ประเพณีปีใหม่ของประเทศอินเดีย
ประเทศอินเดีย เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่อันดับที่ 7 ของโลก ประกอบด้วยประชากรประมาณ 1.2 พันล้านคน และยังมีศาสนาที่ประชากรนับถืออีกหลากหลายศาสนา หนึ่งในนั้นคือศาสนาฮินดู ซึ่งเป็นที่มาของประเพณีปีใหม่ หรือที่คนอินเดียเรียกว่า เทศกาลดิวาลี แปลว่าแนวของตะเกียงไฟ ถือเป็นช่วงของเทศกาลแสงไฟ และเฉลิมฉลองการเอาชนะความชั่วร้าย และแสงสว่างเหนือความมืดมน อีกทั้งเป็นงานรื่นรื่นในช่วงปีใหม่ของอินเดียด้วย เทศกาลปีใหม่และเทศกาลดิวาลีของอินเดีย มีอะไรน่าสนใจอย่างไรบ้าง ไปติดตามดูกันเลย
เทศกาลดิวาลี หรือ ดิปาวาลีปีใหม่ของอินเดีย
ดิวาลี หรือ ดิปาวาลี หมายถึง แถวหรือแนวของตะเกียงไฟ โดยการจุดตะเกียงเล็กๆ ซึ่งภายในตะเกียงมีน้ำมันเนยหรือน้ำมันพืชเป็นเชื้อเพลิง ชาวฮินดูเรียกว่า ดิยา (Diya) โดยจุดไว้ตลอดทั้งคืน เพื่อเป็นการแสดงการรำลึกถึงวันที่แสงสว่างมีชัยชนะต่อความมืดมน หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการแสดงชัยชนะที่ความรู้สามารถเอาชนะความเขลา และความดีชนะความชั่วร้ายได้
พระลักษณ์และนางสีดากลับสู่นครวันดิวาลี
ตำนานเกี่ยวกับเทศกาลดิวาลีมีอยู่หลากหลายเรื่อง แต่มีเรื่องเล่าหนึ่งเชื่อว่า เทศกาลดิวาลีนี้ เป็นการสดุดีหรือบูชา เนื่องในวาระที่พระลักษณ์ได้รับชัยชนะอสูร จากนั้นจึงได้เดินทางกลับพระนคร พร้อมด้วยพระรามและนางสีดา ดังนั้นประชาชนในพระนคร จึงเฉลิมฉลองการเอาชนะอสูรของพระองค์ ด้วยการประดับไฟกันทั้งพระนคร หรืออีกทางหนึ่งวันดิวาลีถือเป็นวันที่พระรามเสด็จกลับพระนคร
การเริ่มเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่และดิวาลี
ในประเทศอินเดียจะถือเอาตามปฏิทินจันทรคติ มีการเริ่มฉลองเทศกาลดิวาลี ได้ตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม กระทั่งถึงเดือนพฤศจิกายน โดยจะมีการฉลองเทศกาลเป็น 5 วัน ซึ่งในแต่ละวันจะมีความหมายแตกต่างกันออกไป เช่น วันที่ 1 คือ เป็นวันที่ชาวอินเดียจะทำความสะอาดที่ทำงาน และตกแต่งให้สวยงาม เพื่อเตรียมต้อนรับการมาเยือนของพระแม่ลักษมี และเทพแห่งความมั่งคั่ง เชื่อว่ากรรมของแต่ละคนจะส่งผลต่อความมั่งคั่งในชาตินี้ วันที่ 2 วันแห่งการบูชาพระแม่กาลีเทพีแห่งความแข็งแกร่ง มีการสวดสรรเสริญพระแม่กาลี และมีการจุดตะเกียง หรือติดโฟมไฟให้สว่างในตอนกลางคืน
จุดตะเกียงสร้างความสว่างไสวให้ชีวิต
การฉลองเทศกาลดิวาลีและปีใหม่ในวันที่ 3 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายตามปฏิทินจันทรคติ และเป็นวันที่สำคัญที่สุดสำหรับชาวอินเดียว ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยให้ชีวิตมีความสว่างรุ่งโรจน์ ด้วยการจุดตะเกียงให้สว่างไสวไปทั่วทั้งบ้าน ซึ่งการจุดตะเกียงให้สว่างนี้ เชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของความรู้ เมื่อถึงวันที่ 4 ของการฉลองและถือเป็นวันแรกของปีใหม่ตามจันทรคติ ห้างร้านต่างๆ จะมีการนำสินค้าใหม่ออกมาจำหน่ายในราคาพิเศษเพื่อถือเป็นการเอาฤกษ์เอาชัยอันดีงาม
