระดานกรุเหนือ (กรุวัดบน) ปี พบเมื่อปี พ.ศ.2495-2496 ประมาณ 300-400 องค์
- พระท่ากระดานกรุกลาง (วัดท่ากระดาน) พบเมื่อปี พ.ศ. 2495-2496 ประมาณ 100 กว่าองค์
- พระท่ากระดานกรุใต้ (กรุวัดล่าง) พบเมื่อปี พ.ศ.2495-2496 พบไม่ถึง 100 องค์
- พระท่ากระดานกรุวัดนาสวน (วัดต้นโพธิ์) พบเมื่อปี พ.ศ. 2506 ประมาณ 40 องค์
- พระท่ากระดานกรุวัดหนองบัว (วัดศรีอุปลาราม) ปี พบเมื่อปีพ.ศ.2497 ประมาณ 90 องค์
- พระท่ากระดานกรุวัดเหนือ (วัดเทวสังฆาราม) ปี พบเมื่อปีพ.ศ. 2506 พบพระท่ากระดานอยู่ในไห 29 องค์ พระท่ากระดานหูช้าง 800 องค์ พระขุนแผนสนิมแดงห้าเหลี่ยม 200 องค์ พระโคนสมอ 100 องค์ พระปรุหนัง 20 องค์
- พระท่ากระดานวัดท่าเสา พบเมื่อปี พ.ศ. 2507 มีพระท่ากระดานไม่กี่สิบองค์ พระท่ากระดานน้อยอีกจำนวนหลายร้อยองค์
- พระท่ากระดานที่พบบริเวณตำบลลาดหญ้าใกล้ ๆ กับ ค่ายทหารกองพลฯ พบเมื่อปี พ.ศ. 2537 ประมาณ 50 กว่าองค์
- พระท่ากระดานที่พบบริเวณถ้ำในเขตอำเภอทองผาภูมิ เมื่อปี พ.ศ. 2541 ประมาณ 80 องค์ ส่วนใหญ่ชำรุด
หากแบ่งพระท่ากระดานออกเป็นกรุใหญ่ ๆ ได้ 2 กรุหลัก คือ พระท่ากระดานกรุเก่าและพระท่ากระดานกรุใหม่
- พระท่ากระดานกรุเก่า คือพระท่ากระดานที่ถูกค้นพบที่ถ้ำลั่นทมเมื่อปี พ.ศ. 2497 และพระท่ากระดานที่ถูกค้นพบในเขตอำเภอศรีสวัสดิ์คือกรุบน, กรุกลาง, กรุล่าง เมื่อปี พ.ศ. 2495 – 2496 รวมทั้งพระท่ากระดานกรุวัดหนองบัว ที่ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2497
- พระท่ากระดานกรุใหม่ คือพระท่ากระดานที่ถูกค้นพบที่วัดเหนือ (เทวสังฆราม), กรุสวนใน, กรุท่าเสา, กรุลาดหญ้า และ และกรุในถ้ำในอำเภอทองผาภูมิ
พุทธคุณพระท่ากระดาน
พระยุคเก่า โดยมากมีพุทธคุณด้านการปกปักรักษา แคล้วคลาดปลอดภัย คงกระพันชาตรี ป้องกันสิ่งไม่ดีทั้งหลายอันตรายทั้งปวง
ขอบคุณข้อมูลจาก : samakomphra.com