วันสุดท้ายของการฉลองปีใหม่และเทศกาลดิวาลี
ในวันที่ 5 วันสุดท้ายของการฉลองเทศกาล คนในครอบครัวไม่ว่าจะเป็นพี่ชายหรือน้องชาย พี่สาวหรือน้องสาวจะมารวมตัวกัน เพื่อแบ่งปันอาหารและรับประทานร่วมกัน อีกทั้งยังเป็นการแสดงออกซึ่งความเคารพ และความผูกพันที่มีต่อกันด้วย รวมทั้งมีการแต้มจุดที่หน้าผาก ร่วมกันขอพรให้มีอายุยืนยาว และมอบของขวัญตอบแทนกัน
สวมใส่เสื้อผ้าชุดใหม่ให้กับสมาชิกในบ้าน
นอกจากจะมีการจุดตะเกียง โคมไฟให้ดูสว่างไสวภายในบ้าน และมีการวาดภาพสัญลักษณ์รังโกลีไว้บ้านแล้ว สิ่งหนึ่งที่คนอินเดียเชื่อและทำเป็นประเพณี คือ การสวมใส่เสื้อผ้าชุดใหม่ และมีการซื้อเสื้อผ้าใหม่ๆ ให้กับสมาชิกในบ้าน อีกทั้งมีการเตรียมของขวัญ ขนมหวาน อาหารทั้งคาวและหวานมากมาย เพื่อการเฉลิมฉลองในเทศกาลดิวาลีและวันขึ้นปีใหม่ แต่ด้วยสภาพการแบ่งชนชั้นวรรณะในประเทศอินเดีย จึงทำให้การปฏิบัติและเตรียมสิ่งเหล่านี้ มีความแตกต่างกันไปตามวรรณะของบ้านแต่ละหลัง
พระนางลักษมีเทพีผู้ประทานความมั่งคั่ง
อินเดียและคนที่นับถือศาสนาฮินดูในประเทศต่างๆ จะเชื่อว่าพระนางลักษมี เทพีแห่งความมั่งคั่ง จะเสด็จมาเพื่อโปรดและนำโชคลาภมาให้กับทุกบ้านในช่วงนี้ ดังนั้นในช่วงเทศกาลปีใหม่และเทศกาลดิวาลีนี้ ชาวอินเดียจะทำความสะอาดบ้าน สถานที่ทำงานและบริษัทห้างร้านของตนเองให้สะอาดและดูดี ตกแต่งและประดับให้สวยงาม เพราะเชื่อว่าการทำความสะอาดและสวยที่สุด จะทำให้สะดุดตาของพระนางลักษมี และท่านจะได้เสด็จมาเยือนเป็นแห่งแรก ซึ่งจะมีการเปิดหน้าต่างของบ้านไว้รอรับพระนางลักษมี รวมทั้งนิยมแขวนดอกไม้และใบมะม่วงไว้ตามประตูหน้าต่าง เพื่อให้มีสิ่งดีงามความสุข ความเจริญ และความรุ่งเรืองเข้ามาสู่ในบ้านด้วย
การร่วมฉลองเทศกาลดิวาลีของศาสนาอื่นในอินเดีย
นอกจากผู้ที่นับถือศาสนาอินดู มีการฉลองในเทศกาลปีใหม่และเทศกาลดิวาลีแล้ว ยังมีผู้ที่นับถือศาสนาอื่นๆ ในอินเดียมาร่วมฉลองในเทศกาลนี้ด้วย เช่น ศาสนาซิกซ์ฉลองเนื่องจากเป็นวันแห่งอิสรภาพตรงกับวันดิวาลี และมีการจุดโคมไฟตามวิหาร หรือบ้านเรือนของตนเอง เพื่อรับท่านคุรุซึ่งถูกปล่อยตัวจากการคุมขังโดยจักรพรรดิแห่งราชวงศ์โมกุล ส่วนชาวพุทธก็มีการสวดมนต์ และตกแต่งวัดให้สวยงามเช่นกัน เนื่องจากตรงกับวันอโศกวิชัยทศมี จึงถือว่าการฉลองช่วงเทศกาลปีใหม่และเทศกาลดิวาลีนี้ เป็นเทศกาลที่แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของศาสนาในประเทศอินเดียได้เป็นอย่างดี เทศกาลปีใหม่และเทศกาลดิวาลีของประเทศอินเดีย เป็นการฉลองปีใหม่ที่ส่วนใหญ่เน้นเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา และเทพมากกว่าเรื่องอื่น จึงเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจของคนที่ชอบท่องเที่ยวฉลองปีใหม่เชิงศาสนาและวัฒนธรรม ต้องห้ามพลาดอีกแห่งหนึ่ง นั่นคือประเทศอินเดีย